ปัจจุบันกว่า 100 ประเทศทั่วโลกมีการเพาะปลูกส้มสะดือ (Navel Orange) โดยประเทศที่มีการปลูกส้มสะดือได้ปริมาณมากเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ จีน สหรัฐฯ และบราซิล สําหรับประเทศจีน เมืองก้านโจวขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งส้มสะดือของโลก” โดยก้านโจวเป็นเมืองที่มีสภาพภูมิอากาศและดินที่เหมาะสมกับการปลูกส้มสะดือมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน รวมทั้งได้พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ก้าวหน้า โดยเฉพาะที่อําเภอซิ่นเฟิง ซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็น “แหล่งกําเนิดของส้มสะดือก้านหนาน” และ “เมืองแห่งส้มสะดือของจีน” โดยส้มสะดือที่ผลิตจากอําเภอซิ่นเฟิง ได้รับสมญานามว่าเป็น “ราชาแห่งส้ม” และ “ส้มอันดับ 1 ของจีน” ในปี 2562 เมืองก้านโจวมีพื้นที่การปลูกส้มทั้งหมดกว่า 891,666 ไร่ ปริมาณการผสีตกว่า 1.54 ล้านตัน ในจํานวนนี้ มีพื้นที่การปลูกส้มสะดือกว่า 679,166 ไร่ สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก และมีปริมาณการผลิตกว่า 1.25 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณการผลิตทั่วจีน สูงเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสเปนและ สหรัฐฯ ขณะที่อําเภอซิ่นเฟิงมีพื้นที่การปลูกส้มทั้งหมดกว่า 83,333 ไร่ มีปริมาณการผลิตกว่า 200,000 ตันต่อปี มูลค่าการผลิตกว่า 2 พันล้านหยวน
.
อุตสาหกรรมการผลิตส้มสะดือเป็นปัจจัยสําคัญในการส่งเสริมให้เกษตรกรหลุดพ้นจากความยากจน โดยในปี 2562 อุตสาหกรรมส้มสะดือสร้างรายได้ทั้งหมดกว่า 1.32 หมื่นล้านหยวน สร้างรายได้ให้กับผู้เพาะปลูกกว่า 700,000 คน ส่งเสริมการจ้างแรงงานกว่า 1 ล้านคน รายได้จากส้มสะดือคิดเป็นร้อยละ 85 ของรายได้ทั้งหมดของชาวสวนผลไม้ ปัจจุบัน ส้มสะดือของเมืองก้านโจวถูกส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ อาทิ รัสเซีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย คาซัคสถานและอินโดนีเซีย นอกจากนี้ อุตสาหกรรมส้มสะดือ ยังส่งเสริมการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้องของเมืองก้านโจว อาทิ ต้นกล้า การผลิตการเพาะเลี้ยงสัตว์ การคัดแยก บรรจุภัณฑ์ การแปรรูป การขนส่ง การผลิตเครื่องจักร และการท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคมของปี 2563 รัฐบาลออกมาตรการ “ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม การเกษตรสีเขียวอย่างมีคุณภาพสูง” โดยส่งเสริมการผลิตข้าว สุกร ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ํา และผลไม้ให้มีมูลค่าทะลุ 5 แสนล้านหยวน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส้มสะดือก้านหนาน ข้าว ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ําทะเลสาบเผอหยาง และใบชา รวมทั้งตั้งเป้าหมายการขยายพื้นที่การปลูกส้มสะดือให้ได้ 833,333 ไร่ ภายในปี 2568
.
ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์เห็นว่า แนวโน้มข้างต้นเป็นการส่งสัญญาณว่าประเทศไทยอาจต้องเตรียมรับมือกับปริมาณ ผลไม้นําเข้าจากจีนที่จะเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก เกษตรกรไทยควรต้องเร่งพัฒนาสินค้าเกษตรคุณภาพเพื่อให้ สามารถแข่งขันกับภาคการเกษตรของจีนที่มีทั้งเทคโนโลยีและกําลังการผลิตมหาศาลที่จะพร้อมจะส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ
.
สถาณกงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน