บริษัท Frost and Sullivan รายงานว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในดูไบและภูมิภาค GCC เป็นอุตสาหกรรมที่มีอนาคตสดใสภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว โดยเฉพาะยูเออีมูลค่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ สูงถึง 22 พันล้านดีแรห์ม (ประมาณ 2 แสนล้านบาท) ซึ่งคิดเป็น 139% ของเศรษฐกิจยูเออี โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีข้างหน้า ธุรกิจ E-commerce อยู่ในภาวะเฟื่องฟูและการค้าข้ามพรมแดนจํานวนมากจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดี และเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ธุรกิจโลจิสติกส์ใน GCC กําลังเติบโตอย่างรวดเร็วเนื่องจากธุรกิจที่ไม่ใช่ภาคน้ํามันของ GCC กําลังมีบทบาทและเติบโตมาก ขึ้นใน GCC โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจเสรี และนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ จํานวนมากในภูมิภาคฯ และการเพิ่มความร่วมมือทางการค้าต่างๆ ในภูมิภาค ทําให้อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตถึง 4.3% ในช่วง 5 ปีข้างหน้าระหว่างปี 2020-2025 และรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ใน GCC กําลังดําเนินนโยบายที่จะลดการพึ่งพาการส่งออกน้ํามันลง โดยมีมาตรการทางเศรษฐกิจที่จะทําให้ธุรกิจ เติบโตหลากหลายด้าน การปฏิรูประบบภาษี การปรับปรุงบรรยากาศในการลงทุนให้ดีขึ้น การเพิ่มการลงทุนด้านความ มั่นคงของอาหาร และการเชิญชวนให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนมากขึ้น ซึ่งจากรายงานในช่วงเศรษฐกิจล็อคดาวน์จากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งมีการจํากัดการเดินทางและการเคลียร์สินค้าทางศุลกากร ทําให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เติบโตลดลง มากในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 แต่การเปลี่ยนแปลงโดยระบบเศรษฐกิจดิจิตัล และการใช้ระบบสื่อสารโทรศัพท์ 5G และการใช้ AI และความมั่นคงทางไซเบอร์ ทําให้ระบบนิเวศน์ทางโลจิสติกส์ในภูมิภาคนี้เติบโตได้ดี ซึ่งนาย Geoff Walsh ผู้จัดการบริษัท DHL Express UAE ระบุว่าอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในดูไบ/ยูเออี กําลังเติบโตสูงมากโดยเฉพาะการเติบโตของกิจกรรม e-commerce ขณะที่นาย Shallesh Dash นักการเงินและผู้ประกอบการในยูเออีกล่าวว่า อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในยูเออียังคงเติบโตสูงมาก แม้จะมีปัญหาจากการระบาดของโควิด-19 ก็ตาม แต่การใช้เทคโนโลยีดิจิตัลของยูเออี ได้ช่วยเพิ่มมูลค่าห่วงโซ่อุปทานในยูเออีได้มากขึ้น และเร็วขึ้นทําให้ธุรกิจนี้ของยูเออีเติบโตได้สูงขึ้น
.
สําหรับปัจจัยในการเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์ในภูมิภาค ได้แก่ 1) การเติบโตของธุรกิจในภาคที่มิใช่น้ํามัน 2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 3) การเติบโตของเขตเศรษฐกิจเสรีและนิคมอุตสาหกรรม 4) การค้าข้ามพรมแดนกําลังเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย 5) การบูมของธุรกิจ E-commerce ใน GCC ส่วนปัจจัยที่ท้าทายการเติบโตในภาคนี้ได้แก่ 1) การชะงักของห่วงโซ่อุปทาน 2) การล็อคดาวน์ของ ปท. ทั้งหมดหรือบางส่วน 3) ข้อจํากัดในการเดินทาง 4) การเคลียร์สินค้าที่ช้าลง เนื่องจากการล็อคดาวน์ 5) การเปลี่ยนแปลงในระบบดิจิตัล ซึ่งต้องทําอย่างรวดเร็ว โดยในภูมิภาค GCC รัฐบาลในแต่ละประเทศกําลังพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ของตนอย่างรวดเร็ว โดยพัฒนาการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทั้งในระดับประเทศและเป็นจุดผ่านแดนของสินค้าไปยังประเทศ ต่างๆ โดยเฉพาะการพัฒนาเขตเศรษฐกิจเสรีของภูมิภาคฯ การเพิ่มการค้าระหว่างกันและการขยาย ธุรกิจ E-commerce โดยมีการออกใบอนุญาตให้ธุรกิจ E-commerce ในประเทศและภูมิภาค GCC จํานวนมาก เนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศเหล่านี้ได้หันไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ทําให้มีการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ E-Commerce ในภูมิภาคนี้มีสูง ทั้งนี้ Dubai Commerce City ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการซื้อขายออนไลน์ของโลกและภูมิภาค ทั้งสินค้า ท้องถิ่น/ภูมิภาคและสินค้าในระดับโลก ซึ่งนาย Geoff Walsh ยังกล่าวว่ายิ่งใกล้งาน Expo 2020 ที่ดูไบเดือน ต.ค. ปีนี้ และแผนพัฒนาอุตสาหกรรมของ UAE 2030 ธุรกิจ E-commerce และระบบห่วงโซ่อุปทานในยูเออีกําลังเติบโตอย่าง แข็งแกร่งมาก โดยเฉพาะในประเทศ GCC เอง ได้มีการโฟกัสในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของตัวเองและโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ขึ้นมาก เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคตและธุรกิจโลจิสติกส์ของยูเออีจะเป็นผู้นําในภูมิภาคนี้ (โดยเฉพาะดูไบ) ด้วยความได้เปรียบของการมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยอดเยี่ยม และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนโยบายของรัฐบาลที่เอื้ออํานวยต่อการเติบโตและการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงสร้างพื้นฐานของท่าเรือ Khalifa Port ท่าเรือ Duam Port ของโอมาน ท่าเรือ Jizan Port ของซาอุดีอาระเบีย และท่าเรือ Mubarak AL Kabeer ของคูเวต ทําให้การเชื่อมโยงในภูมิภาคนี้เป็นไปได้ดีขึ้น เขต AL Khomra Logistics Zone ใน Jeddah Port ก็จะเป็น 1 ในเขตโลจิสติกส์ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
.
นาย Dash ยังได้ระบุว่า การที่ดูไบ/ยูเออี เป็นจุดขนส่งวัคซีนโควิด-19 ที่สําคัญของโลก ยังทําให้ธุรกิจที่เก็บรักษาความเย็นจะเติบโตขึ้นอีกได้มาก ซึ่งธุรกิจนี้ในยูเออีจะเพิ่มการใช้ AI และหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมนี้อีกมาก ทําให้ห่วงโซ่อุปทานมีความสามารถในการแข่งขันและปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ทําให้ธุรกิจในปี 2021 และหลังจากนั้นจะเติบโตอีกสูงมาก ขณะที่ นาย M. Sikunder, CEO ของ Sitius Logistic Solutions ระบุว่า ในปี 2021 ระบบโลจิสติกส์แบบ Direct to Consumer (D2C) และ Direct to Retail (D2R) จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากโดยจะทําให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดต้นทุนและเร่งรัดเวลาถึงผู้บริโภคหรือผู้ขายปลีกได้รวดเร็วขึ้น โดยสินค้าจากทั่วโลกจะข้ามแดนจัดส่งถึงที่ต่างๆ อย่างไร้รอยต่อ เป็นต้น
.
การระบาดของโรคโควิด-19 เป็นตัวเร่งสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ซึ่งการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ผ่านเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์เป็นอีกหนี่งเทรนด์ที่น่าจับตามองอย่างมาก โดยผู้ประกอบการไทยสามารถนำโมเดลการปรับโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญนี้ไปต่อยอด เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทย โดยเฉพาะ E-commerce ซึ่งประเทศไทยมีผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเป็นต้นทุนเดิมอยู่แล้ว
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