การซื้อขายข้าวเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ปรากฏว่าราคาส่งออกข้าวหัก 5% ของเวียดนาม อยู่ที่ 385 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ลดลง 83 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2564 เเละเป็นราคาต่ำที่สุดตั้งเเต่เดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งมีราคา 390 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน นอกจากเวียดนามเเล้วราคาข้าวส่งออกของอินเดียลดลงอยู่ที่ 352 – 356 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในขณะที่ราคาข้าวของไทยเพิ่มขึ้น 397 – 400 ดอลลาร์สหรัฐ
.
ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคของเวียดนามในช่วง 7 เดือนเเรกของปี 2564 ขยายตัว 1.64% เเละเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2563 เเละอัตราเงินเฟ้อขยายตัวที่ 0.88% โดยมีปัจจัยจากราคาสินค้านำเข้าบางรายการที่เพิ่มขึ้น เช่น อาหารสัตว์ ปุ๋ย วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเเละก๊าซปิโตรเลียมเหลว จึงเป็นสาเหตุที่เวียดนามพยายามควบคุมการเติบโตของดัชนีราคาผู้บริโภคให้อยู่ระดับต่ำกว่า 1% ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ต่ำกว่าเป้าหมายของปีไม่เกิน 4%
.
นอกเหนือจากนี้ อุตสาหกรรมอาหารเเปรรูปของเวียดนามเเละการส่งออกอาหารทะเลยังเติบโตได้ดีอยู่ระหว่างปี 2559 – 2563 เติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี อีกทั้งในปี 2563 มีการส่งออกอาหารทะเลมูลค่าสูงถึง 8,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในระหว่างปี 2564 – 2568 คาดว่าจะมีการเติบโตเฉลี่ย 7% ต่อปีซึ่งมูลค่าอาจพุ่งสูงถึง 12,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประมาณ 1.2 – 1.3 ล้านตันจะเป็นการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศมาเเปรรูปภายในประเทศเวียดนามก่อนส่งออกต่อไป
.
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
.
แนวโน้มอาหารทะเลแปรรูปกำลังได้รับความนิยมจากตลาดมากขึ้น ถือเป็นโอกาสของภาคอุตสาหกรรมไทย ที่มีศักยภาพในการผลิตอาหารและมีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่หลากหลาย โดยภาคการผลิตไทยมีศักยภาพสูงในด้านการแปรรูปอาหารทะเลที่หลากหลาย เช่น อาหารทะเลชุปแป้งทอด ลูกชิ้นที่แปรรูปกุ้งหรือปลา ซึ่งสอดรับกับแนวโน้มความนิยมของตลาดที่นิยมอาหารทะเลรูปมากขึ้น ในขณะที่เวียดนามยังคงเน้นส่งออกอาหารทะเลแช่เย็นและแช่แข็ง เช่น กุ้งและปลาแช่แข็งเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากสินค้าแช่เย็นและแช่แข็งไม่ต้องใช้เทคโนโลยีการแปรรูปที่ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากประเทศเวียดนาม ในแง่ของการเป็นแหล่งวัตถุดิบในการแปรรูป เพื่อส่งออกในอนาคต
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย