1. ด้านแรงงาน
แรงงานไทยในไต้หวันมีจำนวน 57,738 คน คิดเป็น 8.37 % ของแรงงานต่างชาติทั้งหมดในไต้หวัน จำนวนแรงงานไทยลดลงจากเดือนสิงหาคมปี 2564 คิดเป็น 0.62 % และเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 63 อยู่ที่ 2.76 %
.
2. ด้านการค้า
สินค้าส่งออกในเดือนกันยายนปี 2564 ไทยส่งออกสินค้ามายังไต้หวันมูลค่า 394.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 อยู่ที่ 21.78 % และสัดส่วนของประเภทสินค้าจากมูลค่าการส่งออกรวมที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น (1) สินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มเป็น 82.34 % (2) สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มเป็น 9.04 % และ (3) สินค้าแร่และเชื้อเพลิงเพิ่มเป็น 1.54 %
.
สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ (1) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 41.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2) เคมีภัณฑ์ มูลค่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ มูลค่า 24.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4) อากาศยาน ยานอวกาศและส่วนประกอบ มูลค่า 23.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ (5) ทองแดงและของทำด้วยทองแดง มูลค่า 18.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
.
สินค้านําเข้าในเดือนกันยายนปี 2564 ไทยนําเข้าสินค้าจากไต้หวัน มูลค่า 920.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 อยู่ที่ 39.65 % และสัดส่วนประเภทสินค้าจากมูลค่าการนําเข้ารวมที่เพิ่มขึ้นแบ่งเป็น (1) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสําเร็จรูปเพิ่มเป็น 76.76 % (2) สินค้าทุนเพิ่มเป็น 18.37 % (3) ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่งเพิ่มเป็น 2.4 % (4) สินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มเป็น 2.39 % และ (5) อาวุธ ยุทธปัจจัย และสินค้าอื่น ๆ เพิ่มเป็น 0.05 %
.
สินค้านําเข้าสำคัญ ได้แก่ (1) แผงวงจรไฟฟ้า มูลค่า 407.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2) เคมีภัณฑ์ มูลค่า 74.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (3) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ มูลค่า 74.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ มูลค่า 63.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ (5) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ มูลค่า 51.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
.
การค้าระหว่างไทยและไต้หวัน ในช่วงเดือนกันยายนปี 2564 มีมูลค่าการค้ารวม 1,315.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และในช่วงเดือนมกราคม – กันยายนปี 2564 ไทยและไต้หวันมีมูลค่าการค้ารวม 11,238.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มูลค่าการค้ารวมตั้งแต่เดือนมกราคม – กันยายนปี 2564 เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 คิดเป็น 28.04 %
.
3. ด้านการท่องเที่ยว
ข้อมูลจากกรมการท่องเที่ยวไต้หวันระบุว่า ในเดือนกันยายนปี 2564 มีนักท่องเที่ยวไต้หวันเดินทางไปประเทศไทยจำนวน 726 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 เป็นจำนวน 510 คน คิดเป็น 42.35 % ในขณะที่ผู้มีใบถิ่นที่อยู่ (Alien Resident Certificate) จากไทยเดินทางมาไต้หวันจำนวน 126 คน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563 จำนวน 1,202 คน คิดเป็น 89.52 %
.
จากการข้อมูลข้างต้น และการที่ไต้หวันเป็นคู่ค้าลำดับที่ 10 ของไทยและไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 12 ของไต้หวัน สะท้อนภาพรวมความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจไทยกับไต้หวันที่มีร่วมกันในหลากหลายมิติ เช่น ด้านแรงงาน การค้า การท่องเที่ยว และเพื่อเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศให้ใกล้ชิดมากขึ้นนั้น การที่ไต้หวันเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ รวมไปถึงนวัตกรรมด้าน AI ผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยควรพิจารณาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างไทย-ไต้หวันต่อไป
.
สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย