JD.com เป็นบริษัทซื้อขายสินค้าออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีผู้ใช้ประมาณ 500 ล้านคน และเป็นบริษัท Internet จีนแห่งแรกที่อยู่ใน Fortune Global 500 อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ และฮ่องกง ปัจจุบัน ได้ดําเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับ retails business ได้แก่ (1) ID Logistics (2) UD Health และ (3) JD Technology
.
ก่อน COVID-19 JD.com ขนส่งสินค้าไทย – จีนทางเรือเป็นส่วนใหญ่ แต่การแพร่ระบาด ทําให้คอนเทนเนอร์จํานวนมากที่ขนส่งทั้งทางเรือและรถไฟติดขัด ไม่ได้รับการเปิดตรวจตามกําหนดการเดิม ส่งผลให้ค่าขนส่งทางเรือ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยตั้งแต่ปี 2563 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2564 JD.com ได้เริ่มหันมาขนส่งสินค้าระหว่างไทย – จีน ทางเครื่องบิน โดยวิธีการจ้างองค์กรภายนอก (outsource)
.
จนเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 ID Logistics ได้เปิดเที่ยวบินขนส่งประจํา (ปัจจุบัน อาทิตย์ละ 3 เที่ยวบิน) ระหว่าง กรุงเทพฯ – เซินเจิ้น เพื่อขนส่งสินค้าที่มีการซื้อขายบนแพลตฟอร์มระหว่างไทย – จีน โดยปัจจุบันบริษัทมีอัตรากำไรจากการขนส่งทางเที่ยวบินสูงกว่าการขนส่งทางเรือถึงร้อยละ 95 และประเมินว่า แม้สถานการณ์จะกลับสู่สภาวะปกติ ก็สามารถคงเที่ยวบินไว้ได้ โดยใช้กําไรจากช่วง peak มาเฉลี่ยช่วง non-peak ได้
.
เที่ยวบินขนส่ง กรุงเทพฯ – เซินเจิ้น เป็นเที่ยวบินระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของ JD.com ตามด้วยเที่ยวบินขนส่งสายจีน – สหรัฐอเมริกา (หนานจิง – ลอสแอนเจลิส) ในต้นเดือนมิถุนายน 2564 และกําลังจะเปิดเพิ่มสายจีน ยุโรป และจีน – อินโดนีเซีย
.
JD.com ตั้งเป้าที่จะส่งสินค้าจากจีนไปทั่วโลกให้ได้ภายใน 48 ชม. และขนส่งเมื่อถึงประเทศนั้นแล้วอีก ภายใน 48 ชม. ซึ่งระยะเวลา 48 ชม. เป็นระยะเวลาเดียวกันกับที่ JD.com จัดส่งสินค้าได้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ในจีนแล้ว
.
ถึงแม้ว่าเที่ยวบิน กรุงเทพฯ – เซินเจิ้น จะไม่มีระบบการขนส่งแบบควบควบคุมอุณหภูมิ (Cold Chain Logistics) แต่ในปัจจุบันได้มีการขนส่งผลไม้ โดยเฉพาะ ทุเรียนจากไทยมาขายในจีนเป็นจํานวนมาก โดยในช่วงเทศกาลช็อปปิ้ง 618 โดยไทยขายทุเรียนได้เป็นจํานวน 260,000 ลูกใน 1 วัน และขายยาหม่องได้เพิ่มกว่า 90 เท่าของยอดขายปีที่ผ่านมา
.
ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาช่องทางใหม่ ๆ เข้าถึงตลาดเป้าหมาย เพื่อกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคในต่างแดน เช่น เที่ยวบินคาร์โก้ เส้นทางใหม่ โดยควรคำนึงถึงคุณลักษณะของสินค้า และข้อจำกัดในการขนส่งทางเครื่องบิน เพื่อคำนวนปัจจัยเสี่ยง เช่น ทุเรียน ส่วนสินค้าไทยอื่น ๆ ที่ได้รับการตอบรับอย่างดีบน JD.com ได้แก่ สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ยาหม่อง หมอนยางพารา หน้ากากอนามัย และรังนก รวมถึงเครื่องใช้ในบ้าน เครื่องสําอาง สินค้าแม่และเด็ก อีกทั้ง สินค้าไทยยังมีอัตราการเติบโตต่อปีในแพลตฟอร์ม JD.com สูงถึง 50% ถือเป็นโอกาสทองสำหรับผู้ประกอบการไทยในการนำสินค้าไปจำหน่ายออนไลน์บนแพลตฟอร์มจีนแห่งนี้
.
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://www.prachachat.net/ict/news-679195