ตั้งแต่ต้นปี 2563 เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ประสบภาวะถดถอยอย่างหนักในรอบหลายปี เนื่องจากฟิลิปปินส์ประสบปัญหาต่าง ๆ อาทิ การปะทุของภูเขาไฟ Taal ในช่วงต้นเดือน ม.ค. 2563 การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลก และการแพร่ระบาดของ COVID-19 ในฟิลิปปินส์ ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2563 ซึ่งมีจํานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทําให้ฟิลิปปินส์มีจํานวนผู้ติดเชื้อสูงเป็นอันดับต้นๆ ในอาเซียน ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ใน ฟิลิปปินส์ทําให้รัฐบาลฟิลิปปินส์ประกาศใช้มาตรการกักกันชุมชน (ECO/MECQ/GCQ) ใน National Capital Region (NCR) และพื้นที่อื่น ๆ ซึ่งมาตรการดังกล่าวทำให้เกิดการหยุดชะงักของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดําเนินการของภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคการผลิต การเกษตร การท่องเที่ยวและการบริการ การก่อสร้าง และการค้า นอกจากนี้ ในปี 2563 ฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับภัยพิบัติจากพายุไต้ฝุ่นที่มีความรุนแรงต่อเนื่องหลายลูก ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อโครงสร้างพื้นฐานและภาคการเกษตร และซ้ำเติมความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจฟิลิปปินส์
.
โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์ได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับผลกระทบจาก COVID-19 อาทิ แผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 2.71 หมื่นล้านเปโซ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการบรรเทาผลกระทบในด้านเศรษฐกิจ เช่น (1) การช่วยเหลือแรงงาน (2) การเยียวยาธุรกิจการท่องเที่ยว (3) การช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย และ (4) การช่วยเหลือ ธุรกิจขนาดย่อย นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2563 รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้ประกาศบังคับใช้ พ.ร.บ. Bayanihan to Heat as One Act (Bayanihan I) ซึ่งให้อํานาจพิเศษแก่ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในการดําเนินการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดฯ เป็นเวลา 3 เดือน โดยหนึ่งในนโยบายหลักภายใต้ Bayanihan Iคือการจัดสรรงบประมาณ 2 แสนล้านเปโซ เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือครอบครัวที่มีรายได้น้อยจํานวน 18 ล้านครัวเรือน ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการกักกันชุมชน โดยกําหนดให้เงินช่วยเหลือแต่ละครัวเรือนเป็นระยะเวลา 2 เดือน ต่อมา เมื่อ 11 ก.ย. 2563 รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้ออก พ.ร.บ. Bayanihan to Recover as One Act (Bayanihan II) ซึ่งจัดสรรงบประมาณ 1.655 แสนล้านเปโซ เพื่อสนับสนุน COVID-19 response and recovery plan และช่วยเหลือภาคส่วนต่าง ๆ และกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายภายในประเทศ อาทิ (1) การให้เงินกู้แก่ SMEs และธุรกิจจากภาคขนส่ง ภาคการท่องเที่ยว และภาคเกษตร (2) จัดสรร งบประมาณ สําหรับการจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์การทดสอบ COVID-19 และการจัดหายาและวัคซีน (3) จัดสรรงบประมาณสําหรับสร้างสถานพยาบาล และสถานที่กักตัวชั่วคราว (4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของ digital education (5) จัดสรรเงินเยียวยาให้แก่นักเรียนที่ประสบความยากลําบาก และบุคลากรจากภาคการศึกษาที่ตกงาน (6) จัดสรรเงินทุนเพื่อช่วยเหลือแรงงานในต่างประเทศ (OFWs) โดย ณ เดือน พ.ย. 2563 กระทรวงงบประมาณและการจัดการฟิลิปปินส์ (Department of Budget and Management: DBM) ได้จัดสรรเงินให้กับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ แล้ว 8.249 หมื่นล้านเปโซ ทั้งนี้ ยอดการจัดสรรงบประมาณภายใต้ Bayanihan Act I ได้ทําให้ยอดงบประมาณสะสมที่มีการจัดสรรให้กับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ เพื่อรับมือกับ COVID-19 ตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 หรือ ตั้งแต่ พ.ร.บ. Bayanihan ฉบับแรก มีมูลค่ารวมแล้วกว่า 4.7621 แสนล้านเปโซ
.
เมื่อประมวลผลกระทบจากสถานการณ์ต่าง ๆ ที่สะสมมาตั้งแต่ต้นปี 2563 ปัจจุบัน สถานะเศรษฐกิจ ฟิลิปปินส์ เกิดภาวะถดถอยอย่างหนัก โดยสํานักงานสถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ (Philippine Statistics Authority: PSA) รายงานตัวเลข GDP ฟิลิปปินส์ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2563 หดตัวร้อยละ 11.5 จากการขยายตัวร้อยละ 6.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2562 และเป็นการหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ของปี 2563 ที่หดตัวร้อยละ 16.9 โดยภาคธุรกิจหลักที่มีการหดตัวได้แก่ ภาคการก่อสร้าง (ติดลบร้อยละ 39.8) ภาคอสังหาริมทรัพย์ (ติดลบร้อยละ 22.5) และภาคการผลิต (ติดลบร้อยละ 9.7) ในขณะที่ภาคส่วนสําคัญที่มีการเติบโตเชิงบวก 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคการเงินและประกันภัยมีการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 6.2 การบริหารงานราชการ การป้องกันประเทศ และกิจกรรมทางสังคมขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.5 และภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และประมงมีการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในช่วงไตรมาสที่ 4 GDP ฟิลิปปินส์ หดตัวร้อยละ 8.3 ส่งผลให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจฟิลิปปินส์สําหรับปี 2563 อยู่ที่ติดลบร้อยละ 9.5 โดยในไตรมาสที่ 4 ภาคธุรกิจหลักที่มีการหดตัวได้แก่ ภาคการก่อสร้าง (ติดลบร้อยละ 25.3) ภาคบริการอื่น (Other Services) ๆ (ติดลบร้อยละ 45.2) ภาคบริการอาหารและที่พัก (Accommodation and Food Service Activities) (ติดลบร้อยละ 42.7) และสําหรับด้านการใช้จ่าย พบว่าการใช้จ่ายภาคครัวเรือนหดตัวร้อยละ 7.2 ในขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐขยายตัวร้อยละ 4.4 นอกจากนี้ ในภาพรวมของปี 2563 ภาคการส่งออกและนําเข้าของฟิลิปปินส์หดตัวร้อยละ 16.7 และ 21.9 ตามลําดับ และรายได้ปฐมภูมิ (Net Primary Income) และรายได้ประชาชาติ (Gross National Income) สําหรับปี 2563 หดตัวร้อยละ 27.3 และ 11.1 ตามลําดับ
.
ภาคการท่องเที่ยวมีบทบาทสําคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฟิลิปปินส์ (อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวคิดเป็นร้อยละ 12.7 ของ GDP ฟิลิปปินส์ ในปี 2562) รายได้และจํานวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่น ๆ และอัตราการว่างงาน ซึ่ง IMF ค่าดว่าจะสูงขึ้นจากร้อยละ 5.1 ในปี 2562 เป็นร้อยละ 10.4 สําหรับปี 2563 ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวฟิลิปปินส์รายงานว่า รายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2563 มีมูลค่า 8.14 หมื่นล้านเปโซ หดตัวลงถึงร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีมูลค่า 4.82 แสนล้านเปโซ เนื่องจากข้อจํากัดในการเดินทางระหว่างประเทศ ในขณะที่ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติก็ลดลงอย่างมากจาก 8.2 ล้านคน ในปี 2562 เหลือ 1.3 ล้านคนในปี 2563 หรือลดลงร้อยละ 84 (ไม่มีจํานวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศในช่วง เม.ย. – ธ.ค. 63 จากมาตรการห้ามเดินทางเข้าประเทศ)
.
ถึงแม้ฟิลิปปินส์จะเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจ แต่รัฐบาลฟิลิปปินส์ยังคงดําเนินการสานต่อนโยบายหลัก กล่าวคือ นโยบาย Build Build Build (BBB) ของ ประธานาธิบดีดูเตอร์เต โดยหลายโครงการได้ทําการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างประเทศ โดยรัฐบาลฟิลิปปินส์เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนและการสร้างงาน ทั้งนี้ ในปี 2563 รัฐบาลฟิลิปปินส์ได้เพิ่ม 13 โครงการภายใต้นโยบาย BBB โดยโครงการที่เพิ่มเข้ามาทําให้จํานวนโครงการทั้งหมดภายใต้ BBB รวม 105 โครงการ และหนึ่งในโครงการหลักคือการก่อสร้างงานโยธาของโครงการ North-South Commuter Railway Project ในส่วนเหนือจากเมือง Malolos ถึงสนามบิน Clark ซึ่ง บมจ. อิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเมนต์ ชนะการเสนอราคา โดยวิธีการประกวดราคาในสัญญา CP N-03 ซึ่งประกอบด้วยทางวิ่งรถไฟฟ้าแบบยกระดับระยะทางรวมประมาณ 12 กิโลเมตร และสถานีแบบยกระดับจํานวน 2 สถานีสัญญา ทั้งนี้ CP N-03 มีมูลค่างานรวม 15,937,046,813.47 เปโซ หรือประมาณ 13,700 ล้านบาท
.
สําหรับปี 2564 รัฐบาลฟิลิปปินส์ ได้สั่งให้แต่ละหน่วยงานทบทวนและจัดลําดับความสําคัญของโปรแกรม กิจกรรม และโครงการของหน่วยงาน ฯ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการใช้งบประมาณแผ่นดิน ค.ศ. 2021 (National Budget 2021) ซึ่งกําหนดเป้าหมายเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและบรรเทาผลกระทบของ COVID-19 ตลอดจนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุค new normal ภายใต้ theme “Reset, Rebound and Recover: Investing for resiliency and sustainability” โดยกระทรวงงบประมาณและการจัดการ ฟิลิปปินส์ (DBA) ได้รับการอนุมัติงบประมาณแผ่นดิน 4.335 ล้านล้านเปโซ เทียบเท่ากับร้อยละ 20.2 ของ GDP และสูงกว่างบประมาณแผ่นดินปี 2563 ที่ 4.180 ล้านล้านเปโซ ซึ่งจะให้ความสําคัญในลำดับสูงกับโครงการที่เสริมสร้างระบบสาธารณสุข ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร ปรับปรุงระบบดิจิทัลสําหรับภาครัฐและส่งเสริม digital economy และช่วยเหลือชุมชนในการปรับตัวเข้าสู่ยุค new normal โดยมีรายละเอียด ดังนี้
.
1. การเสริมสร้างระบบสาธารณสุข – จัดตั้งสถานบริการด้านสุขภาพ จัดซื้ออุปกรณ์ โรงพยาบาลที่จําเป็นเริ่มด้วยชุดตรวจและวัคซีน จัดสรรเงินสําหรับการปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือกับ COVID-19 และโรคติดเชื้ออื่น ๆ และการดําเนิน Universal Health Coverage
2. การส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร – ปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นใจว่าการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการทางการเกษตรจะเป็นไปอย่างราบรื่นและต่อเนื่อง ตลอดจนเพิ่มการจัดหา เครื่องจักรและอุปกรณ์สําหรับเกษตรกรและสถานประกอบการทางการเกษตรเพื่อให้ทันสมัย (modernization)
3. การปรับปรุงระบบดิจิทัลสําหรับภาครัฐและเพื่อส่งเสริม digital economy – เร่งการนำระบบ Identification System ของฟิลิปปินส์มาใช้ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ Social transfer programs จากรัฐบาลให้กับประชาชน นอกจากนี้รัฐบาลฟิลิปปินส์จะสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ของกระทรวงสารสนเทศ การสื่อสาร และเทคโนโลยี (Department of Information and Communications Technology: DICT) โดยการลงทุนในระบบ ICT platforms และ e-learning และเพิ่มทักษะด้านดิจิทัลที่สําคัญต่อการปฏิบัติงานของรัฐบาลในรูปแบบออนไลน์และจากทางไกล
.
