รัฐบาลโอมานได้เปิดทําการท่าอากาศยานพาณิชย์ทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 โดยในระยะแรกจะเปิดให้บริการบางส่วนและอนุญาตให้สายการบินแห่งชาติ Oman Air และ Salam Air ทําการบินได้ไม่เกิน 2 เที่ยวต่อสัปดาห์ ในแต่ละประเทศที่เป็นประเทศปลายทาง ซึ่งในเบื้องต้น Oman Air จะทําการบินไปยังลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต อิสตันบูล ดาร์เอสซาลาม และแซนซิบาร์ (ระหว่างวันที่ 1 – 24 ตุลาคม 2563) สําหรับ Salam Air มีแผนจะให้บริการเที่ยวบินพาณิชย์ในภูมิภาคใกล้เคียง อาทิ โดฮา มานามา ดูไบ เตหะราน ชีราซ อิสตันบูล คาร์ทูม ธากา จิตตะกอง มูลตาน ซิอัลโกต การาจี ฯลฯ
[su_spacer]
ภายในเดือนตุลาคม 2563 รัฐบาลโอมานจะผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ อาทิ ยกเลิกการ lockdown แคว้นโดฟาร์ เปิดการสัญจรข้ามพรมแดนทางบก เปิดให้บริการระบบรถยนต์ขนส่งสาธารณะ รวมถึงการอนุญาตให้ชาวต่างชาติที่มีถิ่นพํานักถาวรหรือมีใบอนุญาตทํางานในโอมานเดินทางเข้าประเทศได้ ซึ่งจะจํากัดเฉพาะกลุ่มที่มี resident card และมีนายจ้างให้การรับรอง
[su_spacer]
การเดินทางเข้าโอมานนั้น ทางการจะใช้มาตรการควบคุมอย่างเข้มงวด เช่น 1) ต้องทําประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษา COMD-19 เป็นเวลา 30 วัน 2) ดาวน์โหลดโปรแกรม “Tarassud” ลงในโทรศัพท์มือถือและลงทะเบียนก่อนเดินทาง 3) การตรวจ PCR test 4) การกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน และ 5) การบังคับให้สวมสายรัดข้อมือเพื่อติดตามตัวในช่วงกักตัว (Quarantine)
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี สําหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเดินทางเข้าโอมานด้วยวีซ่าประเภทท่องเที่ยวยังไม่สามารถกระทําได้ และรัฐบาลโอมานยังไม่มีนโยบายชัดเจนที่จะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในขณะนี้ รวมถึงกรณีนักท่องเที่ยวสัญชาติไทยก็ยังไม่สามารถขอ Visa on Arrival ที่สนามบินได้
[su_spacer]
ทั้งนี้ การเปิดประเทศของรัฐบาลโอมานมีลักษณะเป็นการดําเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไปและจําเป็นต้องดําเนินมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมอย่างเข้มงวด เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ยังมีความน่ากังวลและไม่แน่นอน (มีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 97,000 ราย และถือว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 50,000 คน ภายในระยะเวลาสามเดือนหลัง)
[su_spacer]
จนถึงปัจจุบันกิจกรรมสําคัญทางเศรษฐกิจจํานวนมากในโอมานยังไม่สามารถเริ่มดําเนินการได้ตามแผน โดยเฉพาะการจัดงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ อาทิ Oman Petroleum & Energy Show (14 – 16 กันยายน 2563) Oman Health Exhibition (21 – 23 กันยายน 2563) และ Food & Hospitality Expo (5 – 7 ตุลาคม 2563) รวมถึงงานแสดงสินค้าไทย Thai Trade Exhibition ของบริษัท เวก้า อินเตอร์ เทรด แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จํากัด ซึ่งเคยจัดเป็นประจําในช่วงปลายปีก็ต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกําหนด ทั้งนี้ รัฐบาลโอมานยังห้ามการจัดกิจกรรมหรือการรวมกลุ่มคนจํานวนมาก อย่างเช่น งานเลี้ยง งานแต่งงาน กิจกรรมทางศาสนา การแข่งขันกีฬา ตลอดจนการจัดงานวันชาติ/วันสําคัญของคณะทูตานุทูต อีกด้วย
[su_spacer]
ในส่วนของสถานการณ์ด้านแรงงานเกิดสภาวะที่แรงงานต่างชาติกว่า 220,000 ราย ถูกเลิกจ้างในเกือบทุกภาคส่วน (บริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐ และแรงงานในครัวเรือน) โดยแรงงานส่วนใหญ่เป็นบุคคลสัญชาติบังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถาน สภานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อการดําเนินธุรกิจพอสมควรเนื่องจากเริ่มขาดแคลนแรงงานในระดับผู้เชี่ยวชาญ คุณภาพงานบริการตกต่ำ และอาจเกิดปัญหาสังคมตามมาเพราะแรงงานต่างชาติที่ถูกเลิกจ้างจํานวนมากยังติดค้างอยู่ในโอมาน ไม่สามารถเดินทางกลับประเทศของตนได้
[su_spacer]
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโอมานเป็นเรื่องที่ยังคงต้องติดตามและประเมินอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลายประการ อาทิ ระดับราคาน้ํามันดิบในตลาดโลก การฟื้นฟูธุรกิจและการท่องเที่ยว การแก้ไขปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ตลอดจนประสิทธิภาพในการควบคุมไวรัส COVID-19 หลังเปิดประเทศ
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย การดําเนินธุรกิจส่วนใหญ่ในประเทศโอมานมีการควบคุมและชี้นําจากรัฐอยู่เบื้องหลัง ตลอดจนต้องอาศัยสายสัมพันธ์ส่วนบุคคลและความไว้เนื้อเชื่อ ใจเพื่อผลักดันความร่วมมือด้านต่างๆ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนผู้บริหารในหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของโอมาน ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา น่าจะส่งผลดีต่อความร่วมมือทวิภาคีไทย-โอมานพอสมควร โดยเฉพาะในช่วงหลังจากปัญหา COVID-19 คลี่คลายลง เนื่องจากบุคคลสําคัญหลายรายในรัฐบาลเคยมีความใกล้ชิดและร่วมงานกับฝ่ายไทยในโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ
[su_spacer]