มณฑลกุ้ยโจวในฐานะเป็นพื้นที่นําร่องข้อมูลขนาดใหญ่ระดับชาติ (National Big Data Pilot Zone) แห่งแรกของจีน และได้พัฒนา big data ให้อยู่ในระดับแนวหน้าของจีน ได้นําเทคโนโลยีดิจิทัลเข้าไปสนับสนุนการฟื้นฟูพื้นที่ชนบทของมณฑล โดยเฉพาะพื้นที่ที่เป็น “พื้นที่นําร่องหมู่บ้านดิจิทัลแห่งชาติ” 4 แห่งของมณฑล ได้แก่ อําเภอซีเฟิงในนครกุ้ยหยาง อําเภอเฉียนซี และอําเภอจินซาในเมืองปี้เจี๋ย และอําเภอหวีชิ่ง ในเมืองจุนอี้ โดยพื้นที่นําร่องหมู่บ้านดิจิทัลแห่งชาติถือเป็นการดําเนินโครงการนําร่องเพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเพิ่มความทันสมัยในพื้นที่ชนบท
.
ปัจจุบัน เกษตรกรในอําเภอหวีชิ่งของเมืองจุนอี้สามารถใช้อุปกรณ์อัจฉริยะในการตรวจสอบความแข็งแรงของสุกรจากชิปอัจฉริยะที่ติดอยู่บริเวณใบหูของสุกร และส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย 5G และเทคโนโลยีบล็อกเชนไปยังแพลตฟอร์ม เพื่อจัดเก็บไฟล์หรือวิเคราะห์ข้อมูลสําหรับการเพาะพันธุ์และการจําหน่ายสุกร ขณะเดียวกัน ยังสามารถติดตั้งแอปพลิเคชัน “Cloud Livestock บนโทรศัพท์มือถือควบคู่ไปด้วย เพื่อดูสถานการณ์ของโรงเลี้ยงสุกรได้แบบ real-time เช่น อุณหภูมิของโรงเรือน อุณหภูมิของสุกร และวิถีการเคลื่อนที่ของสุกร นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนยังสามารถติดตามและตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่อาหารได้อีกด้วย เช่น การระบุแหล่งกําเนิดการขนส่ง และข้อมูลการจําหน่ายสุกร ซึ่งช่วยสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยของอาหารแก่ผู้บริโภค
.
นอกจากการเดินหน้าพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะแล้ว มณฑลกุ้ยโจวยังส่งเสริมการพัฒนา e-commerce และการประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตหรือระบบออนไลน์ในพื้นที่ชนบทไปพร้อม ๆ กันด้วย โดยในปัจจุบัน มณฑลกุ้ยโจวได้บ่มเพาะอําเภอสาธิต e-commerce ในชนบทระดับชาติ 70 แห่ง และอําเภอสาธิต e-commerce ในชนบทระดับมณฑล 23 แห่ง รวมถึงได้จัดตั้งศูนย์บริการ e-commerce ระดับอําเภอ มากกว่า 60 แห่ง และศูนย์บริการ e-commerce ระดับหมู่บ้าน 10,220 แห่ง นอกจากนี้ การบริการขนส่งสินค้า และโลจิสติกส์ได้กระจายไปตามหมู่บ้าน และตําบล ครอบคลุมกว่าร้อยละ 80 ของหมู่บ้านและตําบลทั้งหมดในมณฑลกุ้ยโจว
.
เทคโนโลยี big data มณฑลกุ้ยโจว สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่าร้อยละ 20 ของ GDP และมีบริษัทที่หันมาประกอบธุรกิจในด้านนี้เพิ่มขึ้นมากถึง 8 เท่าตัว ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เมื่อรวมกับความโดดเด่นทางทรัพยากรธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์มากแล้ว ทำให้การลงทุนอุตสาหกรรม big data ในมณฑลกุ้ยโจวเป็นหนึ่งในสาขาที่น่าสนใจอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้ การส่งออกสินค้าการเกษตร และอาหารปศุสัตว์ เป็นอีกหนึ่งการลงทุนที่น่าจับตามอง เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นของไทยในตลาดโลก และมีการสนับสนุนจากรัฐบาลมณฑลกุ้ยโจว โดยการประกาศ 8 มาตรการส่งเสริมพัฒนาเศรษฐกิจด้านการเกษตรและชนบท เช่น นโยบายช่วยเหลือเกษตรกร โครงการการเพิ่มผลผลิตธัญญาหาร ผัก ผลไม้ และใบชาสด เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการปศุสัตว์ อย่างไรก็ดี การส่งเสริมการพัฒนา e-commerce ของมณฑลกุ้ยโจวยังเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับผู้ประกอบการไทย ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี big data ในการพัฒนาการเกษตร และการส่งออกสินค้า เพื่อสร้างการรับรู้แก่ชุมชนท้องถิ่น และสร้างรายได้อีกด้วย
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง