จากรายงานดัชนีเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเวียดนาม ปี 2563 (Vietnam ICT Index 2020) พบว่า นครดานังยังคงรักษาตําแหน่งผู้นําด้านการพัฒนา ICT ในปี 2563 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 12 โดยมีคะแนนรวมอยู่ที่ 0.9238 ทิ้งห่างจากอันดับถัดไป ได้แก่ จังหวัดเถื่อเทียน-เว้ (0.8147) ถึงร้อยละ 12 จามด้วยจังหวัดกว๋างนิญ (0.6909) นครเกิ่นเทอ (0.6845) และนครโฮจิมินห์ (0.5852) นอกจากนี้ นครดานั่งยังอยู่ในอันดับที่ 1 ของหมวดการใช้งาน IT และ อันดับที่ 5 ของดัชนีอุตสาหกรรม IT รวมถึงอยู่ใน 5 อันดับแรกของประเทศ ในหมวดการค้าและการกระจายสินค้าและบริการด้าน IT
.
ในช่วงปี 2564-2568 นครดานังมีแผนเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและฐานข้อมูล สําหรับการเป็นเมืองอัจฉริยะ และเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน (ASEAN Smart Cities Network: ASCN) โดยนครจะส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมที่เชื่อมกับเครือข่ายหลักระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาค รวมถึงการขยายเครือข่าย 5G ให้ครอบคลุม และเชื่อมต่อเครือข่ายบรอดแบนด์ในทุกองค์กรและครัวเรือน ทั้งนี้ นครดานัง เป็นเมืองแรกในเวียดนาม ที่เปิดตัวระบบ e-Government เมื่อปี 2557 และขยายระบบไปยังนครและจังหวัดต่าง ๆ กว่า 16 แห่ง ทั่วประเทศ และมีแผนยกระดับ e-Government platform เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลกับกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดย ปัจจุบัน นครได้ให้บริการภาครัฐในรูปแบบออนไลน์กว่า 1,200 บริการ เช่น ร้านค้าแบบครบวงจร การจัดการที่อยู่อาศัย การขนส่ง สาธารณะ และการควบคุมน้ํา และยังมีบริการอินเทอร์เน็ตไร้สายในสถานที่สาธารณะที่รองรับได้ถึง 20,000 การเชื่อมต่อ
.
เมืองดานัง นับเป็นเมืองที่น่าจับตามองที่สุดในด้านการลงทุนของเวียดนามสำหรับผู้ประกอบการไทย ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมนั้น การที่มีภูมิประเทศที่ใกล้กัน สามารถประหยัดต้นทุนขนส่งและแรงงานไปได้มากกว่าประเทศอื่น และจะเป็นโอกาสในการเปิดประตูสู่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก – ตะวันตก (EWEC) ที่มีการเชื่อมโยงผ่าน 7 จังหวัดในประเทศไทย และยังการประกาศเปิดชายหาดใหม่แก่นักลงทุนต่างชาติให้เข้ามาพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวและโรงแรมกว่า 7 แห่ง ที่มีแนวโน้มการเติบโตสูง ความน่าสนใจด้านโยบายเวียดนาม 4.0 คือการเน้นแรงงานเป็นหลักในการผลิตอุตสาหกรรม ต่างจากประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคที่แรงงานมีความเสี่ยงที่จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์สูงอีกด้วย
.
ในส่วนของภาคการบริการ ดานังยังตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยว และศูนย์กลางเศรษฐกิจทางทะเล ซึ่งเป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการไทยที่มีชื่อเสียงในภาคการบริการ ในการร่วมลงทุนในด้านอุตสาหกรรม MICE การโรงแรม และธุรกิจร้านอาหาร เพื่อรองรับนักลงทุนและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีตัวเลขสูงขึ้นในทุกๆ ปี นอกจากนี้ การอาศัยความพร้อมในด้านเทคโนโลยีของเวียดนาม จะสามารถอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการไทยในการร่วมลงทุนในภาคประชาชนและสังคม ด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ ความปลอดภัยและความมั่นคงสาธารณะ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมและนวัตกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ ASEAN Smart Cities Network เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคได้อย่างยั่งยืน
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์