Thursday, May 29, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

สถานการณ์เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2564 และแผนการผลักดันเศรษฐกิจในปี 2565

15/02/2022
in ทันโลก, เอเชีย
0
สถานการณ์เศรษฐกิจเกาหลีใต้ในปี 2564 และแผนการผลักดันเศรษฐกิจในปี 2565
46
SHARES
7.4k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

สถานการณ์เศรษฐกิจปี 2564
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งและต่อเนื่องตลอดปี 2564 โดยมีภาคการส่งออกเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญซึ่งเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พฤศจิกายน 2563 อยู่ที่ร้อยละ 4 โดย IMF คาดการณ์ว่า GDP เกาหลีใต้ในปี 2564 อยู่ที่ระดับ 1.82 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลให้เกาหลีใต้มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 10 ของโลกเป็นเวลา 2 ปีติดต่อกัน เนื่องจากมีฐานการผลิตที่ครอบคลุมสินค้าที่กำลังเป็นที่ต้องการในตลาดโลก ได้แก่ เซมิคอนดักเตอร์ น้ำมัน/ปิโตรเคมี และรถยนต์/ชิ้นส่วน โดยกระทรวงการค้าอุตสาหกรรมและพลังงานเกาหลีใต้ (MOTIE) เปิดเผยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2565 ว่า การส่งออกของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.8 จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ปริมาณ 644.54 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์
.
แผนการผลักดันเศรษฐกิจในปี 2565
กระทรวงการคลังเกาหลีใต้คาดการณ์ว่า แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2565 จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องโดย GDP น่าจะเติบโตร้อยละ 3 เนื่องจากยอดการส่งออกที่ยังคงแข็งแกร่งและการดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวของรัฐบาลที่บรรเทาการลดลงของการบริโภคภายในประเทศ ด้านอัตราเงินเฟ้อในปี 2565 พบว่า CPI ในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งสูงสุดตั้งแต่อัตราร้อยละ 4 เมื่อปี 2554 จึงคาดว่าธนาคารกลางแห่งเกาหลีใต้ (Bank of Korea) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกในปี 2565 เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของเชื้อ Omicron หนี้ครัวเรือน และผลกระทบของโรคโควิด-19 ต่อห่วงโซ่อุปทานโลกน่าจะยังคงเป็นปัจจัยความเสี่ยงต่อการเติบโตของเศรษฐกิจเกาหลีใต้
.
ในระยะยาว รัฐบาลเกาหลีใต้จะผลักดันนโยบายเศรษฐกิจด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อยกระดับสถานะของเกาหลีใต้ให้เป็นผู้นำโลกในอุตสาหกรรมที่เป็นจุดแข็งของประเทศ เช่น (1) นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Carbon Neutrality 2050, Hydrogen Economy Roadmap, ยุทธศาสตร์ K-Battery, ยุทธศาสตร์ K-Semiconductor โดยน่าจะให้ความสำคัญลำดับต้นกับการเพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม การเพิ่มจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไฮโดรเจน รวมไปถึงสถานีชาร์จเพื่อรองรับการขยายอุตสาหกรรมดังกล่าวภายในประเทศ เพื่อต้องการขยายฐานการผลิตเซมิคอนดักเตอร์โดยการสร้างสายพานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก (2) อุตสาหกรรมแบบไร้การสัมผัส (contactless) เช่น การให้บริการด้านการดูแลสุขภาพผ่านช่องทางดิจิทัล (telemedicine) การลงทุนในบริการไร้สัมผัสต่าง ๆ เช่น virtual reality (VR) หุ่นยนต์ โดรน และ Metaverse โดยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 รัฐบาลกรุงโซลได้ประกาศแผนพัฒนาให้กรุงโซลเป็นเมือง Metaverse แห่งแรกของโลกภายในปี 2573 และ (3) ยุทธศาสตร์การยกระดับให้เกาหลีใต้เป็นศูนย์กลางการผลิตวัคซีนของโลก (global vaccine hub) ซึ่งจะเร่งการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทสัญชาติเกาหลีใต้และการเร่งรัดกระบวนการอนุมัติการทดลองทางคลินิก และการเร่งผลิตและฝึกอบรมบุคลากรรวมไปถึงผู้เชี่ยวชาญเพิ่มในอุตสาหกรรมยาชีวเภสัชภัณฑ์
.
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
ในปี 2564 ไทยกับเกาหลีใต้เป็นคู่ค้าอันดับที่ 9 ของกันและกัน ปรับขึ้นมาจากอันดับ 11 ในปี 2563 โดยมีมูลค่าการค้า 460,190 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 35.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในส่วนของมูลค่าการลงทุนของเกาหลีใต้ในไทย ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน 2564 อยู่ที่ 12,830 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป็นนักลงทุนอันดับ 7 ในไทย ปรับขึ้นมาจากอันดับ 10 ในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ ในไตรมาสแรกของปี 2564 เกาหลีใต้เป็นนักลงทุนอันดับ 1 ในไทย  ซึ่งเข้ามาลงทุนในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไทยยังมีโอกาสร่วมมือกับเกาหลีใต้อีกมาก ในมิติด้านการลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงที่ตรงกับความต้องการของไทยและความเชี่ยวชาญของเกาหลีใต้ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) / EV battery / เทคโนโลยีชีวภาพ (biotech) / เมืองอัจฉริยะ/ เซมิคอนดักเตอร์ และ smart electronics เพื่อการพัฒนาการสร้างทักษะแรงงานชั้นสูง และพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ต่อไปในอนาคต
.

ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล

เรียบเรียง: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Previous Post

12 Things You Didn’t See During The 2017 Golden Globes

Next Post

กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในสิงคโปร์และเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในสิงคโปร์และเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

กลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในสิงคโปร์และเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลเต็มรูปแบบ

Post Views: 11,967

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

23/05/2025
เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X