ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเติบโตของ GDP ของเศรษฐกิจโคลอมเบียสูงเกินค่าเฉลี่ยของโลกและมีเสถียรภาพจากการดําเนินนโยบายเศรษฐกิจที่สมเหตุสมผล โดยเฉพาะการรักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ ในระดับต่ํา ในปี 2562 GDP ของโคลอมเบียขยายตัวร้อยละ 3.3 แต่ในปี 2563 GDP หดตัวร้อยละ 7.6 เนื่องจากปี 2562-2563 เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ทั่วประเทศ โดยชาวโคลอมเบียได้ออกมาแสดงความผิดหวังต่อรัฐบาลและเรียกร้องการ ปฏิรูประบบภาษี อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจของโคลอมเบียมีแนวโน้มการฟื้นตัวที่ดีขึ้น และคาดว่าจะขยายตัว 6% ในปี 2564 และ 3% ในปี 2565
.
ในปัจจุบัน รัฐบาลโคลอมเบียได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาโครงสร้างดิจิทัลและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Orange Economy) และ ตั้งเป้าให้โคลอมเบียเป็นผู้นําระดับภูมิภาคในด้านพลังงานหมุนเวียน ปี 2564 โคลอมเบียขาดดุลการค้า 3 พันล้านดอลลาร์ มูลค่าการส่งออก 8.8 พันล้านดอลลาร์ และมูลค่าการนําเข้า 12.6 พันล้านดอลลาร์
.
เศรษฐกิจโคลอมเบียถือว่ามีเสถียรภาพสูง ประชากรมีกําลังซื้อของชนชั้นกลาง มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน เป็นผู้ส่งออกหลักน้ํามันปาล์ม ดอกไม้ กล้วย และกาแฟระดับโลก เป็นศูนย์กลางการผลิต จําหน่าย และส่งออกผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาค นอกจากนี้รัฐบาลโคลอมเบียให้หลักประกันการปฏิบัติที่เท่าเทียมกันระหว่างคนชาติและนักลงทุนต่างชาติอีกด้วย
.
โดยสาขาที่มีศักยภาพในการนําเข้าส่งออกและการลงทุนใน โคลอมเบียสําหรับผู้ประกอบการไทย ได้แก่ (1) พลังงานหมุนเวียน โดยรัฐบาลโคลอมเบียมีมาตรการจูงใจในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน เช่น การลดหย่อนภาษีเงินร้อยละ 50 เป็นเวลา 15 ปี การยกเว้นภาษีอากรและภาษีมูลค่าเพิ่มสําหรับ การนําเข้าอุปกรณ์ผลิตพลังงานหมุนเวียน เช่น แผงโซลาร์เซลล์ (2) โครงสร้างพื้นฐาน โคลอมเบียมีโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลายโครงการซึ่งกําหนดแล้วเสร็จภายในปี 2578 ผ่านโครงการความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชน (Public-Private Partnership) (3) ภาคอุตสาหกรรม โคลอมเบียเป็นศูนย์กลางการผลิต จําหน่ายและส่งออกผลิตภัณฑ์ภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาค (4) อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร (5) การท่องเที่ยว โคลอมเบียมีมาตรการจูงใจสําหรับการลงทุนในการสร้างโรงแรมและโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว เช่น การเสนอเก็บภาษีเงินได้ในอัตราพิเศษร้อยละ 9 เป็นเวลา 20 ปี และ (6) อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรม สร้างสรรค์ และ e-commerce
.
ในปีนี้เศรษฐกิจะโคลอมเบียมีแนวโน้มเติบโตดี แม้จะมีปัญหาความขัดแย้งภายในประเทศมาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะการสู้รบกับกลุ่มก่อการร้าย FARC และ ELN อย่างไรก็ตาม โคลอมเบียถือเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในการขยายการค้ากับไทย โดยเฉพาะในปัจจุบันที่รัฐบาลโคลอมเบียประสบความสําเร็จในการเจรจาและบรรลุข้อตกลงสันติภาพกับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธปฏิวัติแห่งโคลอมเบีย (Fuerzas Armadas Revolucionarias de Colombia : FARC)
.
ซึ่งโคลอมเบียถือเป็นประเทศที่มีความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ ของลาตินอเมริกา เนื่องจากมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของภูมิภาค โดยมีประชากรถึง 50 ล้านคน โอกาสการค้าการลงทุนในโคลอมเบียก็ยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะด้านพลังงานหมุนเวียน ปูนซีเมนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยในปี 2562 โคลอมเบียมีการนําเข้าโครงรถสูงที่สุดในโลก ถือเป็นโอกาสทองของผู้ประกอบการไทยในการส่งออกสินค้า โดยเฉพาะอุปกรณ์และส่วนประกอบยานยนต์ ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยสนใจที่จะไปลงทุนในโคลอมเบีย สามาถติดต่อหน่วยงานหลักด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน ในโคลอมเบียได้ ดังนี้ (1) กระทรวงการต่างประเทศโคลอมเบียผ่านกรมส่งเสริมกิจการเศรษฐกิจ (2) กรมการค้า อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวโคลอมเบีย (MINCIT) (3) PROCOLOMBIA และ (4) National Business Association of Colombia (ANDI) ฯลฯ