อียิปต์เป็นหนึ่งในประเทศที่อาศัยความร่วมมือเเบบไตรภาคีในการพัฒนาเศรษฐกิจ ปัจจุบันอียิปต์มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนเเละได้นำเงินทุน เทคโนโลยี การพัฒนาเเรงงาน เเละวิทยาการต่างๆมาสู่อียิปต์ ทำให้อียิปต์สามาถทำการผลิต ประกอบ ติดตั้ง เเละปรับเนื้อหาลักษณะการใช้งานสินค้าให้เข้ากับวัฒนธรมอาหรับที่สามารถรองรับผู้บริโภคกว่า 3.1 พันล้านคนทั้งในยุโรป สหรัฐ ตะวันออกกลางเเละเเอฟริกา
.
สาเหตุหลักๆที่ต่างชาตินิยมเข้ามาลงทุนในอียิปต์เนื่องจากเมื่อปี 2563 อียิปต์เป็นหนึ่งใน 5 ประเทศที่สามารถรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์โควิด-19 โดย GDP ของอียิปต์ขยายตัว 2.8% อีกทั้งการค้าของอียิปต์มีประสิทธิภาพเนื่อจากมีตลาดภายในประทศที่ใหญ่เเละการใช้จ่ายของชาวอียิปต์ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องในสถานการณ์โควิด-19
.
การปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจอาจเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยอียิปต์ในการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ เช่น การจัดสรรพื้นที่เพื่อจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเเละเขตเพื่อการพัฒนาต่างๆ เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติสามารถดำเนินธุรกิจทั้งในรูปเเบบของการเป็นเจ้าของกิจการเต็ม เช่น เเบบ Joint Venture เเบบ Subcontractor เเละการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับเอกชนในอียิปต์จึงไม่เเปลกที่อียิปต์เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับ FDI มากที่สุดในโลกในขณะที่ชาวอียิปต์ที่พำนักในต่างประเทศยังคงส่งรายได้กลับประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
อียิปต์มีความตกลงทางการค้าเสรีกับประเทศในภูมิภาคต่างๆ เช่น ยุโรป เเอฟริกา ตะวันออกกลาง เเละอเมริกาใต้ มีการลงทุนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการนำเข้าเเละส่งออก การพัฒนาเขตเศรษฐกิจการพัฒนาอุตสาหกรรม การพัฒนาคลองสุเอซ การพัฒนาการเกษตรโดยร่วมมือกับเอกชนเเละส่งเสริมการใช้ Public Private Partnership (PPP) เเละอียิปต์ยังมีที่ตั้งเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่เอื้อให้เข้าถึงตลาดของประเทศในภูมิภาค
.
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
.
ผู้ประกอบการไทยควรทำการค้ากับอียิปต์เพื่อการประกอบสินค้าก่อนจำหน่ายในอียิปต์หรือประเทศที่ 3 อีกทั้งควรผลักดันให้ใช้อียิปต์เป็นจุดพักผ่อนหรือเปลี่ยนถ่ายสินค้าโดยใช้คลองสุเอซเเละเขตเศรษฐกิจเพื่อการเจาะตลาดในภูมิภาค
.
ไทยและอียิปต์ยังสามารถเพิ่มช่องทางและโอกาสทางการค้าโดยการเพิ่มความหลากหลายของสินค้า เช่น สินค้ายาและเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และผลไม้ของอียิปต์ และสินค้าภาชนะเครื่องใช้ในครัวเรือน สินค้าเสื้อผ้า เครื่องประดับ และอาหารแปรรูปจากไทย ที่ต่างเป็นสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกของแต่ละประเทศ รวมทั้งภาคบริการในสาขาต่างๆ (การก่อสร้าง บริการสุขภาพ การขนส่งและโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว ฯลฯ) และการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-commerce) ซึ่งจะเป็นช่องทางการค้าใหม่ที่มีอนาคตเติบโตสูงต่อไป
.
ในรูปแบบไฮบริดทั้งออฟไลน์และออนไลน์ของซูเปอร์มาร์เก็ต ผู้ประกอบการไทยอาจร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ด้านอาหารของอียิปต์ จัดทำคลิปสั้นเพื่อโปรโมทการใช้ข้าวหอมมะลิไทยในการประกอบเมนูท้องถิ่น ทำให้ชาวอียิปต์รู้จักข้าวไทยมากขึ้นซึ่งช่วยกระตุ้นการจำหน่ายและการบริโภคข้าวไทย
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงไคโร