โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการถดถอยของภาคอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอัตราการจ้างงานที่ลดลง ในขณะที่ต้นทุนที่เกิดจากโควิค-19 มีสูงมากทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยธนาคารกลางสวีเดนกําหนดต้นทุนทางตรง ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าประกันการเจ็บป่วย ค่าติดตามการแพร่ระบาด และผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ และการเสียชีวิตซึ่งประเมินเป็นมูลค่าไม่ได้ ส่วนต้นทุนทางอ้อมคือผลกระทบต่อ ระบบเศรษฐกิจในภาพรวม ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่มีมูลค่าสูงมากกว่าต้นทุนทางตรงมาก เช่น การลดโอกาสการนํางบประมาณไปลงทุนในบริการสาธารณะหรือเพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาครัฐ หรือลดภาษี เพราะต้องนํางบประมาณไปใช้แก้ปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาด รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากต้นทางการผลิตที่ส่งผลต่อภาคอุตสาหกรรม ซึ่งทั้งหมด ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศ นอกจากนี้ หากปล่อยให้การแพร่ระบาดทิ้งระยะเวลานานมากขึ้น ผลกระทบและต้นทุนที่ตามมาจะยิ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น
.
จากการประเมินต้นทุนทางเศรษฐกิจของประเทศพบว่า ค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อรองรับมาตรการทางเศรษฐกิจช่วงโควิด-19 ในปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 4 ของ GDP หรือเฉลี่ยเดือนละ 5-6 หมื่นล้านบาท ซึ่งในทางเดียวกันก็ก่อให้เกิด หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นด้วย ส่งผลกระทบต่อ GDP ซึ่งตกเฉลี่ยลดลงจากการประมาณการของธนาคารกลางสวีเดนก่อนการแพร่ระบาดโควิด-19 เดือนละ 4.1 หมื่นล้านบาท รวมไปถึงต้นทุนที่เกิดจากภาวะว่างงาน โดยประเมินว่า ในช่วงโควิด-19 มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นถึง 130,000 คน
.
โดยธนาคารกลางสวีเดนคํานวณว่าการเริ่มต้นฉีดวัคซีนป้องกันโควิดสําเร็จเร็วขึ้น 1 เดือน จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศมากขึ้น เพราะผลของเศรษฐกิจประเทศตอนนี้อยู่บนพื้นฐานของการฉีดยา และความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มให้ประชาชนได้สําเร็จ รวมไปถึงการเร่งฉีดวัคซีนในอัตราที่ใกล้เคียงกันในต่างประเทศ เนื่องจากเศรษฐกิจสวีเดนพึ่งพาการส่งออกเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 45 ของ GDP ซึ่งเมื่อการแพร่ระบาดลดลง ธนาคารกลางสวีเดนประเมินว่าจะต้องใช้เวลาประมาณเดือนกว่าเพื่อให้ GDP ต่อเดือนกลับสู่สภาวะก่อนการแพร่ระบาด ซึ่งหมายความว่า การลงทุนในการฉีดวัคซีนแก่ประชาชนทั่วประเทศ ยิ่งทําได้เร็วจะสามารถยุติการแพร่ระบาดได้และจะสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่สวีเดนประมาณ 4.5 หมื่นล้านถึง 1.2 แสนล้านต่อเดือน และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลงถึง 5-6 หมื่นล้านต่อเดือน เพิ่มอัตราการจ้างงานกว่า 130,00 อัตรา และช่วยลดการขยายตัวของหนี้สาธารณะ
.
รัฐบาลสวีเดนได้จัดสรรงบประมาณจํานวน 1.2 พันล้านโครนาสวีเดน (Swedish krona) หรือประมาณ 3.5 พันล้านบาทไทย เพื่อซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 จาก 5 บริษัท ได้แก่ Astra Zeneca, Janssen Pharmaceutical (Johnson & Johnson), Pfizer and Biontech, และ Moderna สําหรับการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนทุกคนในประเทศจํานวนประมาณ 10 ล้านคน รวมทั้งคนต่างชาติที่มีถิ่นพํานักในสวีเดนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย โดยจะเริ่มการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 28 ธ.ค. 2563 ซึ่งมีการประเมินว่าจะเริ่มเห็นผลจากการสร้างภูมิคุ้มกันประมาณเดือน พ.ค. 2564
.
ในกรณีของประเทศไทย การจัดซื้อวัคซีนและการดําเนินการฉีดวัคซีนอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงรวดเร็วให้กับประชาชนไทยและคนต่างชาติที่พํานักในไทยจะช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาสู่ภาวะปกติได้เร็วขึ้น โดยจะสามารถช่วยลดต้นทุนผลกระทบของโควิด-19 ทั้งทางตรงและทางอ้อมได้เช่นกัน
.
สอท. ณ กรุงสตอกโฮล์ม