เเม้ว่าเศรษฐกิจออสเตรียช่วงปลายปี 2564 จะชะลอตัวอีกครั้งจากการยกระดับมาตรการสาธารณสุขที่จำกัดการเข้าร่วมกิจกรรมเเละใช้บริการร้านค้าการเเพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เเต่ยังคงมีการเจริญเติบโตภาคการลงทุนในปี 2564 ที่เพิ่มขึ้น 7.3% ในขณะที่การลงทุนระยะยาว เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้น 8.2% ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤติโรคระบาดถึง 2.5% จากภาวะขาดแคลนสินค้าสําเร็จรูปสูงเป็นประวัติการณ์ออสเตรียนับตั้งแต่ปี 2539 ทําให้อุปสงค์เพิ่มสูงขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2564 รัฐบาลออกมาตรการให้เงินช่วยเหลือเพื่อกระตุ้นการลงทุน ทําให้ภาคการลงทุนเติบโตขึ้นมาก
.
ส่วนภาพรวมการส่งออกมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น 8.6% แบ่งเป็น การส่งออกสินค้า เพิ่มขึ้น 10.6% การนําเข้าเพิ่มขึ้น 9.9% ภาคบริการลดลง 1.3% เนื่องจากจํานวนนักท่องเที่ยวในฤดูหนาวลดลงจากมาตรการจํากัดการเดินทาง สําหรับการบริโภคภาคเอกชนคาดว่าเพิ่มขึ้น 4.5% โดยมาตรการล็อกดาวน์ในช่วงต้นปี 2564 ที่บังคับใช้จนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัว ช้ากว่าภาคการลงทุนเล็กน้อย ด้านการค้าไทย-ออสเตรีบ ปี 2564 ยังทรงตัว โดยไทยส่งออกอัญมณี ชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นลำดับต้นๆ ไปออสเตรีย ขณะทที่นำเข้าสินค้าเครื่องจักร เเก้ว เคมีภัณฑ์ เป็นอันดับต้นๆ จากออสเตรีย โดยออสเตรียยังมีศักยภาพเป็นประตูการค้าของไทยสู่ตลาดอื่นๆ ในยุโรป
.
ภาวะขาดแคลนสินค้าสําเร็จรูปสูงเป็นประวัติการณ์ของออสเตรียเเละมาตรการล็อกดาวน์อาจเป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการไทยด้านอาหารที่จะใช้โอกาสนี้ในการบุกตลาดใหม่ในทวีปยุโรป ท่ามกลางบรรยากาศการล๊อกดาวน์ที่เงียบเหงาของประเทศออสเตรียทีมประเทศไทย ณ กรุงเวียนนา ได้จัดกิจกรรมสาธิตการทำอาหารไทยออนไลน์ (Live Cooking : Thai Food Vienna) ภายใต้สโลแกน Thai Food is Future Food เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์อาหารไทยและการปรุงอาหารไทยให้สามารถเข้าถึงได้ง่าย โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ซึ่งมีรสนิยมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยมีการเชิญชวน Ms. Susanne Jelinek บรรณาธิการนิตยสารอาหารผู้คร่ำหวอดในวงการอาหารของออสเตรียมาเป็นครูผู้สอนและมีผู้เข้าร่วมมากกว่า 100 คน ประกอบด้วยสื่อมวลชน อินฟลูเอนเซอร์และคนทั่วไป
.
กิจกรรมนี้ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากสื่อมวลชน มีการนำเสนอข่าวการจัดกิจกรรมในสื่อชั้นนำของออสเตรีย ทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ อาทิ หนังสือพิมพ์ Salzburger Nachrichten นิตยสาร Gusto เว็บไซต์ Falstaff.at เว็บข่าว Krone.at เว็บข่าว Heute.at และเว็บไซต์ Woman.at นอกจากนี้ ยังได้รับการโพสต์ประชาสัมพันธ์โดยอินฟลูเอนเซอร์ที่มีชื่อเสียงและมีผู้ติดตามรวมกันกว่า 170,000 คน ถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนมุมมองครั้งสำคัญของผู้บริโภคและเป็นการสร้างภาพจำที่ดีให้กับสินค้าอาหารไทย ตลอดจนสามารถสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ไปยังผู้บริโภคได้มากกว่า 14 ล้านคน โดยคาดหวังว่าการปรุงอาหารไทยจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นส่งผลให้ยอดจำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยและสินค้าเครื่องปรุงอาหาร ของไทยเติบโตขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน
.
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูต เเละ คณะผู้เเทนถาวรไทย ณ กรุงเวียนนา
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์