รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียจะขยายตัวร้อยละ 5.2 ในปี 2565 และขยายตัวประมาณ ร้อยละ 5.3 – 5.9 ในปี 2566 โดยอินโดนีเซียมีเเผนจะต้องทําให้การขาดดุลงบประมาณไม่เกินร้อยละ 3 ในปี 2566 ซึ่งกระทรวงการคลังอินโดนีเซียคาดว่าเศรษฐกิจในปี 2565 จะสามารถเติบโตได้ด้วยการใช้จ่ายจากภาคครัวเรือนและการลงทุน ในขณะที่รายได้จากการส่งออกจะลดลงเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องและอุปสงค์-อุปทานที่สมดุลมากขึ้น
.
ทั้งนี้ อินโดนีเซียเล็งเห็นว่าภาคส่วนที่จะมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจระหว่างเเละหลังยุค COVID-19 ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ อุตสาหกรรมปลายน้ํา (การผลิตอุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์สื่อสาร การแปรรูปเคมี/แร่) ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานจะเป็นปัจจัยสําคัญที่สนับสนุนการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย
.
นอกเหนือจากนี้ อินโดนีเซียตั้งเป้าผลักดันให้มีการประกอบรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 4 แสนคัน และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 1.7 ล้านคัน ระหว่างปี 2021 – 2025 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมอุตสาหกรรมปลายน้ําและสอดคล้องกับเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 29 ภายในปี 2030 ลดการนําเข้าน้ํามัน เชื้อเพลิง และเป้าหมาย net-zero emission ภายในปี ค.ศ. 2060 โดยผลักดันให้ธุรกิจ SMEs มีบทบาทในการผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศมากขึ้นในการประกอบจักรยานยนต์ไฟฟ้า
.
ทั้งนี้ นโยบายดังกล่าวดําเนินควบคู่ไปกับการมีนโยบายห้ามการส่งออกแร่นิกเกิลและให้สิทธิประโยชน์กับนักลงทุนที่ตั้งโรงงานและถ่ายทอดเทคโนโลยีในอินโดนีเซีย ล่าสุดอินโดนีเซียเเละเกาหลีใต้ซึ่งที่เป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ในอุตสาหกรรม EV ของอินโดนีเซียตกลงร่วมพัฒนาความร่วมมือทวิภาคีในการพัฒนา supply chain ของแร่ที่จําเป็นในอุตสาหกรรม EV ระหว่างกัน รวมถึงเพิ่มพูนความร่วมมือการค้าเเละการลงทุนทวิภาคีระหว่างกันอีกด้วย
.
ปัจจุบัน รัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ตามนโยบาย 30/30 เเละออกแนวทางการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ผ่านการตั้งเป้าผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2030 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลไกที่จะนำพาประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ (Low-carbon Society) ในอนาคต อีกทั้งประเทศไทยเองมีจุดเเข็งด้านอุตสาหกรรมยานยนต์เเละชิ้นส่วนยานยนต์เเละเเรงงานที่มีฝีมือ ที่อาจช่วยผลักดันให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในระดับภูมิภาคเเละระดับโลก ผู้ประกอบการไทยอาจมีการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีด้าน EV ระหว่างสถาบันการศึกษาของไทยและอินโดนีเซีย เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของทั้งสองประเทศในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตเเละส่งเสริมการสร้าง EV Ecosystem ระหว่างไทยกับอินโดนีเซียให้เป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต
.
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์