เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta: YRD) ประกอบด้วยนครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลอานฮุย เป็นเขตที่มีศักยภาพการพัฒนาเศรษฐกิจ…
.
สถิติภาพรวมด้านเศรษฐกิจและการค้าในเขต YRD ในปี 2564
.
เศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีมี GDP รวม 4.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24.1 ของ GDP ทั้งประเทศและมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.7 ทั้งนี้ GDP เมื่อเปรียบเทียบขนาดเศรษฐกิจเป็นรายมณฑลพบว่าเจียงซูสูงเป็นอันดับที่ 2 รองจากกวางตุ้ง เจ้อเจียงเป็นอันดับที่ 4 เซี่ยงไฮ้เป็นอันดับที่ 10 และอานฮุยเป็นอันดับที่ 11ส่วนภาพรวมของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเขต YRD เท่ากับ 2.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 36 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของจีน เติบโตเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 27.4
.
สถิติการค้าไทย และ YRD ในปี 2564
.
ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของเขต YRD รองจากเวียดนามและมาเลเซีย ตามลําดับ ซึ่งมูลค่าการค้าไทย – YRD ค่อนข้างใกล้เคียงกับมูลค่าการค้าของอินโดนีเซีย – YRD เป็นที่น่าจับตามองว่าหากในปี 2564 มูลค่าการค้าอินโดนีเซีย – YRD ขยายตัวค่อนข้างสูงดังเช่นปี 2563 ก็อาจจะมีโอกาสก้าวขึ้นเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของเขต YRD แทนที่ไทยได้
.
มูลค่าการค้าไทย – YRD เท่ากับ 44.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.8 ของมูลค่าการค้าไทย – จีนทั้งหมด ขยายตัวจากปี 2563 ร้อยละ 35.3 ซึ่งเป็นการขยายตัวมากกว่าภาพรวมการค้าไทย – จีน โดยสินค้าที่ YRD นําเข้าจากไทย 5 อันดับแรกได้แก่ สินค้าเทคโนโลยี พลาสติก อุปกรณ์เครื่องจักรกล และผลไม้สด โดยผลไม้สดเป็นสินค้าที่มีการขยายตัวสูงที่สุดเมื่อเทียบกับสินค้าอื่น ๆ มีมูลค่านําเข้าขยายตัวจากปี 2563 มากกว่า 5 เท่า และปี 2564 นับเป็นปีแรกที่ผลไม้สดติด 5 อันดับสินค้าที่เขต YRD นําเข้าจากไทย ส่งผลให้ผลไม้สดไทยเป็นสินค้ากลุ่มใหม่ที่มีศักยภาพ และยังมีโอกาสเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเขต YRD มีตลาดค้าส่งผลไม้ขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคตะวันออกของจีนที่มณฑลเจ้อเจียง โดยมุ่งเน้นนําเข้าผลไม้จากกลุ่มประเทศอาเซียนเป็นสําคัญ
.
สถิติการค้าอาเซียน และ YRD ในปี 2564
.
มูลค่าการค้าอาเซียน – YRD เท่ากับ 243,792 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 13.45 ของมูลค่าการค้าระหว่าง YRD กับทั่วโลก (2.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวจากปี 2563 ร้อยละ 25.4 โดย อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 ของเขต YRD รองจากสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ที่มีมูลค่าการค้าเท่ากับ 362,390 และ 254,024 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ โดยสินค้า 5 อันดับแรกที่เขต YRD นําเข้าจากอาเซียน คือ วงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องโทรศัพท์ สารเจือเหล็ก เครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และน้ำมันปาล์มและเศษซาก และใน 5 อันดับดังกล่าว มีสินค้า 2 ประเภทที่นําเข้าจากไทย ได้แก่ วงจรรวมที่ใช้ในทางอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ
.
จะเห็นได้ว่า เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีซึ่งประกอบด้วย 1 เมือง และ 3 มณฑล เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและวิทยาศาสตร์นวัตกรรมสูงที่สุดในจีน ซึ่งเห็นได้จากดัชนีทางเศรษฐกิจที่สําคัญทั้งในส่วนของ GDP และการค้าระหว่างประเทศโดย ยุทธศาสตร์ระดับชาติการบูรณาการเขต YRD ที่มีเซี่ยงไฮ้เป็นแกนนําขับเคลื่อนความก้าวหน้าไปสู่อีก 3 มณฑลใกล้เคียงนั้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้อานฮุย ซึ่งเป็นมณฑลที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจเล็กที่สุดในเขต YRD สามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้เมื่อปี 2563 และเป็นพื้นที่รองรับการเคลื่อนย้ายฐานอุตสาหกรรมจากเซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง ปัจจุบันจึงสามารถกล่าวได้ว่าเขต YRD โดยรวมเป็นพื้นที่ที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีระดับแนวหน้าของจีน ดังนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้โอกาสนี้ในการมองหาลู่ทางการส่งออกสินค้าหรือลงทุนในเขต YRD ได้ในอนาคต
.
ข้อมูล : สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
.
ข้อมูล : สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์