แม้ว่าภาคอุตสาหกรรมยานยนต์จะเป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา แต่นักวิเคราะห์หลายรายยังคาดการณ์ว่าภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีอุปสงค์เพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ในปี 2564 และร้อยละ 24 ในปี 2565 โดยในปี 2564 ปริมาณการซื้อ-ขายจะขยายตัวที่ร้อยละ 35 ทั้งนี้ นาย Sabir Shaikh ปธ. Association of Pakistan Motorcycle Assemblers (APMA) กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2564 ภาคอุตสาหกรรมฯ มีการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว และในช่วงที่ผ่านมา มีการสั่งผลิตรถจักรยานยนต์เป็นจํานวนมากที่สุดในประวัติการณ์ โดยเฉพาะหลังจากการยกเลิกมาตรการ lockdown (ตั้งแต่ พ.ค. 2563)
[su_spacer]
การบังคับใช้มาตรการ lockdown ในประเทศเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทําให้ประชาชนเริ่มเรียนรู้และใช้วิธีซื้อ – ขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ รถลาก รถแทรกเตอร์ และชิ้นส่วนยานยนต์ทั้งมือหนึ่งและมือสองผ่านทางเวปไซต์อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น โดยในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา การซื้อ-ขายรถยนต์ผ่านระบบออนไลน์มีมูลค่าถึง 6.1 หมื่นล้านรูปีฯ (ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท) ทั้งนี้ หมวดยานยนต์ยังถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มโฆษณาออนไลน์ที่ได้รับความนิยม มากที่สุดเป็นลําดับที่ 2 ในปากีสถานโดยมีการโฆษณาในหมวดดังกล่าวมากกว่า 100,000 ครั้ง/วัน
[su_spacer]
ที่ผ่านมา ยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์เป็นสินค้าส่งออกลําดับ 1 จากไทยไปยังปากีสถาน โดยในปี 2560 มีมูลค่าการส่งออก 381.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้นร้อยละ 50 จากปีก่อนหน้า ในปี 2561 มีมูลค่า 403.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เติบโตขึ้นร้อยละ 5.75 ในปี 2562 มีมูลค่า 266.8 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงร้อยละ 33.89 และในปี 2563 (ม.ค. – มิ.ย./ช่วงโควิด) มีมูลค่า 79.39 ล้านดอลลาร์ฯ หดตัวลงร้อยละ 55.15 จากมูลค่า 177.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2562 รัฐบาลปากีสถานออกนโยบายลดการนําเข้าและเพิ่มการส่งออกเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดดุลทางการค้า โดยตั้งกําแพงภาษีและข้อจํากัดการนําเข้าสินค้าทุกประเภท โดยเฉพาะสินค้าที่มิใช่ประเภทวัตถุดิบเพื่อการส่งออก ทําให้ตั้งแต่ปี 2562 มูลค่าการส่งออกยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์จากไทยไปยังปากีสถานเริ่มลดน้อยลง กอรปกับสถานการณ์โควิดที่ ส่งผลให้เกิดข้อจํากัดด้านการขนส่ง ทําให้ในปี 2563 ปริมาณการส่งออกสินค้าประเภทนี้ลดลงอย่างมาก
[su_spacer]
ราคารถยนต์ในปากีสถานมีอัตราค่อนข้างสูง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น อินเดีย และจีน เนื่องจาก ปัจจุบัน ปากีสถานยังไม่มีเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานในการผลิตรถยนต์ที่ดีทําให้ยังต้องพึ่งพาการนําเข้าทั้งรถยนต์ และส่วนประกอบหรืออะไหล่เพื่อใช้ในการประกอบรถยนต์ในประเทศซึ่งการนําเข้าสินค้าประเภทนี้มีอัตราภาษีที่สูงมาก โดยเฉพาะในรัฐบาลปัจจุบันที่เพิ่มมูลค่าภาษีนําเข้าและสร้างอุปสรรคอื่น ๆ ตั้งแต่เข้ารับตําแหน่งในปี 2561 รวมทั้ง การผลิต และการจัดส่งให้แก่ผู้ขายในปากีสถานมีกระบวนการหลายขั้นตอน ทําให้ใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งผลให้ราคารถยนต์ในประเทศมีมูลค่าสูงขึ้นอีก นอกจากนี้ ปากีสถานยังไม่มีระบบการซื้อ-ขายรถยนต์มือสองที่ได้มาตรฐาน ยังไม่มีการกําหนดราคากลางของรถยนต์มือสองในแต่ละรุ่น ทําให้การซื้อด้วยวิธีนี้ยังมีความเสี่ยงที่อาจถูกผู้ขายหรือนายหน้าเอาเปรียบได้
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัด เห็นว่า อุปสงค์ด้านยานยนต์ที่มีมากขึ้นในปากีสถานเกิดจากปัญหาและข้อจํากัดด้านการเดินทาง ทําให้ประชาชนที่ไม่มียานพาหนะไม่สามารถเดินทางได้อย่างสะดวก โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่อยู่ห่างไกล กอรปกับการที่รัฐบาลประกาศว่า ในอนาคตรัฐบาลอาจต้องกลับมาบังคับใช้มาตรการ lockdown อีก หากสถานการณ์โควิดในประเทศเลวร้ายลง โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาวที่กําลังมาตั้งแต่ปลาย ต.ค. เป็นต้นไป ที่อาจเกิด Second wave ได้ ทั้งนี้ รัฐบาลอ้างว่าปัจจุบันสามารถควบคุมสถานการณ์โควิดได้แล้ว อย่างไรก็ตาม ประชาชนจึงต้องการที่จะมียานพาหนะเอาไว้ในครอบครองเพื่อที่จะสามารถดํารงชีพได้ด้วยการพึ่งพาตนเอง
[su_spacer]
ปัจจุบัน ไทย-ปากีสถานอยู่ในระหว่างการจัดทําข้อตกลงเสรีทางการค้า (PATHFTA) ซึ่งได้มีการเจรจาไปแล้วทั้งสิ้น 9 รอบ และรอบที่ 10 จะเกิดขึ้นในปากีสถาน โดยประเด็นเกี่ยวกับการเข้าถึงตลาดภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในปากีสถานยังคงอยู่ในระหว่างการเจรจา ซึ่งหากการเจรจาสามารถบรรลุข้อตกลงในข้อนี้ได้ คาดว่าจะส่งผลให้ปริมาณการค้าระหว่างสองประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล โดยสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอิสลามาบัดประเมินว่าปากีสถานจะยังคงพึ่งพาการนําเข้าทั้งรถยนต์และส่วนประกอบ/อะไหล่รถยนต์ในช่วงอนาคตอันใกล้ เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมประเภทนี้ของปากีสถานยังต่ำกว่ามาตรฐานอยู่มาก กรอปกับยังไม่มี แนวโน้มที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาล ประชาชน ปากีสถานทั่วไปยังมีทัศนคติที่ไม่ไว้ใจในคุณภาพรถยนต์ที่ประกอบในประเทศตนเอง เช่น รถยนต์ Ford รุ่น United Bravo ที่ผลิตในปากีสถานมีราคาถูกแต่ไม่ได้รับความนิยม นอกจากนี้ คนปากีสถานยังมีค่านิยมที่ต้องการใช้รถยนต์นําเข้าที่มีราคาสูงเพื่อแสดงถึงสถานะที่ดีทางสังคม ทั้งนี้ ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาสินค้าใด ๆ ที่ได้รับการผลิตจากประเทศไทยถือเป็นสินค้าที่มีคุณภาพในสายตาชาวปากีสถานเมื่อเทียบคุณภาพกับจีนและอินเดีย
[su_spacer]
อนึ่ง ทางการมาเลเซียเคยประกาศว่า บริษัท Proton ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติมาเลเซียจะเริ่มจําหน่าย รถยนต์ยี่ห้อ Proton ในปากีสถานในช่วงต้นปี 2564 โดยบริษัทดังกล่าวได้ลงนามความตกลงและร่วมลงทุนกับปากีสถาน ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 800 – 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2562 ระหว่างการเยือนปากีสถานของ นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย จากนั้น ทั้งสองฝ่ายได้แถลงการณ์ร่วมยืนยันในเรื่องนี้อีกครั้งในช่วงการเยือนมาเลเซียของนายกรัฐมนตรี Imran Khan เมื่อเดือน ก.พ. 2563 อย่างไรก็ตาม จากการสอบถามนักการทูตมาเลเซียในกรุงอิสลามบัดทราบว่า ในปี 2564 มาเลเซียยังไม่สามารถผลิตและจําหนายรถยนต์ Proton ในปากีสถานได้เพราะยังมีกระบวนการต่าง ๆ ติดค้างอีกมากมายและหยุดชะงักไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19
[su_spacer]