จากการที่บริษัทเทคโนโลยีของจีนกำลังเผชิญความท้าทายจากกฎระเบียบเพื่อกำกับพฤติกรรมการผูกขาดและสร้างความเป็นธรรมให้กับตลาดโดยหน่วยงาน State Administration for Market Regulation (SAMR) ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการลงทุนมายังภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากยิ่งขึ้น โดยเห็นว่าเป็นตลาดเเห่งศักยภาพและเเหล่งการลงทุนที่น่าเหมาะสมต่อการเติบโตของ Start-up
.
บริษัท DealStreetAsia เปิดสถิติว่า เฉพาะในช่วง 3 ไตรมาสเเรกของปี 2564 บริษัท Start-up ที่ได้รับการสนับสนุนทุนจาก Venture Capital (VC) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถเติบโตเป็น Start-up unicorn ได้มากถึง 15 ราย ทำให้ภูมิภาคนี้มี Start-up unicorn ถึง 27 ราย ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาสามารถระดมทุนเพิ่มขึ้นจาก 8,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2563 เป็น 17,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า
.
การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวน Start-up unicornในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สอดคล้องกับราคาหุ้นและการประเมินมูลค่าของบริษัท Start-up ขนาดใหญ่ในภูมิภาคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนนักลงทุนรายใหม่ก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ นักวิเคราะห์มองว่าความตึงเครียดทางการเมืองที่เพิ่มขึ้นระหว่างจีนและอินเดีย จะเป็นปัจจัยผลักดันให้ VC เลือกเข้ามาลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น และความสำเร็จของ Start-up ในภูมิภาค เช่น Sea เเละ Grab สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้บริษัทเทคโนโลยีของจีนและ VC จำนวนมากสนใจลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าอินเดีย
.
ผู้ประกอบการไทยและ Start-up ด้านเทคโนโลยีและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถสร้างโอกาสจากการที่ภูมิภาคเป็นจุดสนใจในการลงทุนจากนักลงทุนทั่วโลก และการเเข่งขันสูงระหว่าง VC ในการระดมทุน การเข้าถึงบริการให้คำปรึกษาที่ VC มีให้ต่อผู้ประกอบการ รวมทั้งการทำความรู้จักกับกลุ่มคนหรือเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจต่อไป
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์