นอกจากนี้ ในการใช้งบประมาณปี 2564 รัฐบาลฟิลิปปินส์จะให้ความสําคัญกับการช่วยเหลือ SMEs ผ่าน SME Resiliency Program และการขยาย Shared Service Facilities และ Regional Inclusive Innovations Centers และเพื่อเป็นกรอบสําหรับทุกหน่วยงานต่าง ๆ คณะทํางาน Inter-Agency Task Force Technical Working Group for Anticipatory and Forward Planning (IATF-TWG for AFP) ได้ออกรายงาน We Recover as One ซึ่งระบุรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางการบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 และแนวทางการช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและเข้าสู่ยุค new normal ของฟิลิปปินส์ในปี 2564
.
ทั้งนี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์มีเป้าหมายที่จะใช้งบประมาณในการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ภายใต้นโยบาย BBB เพื่อช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยคาดว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สูงขึ้นจะสร้างงาน และช่วยเพิ่มการเติบโตของ GDP ในปี 2564 ได้ร้อยละ 0.9 รวมทั้งมีเป้าหมายที่จะลงทุน 1.131 ล้านล้านเปโซ เพื่อเร่งดําเนินโครงการ public infrastructure ต่าง ๆ ในช่วง 2564 2565 ให้แล้วเสร็จ คาดว่าโครงการฯ จะสร้างงานเพิ่ม 140,000 – 220,000 หน่วย (ผ่านการจ้างงานทั้งทางตรงและทางอ้อม) อีกด้วย
.
ในปี 2564 นี้ รัฐบาลฟิลิปปินส์ คาดว่าเศรษฐกิจฟิลิปปินส์จะกลับมาเติบโตในอัตราร้อยละ 6.5 – 7.5 เนื่องจากรัฐบาลได้เตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การดําเนินนโยบาย Make It Happen in the Philippines เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ตลอดจนการจัดสรรงบประมาณ 4.85 แสนล้านเปโซ ภายใต้ พ.ร.บ. Bayanihan เพื่อสนับสนุน post-disaster relief และ pandemic recovery อย่างไรก็ตาม World Bank คาดว่า GDP ฟิลิปปินส์ สําหรับปี 2564 อาจเติบโตได้มากที่สุด ร้อยละ 5.9 โดยปัจจัยสําคัญที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ คือ การกลับมาดําเนินการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของธุรกิจต่าง ๆ และการเพิ่มขึ้นของการบริโภคภาคครัวเรือน เนื่องจากฟิลิปปินส์เป็น Consumer driven economy
.
สำหรับประเทศไทย มีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศกับฟิลิปปินส์ในเดือน ม.ค. – พ.ย. 2563 อยู่ที่ 7,301.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 22.10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 9,372.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.83 ของมูลค่าการค้ารวมของไทย โดยการส่งออกจากไทยไปฟิลิปปินส์ ในเดือน ม.ค. – พ.ย. 2563 มีมูลค่า 4,591.28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 28.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีมูลค่า 6,442.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.17 ของการส่งออกไปทั่วโลก ในขณะเดียวกัน การนําเข้าจากฟิลิปปินส์ ในเดือน ม.ค. – พ.ย. 2563 มูลค่า 2,71
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา