กงสุลใหญ่ของไทยและมุขมนตรีแห่งเมืองเจนไน เล็งเห็นว่า ประเทศไทยและรัฐอานธประเทศ เป็นแหล่งการค้าการและการลงทุนที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาค จึงเกิดแนวคิดผลักดันให้เกิดความร่วมมือทวิภาคีด้านการค้าและการลงทุนภายหลังยุค COVID-19 อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของสองประเทศ โดยท่านมุขมนตรี ได้เสนอจุดเด่นของรัฐอานธรประเทศว่าเป็นแหล่งการลงทุนชั้นนําแหล่งหนึ่งของอินเดีย มีบรรยากาศการลงทุนที่เป็นมิตรต่อนักลงทุน และมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนที่สามารถรองรับการลงทุนในหลากหลายสาขา โดยรัฐอานธรประเทศเป็นรัฐเดียวในอินเดียที่ริเริ่มระเบียงอุตสาหกรรม (Industrial Corridors) ถึง 3 แห่ง ที่พาดผ่านเมืองเศรษฐกิจต่างๆ ในอินเดียใต้ ได้แก่ (1) Visakhapatanam-Chennai (2) Chennai-Bengaluru และ (3) Kurnool-Bengaluru พร้อมทั้งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานระดับสากลและระบบการขนส่งลําเลียง สินค้าทั้งทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ ควบคู่กันเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรมการส่งออก และอยู่ระหว่างจัดตั้งและพัฒนาเขตอุตสาหกกรรมที่สําคัญ 2 แห่ง ได้แก่ (1) YSR Jaganana Mega Industrial Hub และ (2) Electronics Manufacturing Cluster (EMR) เพื่อมุ่งขับเคลื่อนการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมของรัฐให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น นอกจากนี้ รัฐอานธรประเทศมีอัตรการหดตัวทางเศรษฐกิจในยุค COVID-19 น้อยกว่าอัตราการหดตัวเฉลี่ยของทั้งประเทศ โดย Gross State Domestic Product (GSDP) ในปีงบประมาณ 2563-2564 ลดลงจากปีงบประมาณ 2561-2562 เพียงร้อยละ 2.58 ในขณะที่ GSDP ของอินเดียโดยรวมลดลงจากร้อยละ 6.3 ในปีงบประมาณ 2561-2562 และลดลงร้อยละ 7.3 ในปีงบประมาณ 2563-2564
.
ด้านสถานการณ์ COVID-19 ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของรัฐอานธรประเทศ โดยในช่วงสองปีที่ผ่านมาอัตราการส่งออกของรัฐเติบโตถึงร้อยละ 19.43 โดยรัฐอานธรประเทศถูกจัดอันดับเป็นรัฐของอินเดียที่มีอัตราการส่งออกสูงเป็นลําดับที่ 9 ในปีงบประมาณ 2561-2562 และเป็นลําดับที่ 7 ในปีงบประมาณ 2562-2563 และล่าสุด เป็นลําดับที่ 4 ในปีงบประมาณ 2563-2564 โดยมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 1.41 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐเป็น 1.68 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ รัฐอานธรประเทศตั้งเป้าที่จะเพิ่มสัดส่วนมูลค่าการส่งออกของรัฐต่อมูลค่าส่งออกทั้งประเทศอินเดีย (State Contribution) เป็นสองเท่าตัวภายในปี 2573 (ปัจจุบันสัดส่วนฯ อยู่ที่ร้อยละ 5.8)
.
นอกจากนี้ กงสุลใหญ่ของไทยยังแสดงความขอบคุณต่อมุขมนตรีที่รัฐอานธรประเทศ ในการดูแลและคุ้มครองธุรกิจไทยในรัฐ โดยเฉพาะบริษัท CPF (India) ซึ่งได้เข้ามาลงทุนในธุรกิจสัตว์น้ำและสัตว์บกในรัฐตั้งแต่ปี 2548 โดยธุรกิจส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ในประเทศอินเดียตั้งอยู่ในรัฐอานธรประเทศ โดยมีโรงงานสัตว์บก (Agro Feed Factory) 2 แห่ง สัตว์น้ำ (Aquatic Factories) 3 แห่ง และโรงเพาะฟักลูกกุ้ง (Shrimp Hatchery) 7 แห่ง ก่อให้เกิดการจ้างงานในรัฐ ทั้งนี้ มุขมนตรีได้เชิญชวนภาคเอกชนไทยให้เข้ามาลงทุนในรัฐอานธรประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในสาขา ITs และการก่อสร้างโรงแรม High-end และ Luxury ในแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของรัฐ ซึ่งเป็นสาขาที่ฝ่ายไทยมีความชํานาญและเชี่ยวชาญ โดยกงสุลใหญ่ของไทยยังได้เชิญชวนให้ภาคเอกชนรัฐอานาธรประเทศเข้ามาลงทุนตามแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจ แบบ BCG (Bio-Circular-Green) ของไทย โดยเฉพาะการลงทุนในเขตเศษฐกิจพิเศษและนิคมอุตสาหกรรมของไทย เช่น โครงการ EEC ซึ่งไทยให้สิทธิพิเศษและแรงจูงใจหลากหลายแก่นักลงทุน
.
ผู้ประกอบการไทยควรใช้ข้อได้เปรียบด้านความร่วมมือระหว่างเมืองเจนไนและไทย ในการต่อยอดธุรกิจโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมสัตว์น้ำสำหรับนำมาทำเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร เช่น การจัดตั้งโรงเพาะกุ้ง หรือฟาร์มเลี้ยงปลา รวมไปถึงอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ เช่น ธุรกิจด้านเทคโนโลยีที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ และธุรกิจด้านโรงแรมประเภท Luxury โดยอาจเสริมบริการนวดสปา ซึ่งเป็นบริการที่มีชื่อเสียงของไทยเพื่อดึงดูดผู้บริโภคในรัฐบาลอานธรประเทศ
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจนไน