เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันข้อมูลของวิทยาลัยสังคมศาสตร์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Academy of Social Sciences) ได้เปิดเผยรายงานตัวชี้วัดการเปิดกว้างทางข้อมูลของเมืองสำคัญระดับโลก ประจำปี 2563 (2020 Open Data Index of Global Important Cities) ซึ่งนครกุ้ยหยางอยู่ในลำดับที่ 6 ตามหลังเซี่ยงไฮ้ นิวยอร์ก โซล ปักกิ่ง และชิคาโก
[su_spacer]
นครกุ้ยหยางนับเป็นเขตการปกครองระดับเมืองแห่งแรกของจีนที่มีแพลตฟอร์มเผยแพร่ข้อมูลของรัฐบาลแบบบูรณาการ โดยกุ้ยหยางได้จัดประเภทของข้อมูลตามประเภทหัวเรื่อง อุตสาหกรรม พื้นที่ การให้บริการ และหน่วยงาน รวมถึงยังเป็นเมืองแรกของจีนที่ประยุกต์ใช้ระบบหุ่นยนต์ในการให้ความช่วยเหลือประชาชนขณะตรวจสอบ ค้นหา และดาวน์โหลดข้อมูลบนแพลตฟอร์มเผยแพร่ข้อมูลของรัฐบาล นอกจากนี้ แพลตฟอร์มดังกล่าวของกุ้ยหยางยังให้บริการข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งแผนภาพ แผนที่ รวมถึงรายการชุดข้อมูลสรุปสำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ตลอดจนบริการอื่น ๆ ซึ่งสามารถจัดสรรและให้บริการข้อมูลตามความต้องการเฉพาะของประชาชน
[su_spacer]
จนถึงขณะนี้ แพลตฟอร์มเผยแพร่ข้อมูลของนครกุ้ยหยางเปิดให้ประชาชนเข้าใช้งานชุดข้อมูลจำนวน 2,722 ชุด รวมถึงแอปพลิเคชันที่เกี่ยวข้องอีก 387 รายการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยมีสถิติการเข้าชมรวม 2,730,000 ครั้ง การดาวน์โหลดข้อมูล 840,000 ครั้ง และจำนวนผู้ติดตามทางสื่อสังคม WeChat 22,000 ราย รวมถึงยังสนับสนุนข้อมูลสำหรับแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือมากกว่า 20 รายการที่ครอบคลุมตั้งแต่ด้านการขนส่ง การท่องเที่ยว อาหาร รวมทั้งการเสนอราคาและการประมูลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
[su_spacer]
รายงานฉบับนี้ระบุว่า นครกุ้ยหยางมีจุดแข็งจากการสนับสนุนทางนโยบาย ความตกลงด้านใบอนุญาต ข้อกำหนด การจัดการ รวมทั้งการดำเนินการเปิดกว้างทั้งในระดับเทศบาลและเขต ที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาการเปิดกว้างทางข้อมูลของเมืองในภาพรวม
[su_spacer]
อนึ่ง การจัดทำรายงานดังกล่าวของวิทยาลัยสังคมศาสตร์เซี่ยงไฮ้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยเหลือภาครัฐในการพัฒนาการเปิดกว้างทางข้อมูลแม้จะมีทรัพยากรอย่างจำกัด รวมถึงสร้างกลไกอย่างยั่งยืนในการส่งเสริมการประยุกต์ใช้ข้อมูลที่เปิดกว้างเพื่อสร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่ม
[su_spacer]
ที่มา: http://www.eguiyang.com.cn/2020-07/20/content_37537993.htm
[su_spacer]