มณฑลฝูเจี้ยนมีความได้เปรียบทางอุตสาหกรรมใบชามาโดยตลอด โดยขึ้นชื่อว่าเป็น “แหล่งกําเนิดของชาอู่หลง” โดยเฉพาะอย่างยิ่งอําเภออานซี ซึ่งเป็นแหล่งกําเนิดแห่งการผลิตใบชาเถียกวนอิน และเป็นอำเภอที่มีการผลิตใบชาได้ปริมาณมากเป็นอันดับ 1 ของจีนติดต่อกัน 10 ปี มีพื้นที่การปลูกใบชากว่า 250,000 ไร่ และอําเภอฝูติงได้รับการขนานนามว่า “เมืองนำร่องอุตสาหกรรมขาขาวของจีน” โดยในปี 2562 อําเภอฝูติง ได้ผลิตชาขาวกว่า 23,300 ต้น เท่ากับร้อยละ 47 ของปริมาณการผลิตชาขาวทั่วประเทศ สูงเป็นอันดับ 1 ของ ขึ้น และเมืองอู่อีซานเป็นแหล่งกําเนิดแห่งการผลิตใบชาต้าหงเผา ซึ่งได้รับสมญานามว่า “ราชาแห่งชาจีน”
.
ในปี 2562 มณฑลฝูเจี้ยนมีมูลค่าการผลิตใบชากว่า 12 แสนล้านหยวน สูงเป็นอันดับ 1 ของจีน และเป็นมณฑลแรกของจีนที่มีมูลค่าการผลิตใบชาทะลุ 1 แสนล้านหยวน และมีปริมาณการผลิตกว่า 410,000 ตัน สูงเป็นอันดับ 1 ของจีน นอกจากฝูเจี้ยนแล้ว จีนยังมีมณฑลที่มีปริมาณการผลิตซามากกว่า 200,000 ตัน ได้แก่ ยูนนาน หูเป่ย เสฉวน กุ้ยโจวและหูหนาน ปัจจุบัน ฝูเจี้ยนมีวิสาหกิจใบชานำร่องระดับประเทศ 13 แห่ง วิสาหกิจใบชานําร่องระดับมณฑล 155 แห่ง ฐานสาธิตการผลิตใบชามาตรฐานสีเขียว 1,200 แห่ง
.
ปัจจัยสําคัญหนึ่งที่ช่วยยกระดับความสําเร็จของอุตสาหกรรมใบชาของมณฑลฝูเจี้ยนคือ การส่งเสริมการพัฒนาสวนใบชาที่คำนึงถึงระบบนิเวศที่ปราศจากสารเคมีกําจัดศัตรูพืช ปัจจุบัน ฝูเจี้ยนมีสัดส่วนของสวนใบชาแบบระบบนิเวศคิดเป็นร้อยละ 80 ของสวนใบชาทั้งมณฑล ซึ่งทําให้ฝูเจี้ยนสามารถผลิตใบชาคุณภาพดี และรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันกับตลาดใบขาของมณฑลอื่น ๆ ของจีน
.
สําหรับไทยซึ่งภายในประเทศมีการบริโภคในชาอย่างแพร่หลาย อาทิ ชาอู่หลง และ ชาแดง เนื่องจากชาเป็นสินค้าที่มีความนิยมบริโภคจากกระแสรักสุขภาพรวมทั้งเพื่อการลดน้ำหนัก การพัฒนา อุตสาหกรรมชาของมณฑลฝูเจี้ยนจึงเป็นเรื่องน่าสนใจสําหรับภาคธุรกิจของไทย โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านการผลิตใบชาของไทยสามารถเรียนรู้ประสบการณ์และเทคนิคการผลิตใบชาของอําเภอที่มีความได้เปรียบในการผลิตใบชา นอกจากนี้ ไทยยังสามารถมองหาลู่ทางทางการตลาดเพิ่มขึ้นจากการที่จีนประสบอุปสรรคด้านเทคนิคการค้าในการส่งออกใบชาไปยังยุโรปและสหรัฐฯ ได้อีกด้วย
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน