1. ภาพรวม
1.1 การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลใน สปป. ลาวเริ่มเมื่อประมาณปี 2555 ที่ สปป. ลาวเพิ่มการลงทุนในการขยาย โครงสร้างพื้นฐานด้าน IT การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของ สปป. ลาวประกอบด้วย (1) การสร้างความเข้มแข็งให้กับ ภาคอุตสาหกรรม ICT ของ สปป. ลาว เพื่อทําให้เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศ และ (2) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งการสร้าง มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาคการเกษตร อุตสาหกรรม การค้า และการท่องเที่ยว
.
1.2 ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2559 – 2563) สปป. ลาวมุ่งเน้นการส่งเสริมและ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและข้อมูลข่าวสารด้านอิเล็กทรอนิกส์ให้ขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ เพื่อยกระดับการบริการให้มีความทันสมัย อํานวยความสะดวกการทางค้าอิเล็กทรอนิกส์ และก้าวเป็นศูนย์กลางด้าน ICT ในการเชื่อมโยงกับประเทศในและนอกภูมิภาค
.
1.3 สําหรับการพัฒนาด้านดิจิทัลในระยะต่อไป สปป. ลาวเน้นการพัฒนาบุคลากร การศึกษา และการวิจัยด้าน ICT เพื่อรองรับอุตสาหกรรม 4.0 ดังที่ระบุในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (2564 2568) ภายใต้ เป้าหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความเข้มแข็ง โดยใช้ศักยภาพด้านที่ตั้งเพื่อร่วมมือและเชื่อมโยงกับประเทศ ในและนอกภูมิภาค โดยสิ่งที่ สปป. ลาวจะเร่งดําเนินการ ได้แก่ (1) ขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต (2) ติดตั้งและเพิ่มระบบ การประชุมทางไกลและระบบสื่อสารทาง e-mail ของหน่วยงานภาครัฐ (3) ติดตั้งระบบ 3G ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ระบบ 4G ให้ครอบคลุมร้อยละ 90 และระบบ 5G ให้ครอบคลุมร้อยละ 50 ของประเทศ (4) สนับสนุนให้ภาครัฐและ ภาคเอกชนใช้ประโยชน์จากระบบดาวเทียมมากขึ้นภายในปี 2568 และติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตดาวเทียม VSAT ให้แล้วเสร็จ เพื่อให้บริการหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ (5) นําประเทศเข้าสู่ระบบดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม เช่น ระบบ e-Disaster e-Agriculture e-Signature Open Government Data (6) ปรับปรุง และจัดทําแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการบริหารประเทศและการให้บริการผ่านระบบดิจิทัล (7) พัฒนาระบบ ICT ให้ทันสมัยเพื่อรองรับการทําธุรกรรมผ่านระบบมือถือ (8) พัฒนาระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อป้องกัน การโจรกรรมระบบ ICT ของประเทศและข้อมูลส่วนตัว (9) พัฒนาระบบไปรษณีย์ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค (10) ด้านการค้าดิจิทัล เน้นการพัฒนาระบบ ICT เพื่อสนับสนุนผู้นําเข้า เช่น e-Licensing e-Commerce และ e-Trade เพื่อลดระยะเวลาการดําเนินการและค่าใช้จ่าย
.
1.4 ปัจจุบัน สปป. ลาวอยู่ระหว่างร่างแผนแม่บทเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ 5 ปี (2564 2568) โดยที่ประชุมรัฐบาล สมัยสามัญประจําเดือน ก.ย. 2563 ได้เห็นชอบหลักการของแผนแม่บทดังกล่าวและมอบหมายให้กระทรวงไปรษณีย์ โทรคมนาคม และการสื่อสาร สปป. ลาว เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุง โครงสร้าง เนื้อหา และบางคําศัพท์ให้ละเอียด นอกจากนี้ สปป. ลาวมีแผนจะจัดทําแผนแม่บท Digital Transformation นโยบายแห่งชาติด้าน ICT (ฉบับปรับปรุง) ดำริว่าด้วยรัฐบาลดิจิทัล ดําริว่าด้วยการสื่อสารผ่านดาวเทียม ดําริว่าด้วยมาตรฐานและคุณภาพทางด้าน ICT และแผนแห่งชาติด้านการพัฒนาอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
.
1.5 ในปี 2563 สปป. ลาวมีประชากรทั้งหมด 7.22 ล้านคน โดยร้อยละ 35 อาศัยอยู่ในตัวเมือง มีการลงทะเบียน ใช้โทรศัพท์มือถือ 8.41 ล้านเลขหมาย (ร้อยละ 120) ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 3.29 ล้านคน (ร้อยละ 47) ผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ 3.1 ล้านคน (ร้อยละ 43) และผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์บนมือถือ 2.6 ล้านคน (ร้อยละ 37) สปป. ลาวมีนโยบายขยาย เครือข่ายการบริการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตไปยังพื้นที่ห่างไกลเพื่อให้ประชาชนได้ใช้อย่างทั่วถึง รวมถึงปรับปรุง การให้บริการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ปัจจุบันโครงข่ายอินเทอร์เน็ตของ สปป. ลาวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต ผ่านมือถือ (Mobite broadband) สปป. ลาวมีสถานีรับส่งสัญญาณ 3G จํานวน 5,300 แห่ง ครอบคลุมร้อยละ 82 ทั่วประเทศ สถานีรับส่งสัญญาณ 4G จํานวน 4,400 แห่ง ครอบคลุมร้อยละ 55 และล่าสุดเมื่อเดือน ส.ค. 2563 บริษัท ลาวโทรคมนาคม มหาชน ได้เปิดให้บริการระบบ 5G อย่างเป็นทางการ โดยในระยะแรกจะให้บริการในบางพื้นที่ของ นครหลวงเวียงจันทน์ และในระยะต่อไปจะขยายพื้นที่ให้บริการไปยังแขวงต่าง ๆ นอกจากนี้ สปป. ลาวได้ขยายเครือข่ายเคเบิลใยแก้วนําแสง (Fiber optic) เชื่อมโยงทุกแขวง ระยะทางรวม 90,258 กิโลเมตร
.
2. การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารงานภาครัฐ
สปป. ลาวให้ความสําคัญกับการพัฒนาระบบการให้บริการของรัฐ และการบริหารรัฐอย่างทันสมัย E-Government Action Plan (2556 – 2563) ประกอบด้วยการก่อตั้งศูนย์บริการ e-Government ที่กระทรวงไปรษณีย์ฯ และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบ และแอพพลิเคชั่น e-Government การใช้ระบบ e-Government ทั่วประเทศเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการกําหนดมาตรฐานระดับชาติ โดยเฉพาะด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความปลอดภัย ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ ของ สปป. ลาวได้ติดตั้งระบบ server และอุปกรณ์ IT เพื่อเชื่อมโยงฐานข้อมูลภาครัฐ และติดตั้งระบบ e-mail และ ระบบ video conference สําหรับภาครัฐแล้วเสร็จและได้นําเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการภาครัฐ อาทิ (1) การยื่นภาษีออนไลน์ผ่านระบบ Tax Revenue Information System (TaxRIS) ของกรมส่วยสาอากร กระทรวงการเงิน (2) การให้บริการ e-visa ของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (3) การเบิกจ่ายเงินเดือนและเงินอื่น ๆ ผ่านระบบบัญชีกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (U-Money) ให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐ ในพื้นที่ห่างไกลการให้บริการของธนาคาร (4) การพัฒนาระบบ Easy Pass และระบบคุ้มครองพาหนะท่องเที่ยวและขนส่งสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยกระทรวงการเงินและธนาคารพัฒนาลาว (5) การพัฒนาระบบ Big data ร่วมกับภาคเอกชนของเกาหลีใต้ เพื่อใช้บริหารจัดการข้อมูลด้านแรงงาน โดยจัดทํา ฐานข้อมูลที่ชัดเจนและน่าเชื่อถือ (6) การศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลออกใบอนุญาตทํางานให้แก่แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทํางาน ใน สปป. ลาวในรูปแบบ Smart card เพื่อให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและสามารถติดตามและ ตรวจสอบได้
.
3. การเงินดิจิทัล
3.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและเงินตราของ สปป. ลาวในระยะ 10 ปี (2559 – 2568) และ วิสัยทัศน์ปี 2573 เน้นการพัฒนาระบบชําระเงินของประเทศให้ทันสมัย ปลอดภัย โดยสร้างระบบที่มีลักษณะรวมศูนย์ ที่รองรับธุรกรรมหลากหลาย ปลอดภัย รวดเร็ว และเชื่อมโยงตู้ ATM ของทุกธนาคาร ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ได้พัฒนาระบบชําระเงินในประเทศและระหว่างประเทศผ่านระบบ Systemicatty Important Payment Systems (SIPS) ซึ่งธนาคารแห่ง สปป. ลาวเป็นผู้ควบคุมระบบดังกล่าว ซึ่งให้บริการชําระเงินแบบทันที และได้ร่วมก่อตั้งบริษัท Lao National Payment Network (LAPNet) สําหรับการทําธุรกรรมของลูกค้ารายย่อย โดยเริ่มให้บริการถอนเงินสด และโอนเงินข้ามธนาคารผ่านตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ที่เป็นสมาชิก LAPNet ทั่วประเทศตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเดือน พ.ค. 2563
.
3.2 ปัจจุบันการใช้บริการชําระเงินและค่าบริการ เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าสินค้าและบริการ ผ่านแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือและ QR Code ของธนาคาร/บริษัทต่าง ๆ ได้แพร่หลายมากขึ้น ธนาคารไทยใน สปป. ลาวที่ให้บริการ ดังกล่าว ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทยร่วมกับบริษัท ลาวโทรคมนาคม มหาชน ซึ่งให้บริการเติมเงินโทรศัพท์มือถือผ่าน QR KBank ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นกระเป๋าเงินบนมือถือ และล่าสุด ธนาคารกรุงศรีอยุธยาร่วมกับธนาคารพัฒนาลาวให้บริการ โอนเงินไปไทยแบบ Real time ผ่านธนาคารพัฒนาลาวทั่วประเทศ และในอนาคตจะให้บริการโอนเงินระหว่างประเทศ ผ่าน Mobile banking และ Internet banking และเชื่อมโยงการบริการผ่านตู้ ATM เครื่องรูดบัตร Electronic Data Capture (EDC) และ QR Code อย่างไรก็ดี ปัจจุบันการชําระผ่าน QR Code ผู้ชําระเงินสามารถชําระเงินผ่าน QR Code ที่ตนมีบัญชีเท่านั้น ไม่สามารถชําระเงินผ่าน QR Code ของธนาคารอื่นได้
.
3.3 ล่าสุด เมื่อวันที่ 17 มี.ค. 2560 บริษัท Mobile Money จํากัด (บริษัทในเครือของบริษัท ลาวโทรคมนาคม มหาชน) และบริษัท ซี.พี. ลาว จํากัด ร่วมลงนามสัญญาว่าด้วยการเป็นคู่ร่วมธุรกิจในการเชื่อมโยงระบบการชําระเงินผ่าน M-Money เพื่ออํานวยความสะดวกให้ลูกค้าและเพิ่มช่องทางในการชําระเงินที่รวดเร็วขึ้น
.
4. ธุรกิจ e-commerce
4.1 สปป. ลาวอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการดําเนินธุรกิจ e-commerce ทั้งนี้ ได้รับความนิยมมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วง การระบาดของโรคโควิด 19 ขณะนี้ สปป. ลาวอยู่ระหว่างจัดทําคําริว่าด้วยการค้าอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น การดําเนิน ธุรกิจ e-Commerce จึงยังคงเป็นกิจกรรมทางการค้าที่ไม่เป็นทางการ ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า สปป. ลาวและสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติลาวได้จัดทํา e-commerce platform ชื่อ Plaosme เพื่อให้ SMEs ลาวเข้าถึงตลาดอาเซียนและตลาดโลกและจับคู่ธุรกิจ ในขณะเดียวกัน E-commerce platform และแอพพลิเคชั่น ใน สปป. ลาวมีจํานวนเพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมธุรกิจประเภทต่าง ๆ เช่น (1) การซื้อขายผ่านเว็บไซต์ Yulala และ แอพพลิเคชั่น Droppinx (2) การขนส่งสาธารณะผ่านแอพพลิเคชั่น LOCA และบริการขนส่งพัสดุของรัฐวิสาหกิจ ไปรษณีย์ลาว (3) การสั่งอาหารและรับส่งของผ่านแอพพลิเคชั่น Foodpanda Easy-speed และ GoTeddy (4) การทํา ธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น M-Money M-Service U-Money และ MyUnitel (5) การท่องเที่ยวและการบริการ ผ่านแอพพลิเคชั่นจองตั๋วรถโดยสาร Soutchai Travel ตั๋วเครื่องบิน Lao Airlines และ Lao Skyway (6) การศึกษา ผ่านแอพพลิเคชั่นสืบค้นกฎหมายลาว Lao Law (7) อื่น ๆ เช่น การซื้อขายและประชาสัมพันธ์สินค้าผ่าน Facebook instagram WeChat WhatsApp และ LINE
.
5. โอกาสสําหรับไทย
5.1 นอกจากความร่วมมือด้าน ICT และดิจิทัลระหว่าง สปป. ลาวกับหน่วยงานไทย ได้แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จํากัด (มหาชน) สํานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น สปป. ลาวประสงค์จะร่วมมือกับไทยในการพัฒนาบุคลากรในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาดิจิทัลและ ICT โดยเห็นว่านอกจากคนลาวจะเข้าใจภาษาไทยแล้ว ค่าเล่าเรียนและค่าครองชีพในไทยไม่สูงนักหรืออาจจะถูกกว่าที่สปป. ลาว
.
5.2 ในแง่การดําเนินธุรกิจดิจิทัล กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนฉบับปรับปรุงปี 2559 แบ่งการลงทุนที่รัฐ ส่งเสริมออกเป็น 9 สาขา โดยมีหลายสาขาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและทันสมัย การวิจัยวิทยาศาสตร์ การค้นคว้าและการพัฒนา การใช้นวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การสร้างโรงพยาบาลทันสมัย และการพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน สาขาธุรกิจที่ไทยมีศักยภาพและเป็นที่ต้องการใน สปป. ลาว ได้แก่ การเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูป สินค้าเกษตร การท่องเที่ยว การออกแบบและการห่อหุ้มผลิตภัณฑ์ และการตลาดจาก e-commerce โดยเฉพาะในแขวงที่มีศักยภาพ เช่น หลวงพระบาง จําปาสัก และสะหวันนะเขต
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์