เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563 รัฐบาลฮ่องกงและผู้ว่าราชการ มณฑลกวางตุ้ง ได้เปิดจุดผ่านแดนเหลียนถัง/ เซียงหยวนเหวย (Liantang Port/Heung Yuen Wai Boundary Control Point) เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าและการเดินทางของประชาชนในพื้นที่ด้านตะวันออกของเมืองเซินเจิ้น ซึ่งเป็นการยกระดับขีดความสามารถของโครงสร้างพื้นฐานของระบบการขนส่งภายใต้โครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong – Hong Kong – Macao Greater Bay Area – GBA) โดยจุดผ่านแดนดังกล่าวนับเป็นจุดผ่านแดนทางบกแห่งที่ 7 ระหว่างเขตบริหาร-พิเศษฮ่องกงกับเมืองเซินเจิ้น
[su_spacer]
โครงการก่อสร้างจุดผ่านแดนเหลียนถัง/เซียงหยวนเหวยเริ่มขึ้นเมื่อปี 2556 ใช้ระยะเวลาก่อสร้างรวม 7 ปี ด้วยงบประมาณกว่า 33.7 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 1.36 แสนล้านบาท) อาคารแห่งนี้มีพื้นที่ ให้บริการรวมทั้งสิ้นประมาณ 23 เฮกตาร์ (143.75 ไร่) สามารถรองรับผู้โดยสารได้วันละ 30,000 คน ยานพาหนะประมาณ 17,850 เที่ยว และมีพื้นที่สำหรับจุดจอดรถ รับ-ส่ง ภายในอาคารผู้โดยสารสำหรับพาหนะส่วนตัวและรถขนส่งสาธารณะจำนวน 415 คัน จุดผ่านแดนเหลียนถัง/เซียงหยวนเหวยถูกออกแบบภายใต้หลักการ “direct access to people and vehicles” เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงได้ทั้งโดยระบบขนส่งสาธารณะ ยานพาหนะส่วนตัว หรือทางเท้า ทั้งฝั่งขาเข้าและขาออก โดยที่พื้นที่ตั้งในฝั่งฮ่องกงอยู่ที่ Ta Kwu Ling ในเขต New territories ส่วนในฝั่งเมืองเซินเจิ้นอยู่ที่ ถนน Liantang เขต Luohu มณฑลกวางตุ้ง
[su_spacer]
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ปัจจุบันมีการเปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบกระหว่างจีนกับฮ่องกงเพียง 1 ด่าน (จุดผ่านแดน Shenzhen Bay) ดังนั้น ในเดือนกันยายน 2563 จุดผ่านแดนเหลียนถัง/เซียงหยวนเหวย จึงเปิดให้บริการเฉพาะในส่วนของรถบรรทุกขนส่งสินค้าเท่านั้น
[su_spacer]
จุดผ่านแดนเหลียนถัง/เซียงหยวนเหวยเป็นหนึ่งในพัฒนาการสำคัญในการขับเคลื่อนหลักการ “One Hour Living Circle” ในพื้นที่ GBA ซึ่งมีประชากรอยู่อาศัยราว 70 ล้านคน และเป็นโครงการความร่วมมือที่สำคัญของมณฑลกวางตุ้ง ฮ่องกง และมาเก๊า ที่ระบุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 12 ของจีน ฮ่องกง และมาเก๊า ซึ่งตั้งเป้าหมายให้พื้นที่ GBA มีระบบการขนส่งที่ราบรื่นและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูง โดยภายใต้โครงการก่อสร้างจุดผ่านแดนเหลียนถัง/เซียงหยวนเหวย ได้มีการสร้างทางหลวงพิเศษความยาว 11 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมระหว่างจุดผ่านแดนฯ กับทางหลวงพิเศษในฮ่องกง สำหรับในฝั่งเซินเจิ้นจุดผ่านแดนดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับ “Eastern Corridor” ของมณฑลกวางตุ้ง ทำให้การเดินทางจากฮ่องกงไปยังเมืองอื่น ๆ ในภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง นั้น สะดวกมากขึ้น อาทิ
[su_spacer]
เมืองซัวเถา หรือเมืองซานโถ ที่ตั้งอยู่ภาคตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง เป็นหนึ่งในเขตเศรษฐกิจหลักของมณฑล ฯ และเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่สำคัญ รวมทั้งได้รับการยกย่องให้เป็นเมืองชั้นนำด้านการท่องเที่ยว และเป็น 1 ใน 100 เมืองที่น่าลงทุนของจีน
[su_spacer]
เมืองเฉาโจว เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ติดกับมณฑลฝูเจี้ยน เป็นเมืองประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติ และเป็นเมืองขนาดย่อมที่น่าอยู่ในลำดับต้น ๆ ของจีน รวมทั้งมีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยว และเป็นเมืองด้านอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยี ทั้งนี้ ในอดีตเมืองเฉาโจวเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรมในแถบตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง
[su_spacer]
เมืองเจียหยาง เป็นเมืองที่มีความสำคัญในด้านระบบโลจิสติกส์ มีท่าเรือส่งสินค้าทางน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกของมณฑล ฯ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลจีนกำลังเร่งผลักดันเพื่อยกระดับให้ท่าอากาศยานเจียหยางเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษอากาศยาน
[su_spacer]
รวมทั้งยังสามารถเดินทางไปยังมณฑลที่ใกล้เคียง ได้แก่ มณฑลฝูเจี้ยน และมณฑลเจียงซี ซึ่งก่อนหน้านี้การเดินทางระหว่างฮ่องกงกับพื้นที่ดังกล่าวทางบกจะต้องผ่านจุดผ่านแดน Man Kam To หรือจุดผ่านแดน Sha Tau Kok ซึ่งมีการจราจรที่แออัดส่งผลให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางเป็นไปได้อย่างล่าช้า
[su_spacer]