เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 14 ม.ค. 2564 (เวลาสหรัฐฯ) นายไบเดนได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชื่อ “American Rescue Plan” วงเงิน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะช่วยเหลือภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจให้สามารถรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
.
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่
.
1. การแก้ปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จํานวน 400,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ โครงการวัคซีนแห่งชาติภายใต้ความร่วมมือกับรัฐ การให้เงินสนับสนุนการตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 การสนับสนุนงบประมาณฉุกเฉินสําหรับผู้ที่พักจากการทํางาน การช่วยเหลือโรงเรียนและสถานศึกษา และการช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์
.
2. การสนับสนุนโดยตรงไปยังครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ จํานวน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และอื่น ๆ ได้แก่ (1) การขยายวงเงินการส่งเช็คเงินสดเพื่อช่วยเหลือประชาชน จากเดิม 600 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 2,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยจ่ายเพิ่มอีก 1,400 ดอลลาร์สหรัฐจากที่จ่ายไปก่อนนี้ (2) การเพิ่มวงเงินช่วยเหลือคนตกงาน จากเดิม 400 ดอลลาร์สหรัฐ/สัปดาห์ เป็น 400 ดอลลาร์สหรัฐ/สัปดาห์) และให้ขยายโครงการช่วยเหลือไปจนถึงสิ้นเดือน ก.ย. 2564 (3) ขยายการคุ้มครองผู้ที่ถูกขับไล่ออกจากที่อยู่อาศัย (4) การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ํา (จาก 7.25 ดอลลาร์สหรัฐ/ชม. เป็น 15 ดอลลาร์สหรัฐ/ชม.) (5) การขยายวงเงินค่าลดหย่อนบุตรเป็น 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
.
3. การสนับสนุนชุมชนและธุรกิจขนาดเล็ก จํานวน 440,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ การให้เงินช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก รัฐบาลท้องถิ่น หน่วยงานด้านการขนส่ง และรัฐบาลชนเผ่าต่าง ๆ (tribal governments)
.
ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการดังกล่าวน่าจะได้รับการอนุมัติในสภาผู้แทนราษฎรฯ ซึ่งต้องการคะแนนเสียง 218 คะแนนเสียง (พรรคเดโมแครตมี ส.ส. จํานวน 222 เสียง) อย่างไรก็ตาม นายไบเดนอาจต้องพยายามผลักดันให้มาตรการดังกล่าวผ่านการรับรองในวุฒิสภา ซึ่งการผ่านมาตรการดังกล่าวจําเป็นต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างต่ํา 50 เสียง เพื่อป้องกันการถูก fibuster (การให้ความเห็นในสภาเพื่อประวิงเวลา) ซึ่งพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันจะมี คะแนนเสียงเท่ากันที่ 50-50 ทําให้นายไบเดนจําเป็นต้องพึ่งเสียงจากพรรครีพับลิกันอย่างน้อย 10 เสียงในการผ่าน มาตรการดังกล่าว หรือนายไบเดนสามารถที่จะผ่านมาตรการดังกล่าวโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “budget reconciliation” ซึ่งจะช่วยให้วุฒิสภาผ่านมาตรการดังกล่าวได้ด้วยคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งก็เพียงพอ ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่พรรครีพับลิกันใช้ผ่านกฎหมายการปฏิรูปภาษีครั้งใหญ่เมื่อปี 2560 หรือ ปธน. โอบามาใช้ผ่านกฎหมาย Obamacare เมื่อปี 2563 ทั้งนี้ นาง Nancy Pelosi ประธานสภาผู้แทนฯ และนาย Chuck Schumer ผู้นําวุฒิสมาชิกเสียงข้างน้อยได้แสดงท่าที่พร้อมสนับสนุนมาตรการดังกล่าวแล้ว
.
หากได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรส มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากผลกระทบจากโรคโควิด-19 จะถือเป็นมาตรการระยะที่ 3 ของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยก่อนนี้ สภาคองเกรสได้เห็นชอบมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจจํานวน 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเดือน มี.ค. 2563 และจํานวน 900,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเดือน ธ.ค. 2563
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการไทยควรติดตามมาตรการและนโยบายด้านการต่างประเทศของ ปธน. ไบเดนของสหรัฐฯ ด้วย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการวางแผนธุรกิจและการลงทุนกับสหรัฐฯ
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน