ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูเทียนฝู่ เป็นท่าอากาศนานาชาติแห่งที่ 2 ของนครเฉิงตูนอกเหนือจากท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูชวงหลิว (Chengdu Shuangliu International Airport) ทําให้นครเฉิงตูได้กลายเป็นเมืองที่ 3 ในจีนที่มีท่าอากาศยานนานาชาติ 2 แห่ง โดยเป็นโครงการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดที่เคยมีของมณฑลเสฉวน และเป็นโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานพลเรือน ที่ใหญ่ที่สุดของจีนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
.
ท่าอากาศยานฯ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2559 ประกอบด้วยทางวิ่งเครื่องบิน 6 เส้น และพื้นที่อาคารผู้โดยสาร ขนาด 1.4 ล้านตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 120 ล้านคนและการขนส่งสินค้า 2.8 ล้านตัน ปัจจุบันเริ่มให้บริการพื้นที่ เพียงบางส่วน โดยมีแผนสร้างให้แล้วเสร็จภายในปี 2588
.
ในช่วงแรกของการเปิดทําการ ท่าอากาศยานฯ เปิดเส้นทางบินไปยังปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว เซินเจิ้น หางโจว หนานจิง เซี่ยเหมิน อู่ฮั่น ลาซา ซานย่า ที่ซึ่ง จึงกังซาน โดยมีแผนเพิ่มความถี่การบินเป็นวันละ 271 เที่ยว ภายในปี 2564 และเป็นวันละ 1,138 เที่ยวภายในปี 2566 ทั้งนี้ ในส่วนการเดินทางระหว่างประเทศ ท่าอากาศฯ จะทยอยเปิดเที่ยวบินระหว่างประเทศโดยคํานึงถึงระเบียบที่เกี่ยวข้อง สถานการณ์โควิด-19 และความต้องการของตลาดต่อไป
.
ท่าอากาศยานฯ ได้บูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น 5G การจดจําใบหน้า IOT Big Data และ AI เพื่อใช้สําหรับระบบตรวจสอบความปลอดภัยอัจฉริยะ ระบบเช็คอินด้วยตัวเอง ระบบตรวจสอบการเปิดกระเป๋าทางไกลผ่านวิดีโอคอล การใช้หุ่นยนต์นําทางอัจฉริยะ ระบบเช็คอินสัมภาระที่โรงแรม และที่ชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือบริเวณจุดนั่งรอขึ้นเครื่องบิน ซึ่งช่วยอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร ลดระยะเวลาการดําเนินการ และแก้ปัญหาการขึ้นเครื่องล่าช้าและพลาดเที่ยวบิน
.
นอกจากนี้ ท่าอากาศยานฯ ยังเป็นอีกหนึ่งความสําเร็จของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ระยะ 5 ปี (2559-2563) โดยจีนได้วางแผนและสร้างจนสําเร็จภายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว การเปิดใช้ท่าอากาศยานฯ ในห้วงการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปีแห่งการก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีน เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 จึงมีนัยทางการเมืองโดยเป็นการตอกย้ําความสําเร็จในการพัฒนาชาติจีนภายใต้การนําของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
.
ความสําเร็จในการก่อสร้างท่าอากาศยานฯ จะเป็นส่วนสําคัญในการสนับสนุนบทบาทศูนย์กลางการบิน ระหว่างประเทศของนครเฉิงตูเพื่อเชื่อมต่อจีนกับยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชียกลาง และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลนครเฉิงตูวางบทบาทให้ท่าอากาศยานฯ มุ่งเน้นเส้นทางการบินระหว่างประเทศและการขนส่งสินค้า ในขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติชวงหลิวเน้นเส้นทางการบินภายในประเทศ
.
ก่อนหน้าสถานการณ์โควิด-19 ท่าอากาศยานนานาชาติชวงหลิวเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของจีน โดยได้ให้บริการผู้โดยสารรวม 55 ล้านคนเมื่อปี 2562 นอกจากนี้ ยังเป็นท่าอากาศยานจีนที่มีเที่ยวบินไปไทยมากที่สุดด้วย มีเส้นทางการบิน 8 เส้นทาง เชื่อมโยงสนามบินนานาชาติของไทย 8 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต กระบี่ เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี สมุย เชียงราย และพัทยา (รวมถึงหาดใหญ่ในช่วงฤดูการท่องเที่ยว) ด้วยอัตราการบินไปไทยเฉลี่ย 110 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ มีจํานวนนักท่องเที่ยวเยือนไทยปี 2562 รวม 900,000 คน ซึ่งหากเมื่อมีการผ่อนคลายข้อจํากัดการเดินทางระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานนานาชาติเฉิงตูเทียนฝู่แห่งใหม่นี้จะมีบทบาทสําคัญในการขยายตลาดการท่องเที่ยวไทยในกลุ่มตลาดนักท่องเที่ยวจีนภูมิภาคตะวันตก และเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ด้วย นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากเที่ยวบินดังกล่าวในการนำเข้าแและส่งออกสินค้าได้อีกด้วย
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู