นางศรีมุลยานี อินดราวาตี (H.E. Sri Mulyani Indrawati) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย กล่าวว่า ปัจจุบันทุกประเทศต่างประสบวิกฤติ COVID-19 และต้องยอมเสียการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อควบคุมการแพร่ระบาด โดยวัคซีนเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สําคัญที่สุดต่อการฟื้นตัวทาง เศรษฐกิจ ซึ่งอินโดนีเซียเป็นประเทศแรก ๆ ที่สั่งจองวัคซีนในปี 2563 รวมทั้งใช้การทูตและเจรจากับประเทศและบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้มีวัคซีนเพียงพอ โดยล่าสุด อินโดนีเซีย มีนโยบายให้ประชาชนทุกคนเข้าถึงวัคซีนได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย นอกจากนี้ ยังมุ่งฉีดวัคซีนในเดือนกรกฎาคมให้ได้วันละ 1 ล้านเข็ม และวันละ 2 ล้านเข็มในเดือนสิงหาคม 2564 (เป้าหมายคือประชาการร้อยละ 70 ของประเทศ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่)
.
อินโดนีเซียตระหนักดีว่า การตอบสนองต่อวิกฤติ COVID-19 เป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ซึ่งในเรื่องนี้ที่ประชุม G20 ได้หารือกันเกี่ยวกับการยกระดับความร่วมมือด้านวัคซีน และความเป็นไปได้ที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศที่มีทรัพยากรไม่เพียงพอจะเข้าถึงวัคซีนได้ โดยอินโดนีเซียจะร่วมผลักดันเรื่องดังกล่าวต่อไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวาระการเป็นประธาน G20 ของอินโดนีเซียในปี 2565 ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซียจะจัดทําโครงการแบ่งปันวัคซีนให้กับประเทศที่มีรายได้น้อยด้วย
.
ในขณะนี้ กลุ่มคนรวยและกลุ่มฐานะปานกลางตอนบน (upper middle class) ใน อินโดนีเซีย ยังมีทุนทรัพย์อยู่และมีเงินเก็บในบัญชีเพิ่มขึ้นเพราะจับจ่ายลดลง อย่างไรก็ดี กลุ่มฐานะปานกลางตอนล่าง (lower middle class) และคนจนกลับมีทรัพย์สินน้อยลง และเป็นปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไขผ่านนโยบายต่าง ๆc และเพิ่มจํานวนคนที่ได้รับสิทธิตามโครงการ Social Safety Net (SSN) เป็นร้อยละ 40 ของประชากรที่มีฐานรายได้น้อยที่สุด รวมถึงการเร่งจัดสรรงานให้แรงงานไร้ฝีมือ การช่วยเหลือธุรกิจ MSMEs การให้กู้เงินเพิ่ม และให้อินเทอร์เน็ตฟรี สําหรับนักเรียน/นักศึกษา โดยระหว่างเดือนกันยายน 2563 – กุมภาพันธ์ 2564 อินโดนีเซีย สามารถลดอัตราการว่างงานจากร้อยละ 7.07 ในปี 2563 เหลือร้อยละ 6 ในขณะนี้ และลดอัตราความยากจน จากร้อยละ 11.08 ในปี 2563 เหลือร้อยละ 10.19
.
แม้ปัจจุบัน อินโดนีเซียจะลดและให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทในช่วง COVID-19 แต่ก็เห็นความจําเป็นที่จะต้องปฏิรูประบบภาษี (tax reformation) เพื่อลดความเสี่ยงในการหนี้/เลี่ยงภาษี และดึงสินค้า และบริการ และผู้มีรายได้ทุกคนเข้ามาอยู่ในระบบการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะผู้ประกอบการที่บนแพลตฟอร์มดิจิทัลและจะพิจารณาเปลี่ยนการยกเว้นภาษีแก่สินค้าเกษตรบางชนิดเป็นการลดภาษีแทน โดยตนได้เสนอเรื่องดังกล่าว ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอินโดนีเซีย เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าวแล้ว เพื่อให้ อินโดนีเซีย มีระบบภาษีที่เหมาะสมและยั่งยืน ลดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ และเพื่อให้ประเทศสามารถฟื้นตัวและพัฒนาในทุกด้านเท่า ๆ กันหลังวิกฤติ COVID-19
.
นอกจากนี้ อินโดนีเซียให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับการปฏิบัติตามพันธกรณีใน Paris Agreement อย่างแข็งขัน โดยอินโดนีเซียเริ่มทํา green bond แล้วตั้งแต่ปี 2563 และส่งเสริมแนวคิด environmental social and governance (ESG) ในการทําธุรกิจและการลงทุน ทั้งนี้ อินโดนีเซีย อยู่ระหว่างการวางแผนบูรณาการระหว่างกระทรวงต่าง ๆ เพื่อยกระดับนโยบายและมาตรการที่เกี่ยวข้องในเรื่องนี้ โดยจะกําหนดเป้าหมายและนโยบายที่สร้างบรรยากาศภายในประเทศให้เอื้อต่อการส่งเสริม สิ่งแวดล้อมและลดผลกระทบจาก climate change
.
นอกจากนี้ นาย อภิจิต บาเนอร์จี (Abhijit Banerjee) ศาสตราจารย์ ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT) กล่าวว่า ปัจจุบัน ห่วงโซ่อุปทานโลก (global supply chain) ยังอ่อนแออยู่จากวิกฤติ COVID-19 โดยความตื่นตระหนกและหวาดกลัวการแพร่ระบาด ทําให้ประชาชนไม่กล้าใช้จ่าย ทำให้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมีนัยสําคัญ การควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 และจัดหาวัคซีนให้มากที่สุดจึงเป็นปัจจัยสําคัญที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และผู้บริโภคซึ่งจะทําให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ดังจะเห็นได้จากประเทศที่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้แล้วในเวลานี้
.
อินโดนีเซียถือเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีขนาดเศรษฐกิจกว่า 30 ล้านล้านบาท ผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและนโยบายของอินโดนีเซียอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความเคลื่อนไหวในอินโดนีเซียจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค รวมถึงไทยอย่างแน่นอน นอกจากนี้อินโดนีเซียยังมีบทบาทหลักในการประสานบทบาทของอาเซียนเข้ากับภูมิภาคใหญ่ของเอเชียตะวันออก และกลุ่มเศรษฐกิจระดับโลกอย่าง G-20 ด้วย
.
โดยนอกเหนือจากประชากรและขนาดเศรษฐกิจแล้ว อินโดนีเซียยังเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการลงทุนจากต่างชาติมากที่สุดชาติหนึ่งของเอเชีย ซึ่งหากอินโดนีเซียและไทยสามารถก้าวข้ามผ่านวิกฤตโควิด-19 ได้แล้ว อินโดนีเซียจะเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจในการลงทุน เนื่องจากเป็นประเทศที่มีโอกาสทางการค้าสูง โดยร้อยละ 15 เป็นประชากรที่มีฐานะดีและมีกำลังซื้อสูงมาก และผู้บริโภคมีความต้องการสินค้า high end และสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างมาก นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากการปลอดภาษีนำเข้าในกรอบข้อตกลงอาเซียน (CEPT/AFTA) ได้อีกด้วย โดยสำหรับบริการที่มีโอกาสมากคือ บริการทางการแพทย์ และการท่องเที่ยว