Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมของรัฐบาลสิงคโปร์

27/08/2020
in ทันโลก, เอเชีย
0
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมของรัฐบาลสิงคโปร์
30
SHARES
284
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 นายเฮงซวีเกียต (Heng Swee Keat) รอง นรม./รมว.คลัง และ รมว.ประสานงานด้านเศรษฐกิจสิงคโปร์ ได้กล่าวถ้อยแถลง (National Broadcast) เรื่องมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติม เป็นเงินประมาณ 8,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์สรุปได้ดังนี้

[su_spacer]

1. พัฒนาการของผลกระทบจาก COVID-19

[su_spacer]

ตั้งแต่ที่รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศงบประมาณ Fortitude Budget เมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกทวีความรุนแรงขึ้นกว่า 3 เท่า โดยมีผู้ติดเชื้อรวม 21 ล้านคน และเสียชีวิต 750,000 คน เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบ อย่างรุนแรงและน่าจะหดตัวร้อยละ 5 ในปีนี้ โดยเศรษฐกิจสิงคโปร์หดตัวแล้วร้อยละ 13.2 ในไตรมาสที่ 2/2563 แบบ Year-on-Year

[su_spacer]

คณะทํางานเฉพาะกิจระหว่างกระทรวงฯ (Multi-Ministry Task Force) ของสิงคโปร์สามารถควบคุม การแพร่ระบาดในสิงคโปร์ได้แล้ว อย่างไรก็ตาม หลายประเทศที่เริ่มทําการเปิดประเทศต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ดังนั้นสิงคโปร์จึงยังคงต้องใช้ระมัดระวังอย่างสูงในการเปิดประเทศและดําเนินมาตรการทางสาธารณสุขที่เข้มงวด โดยเฉพาะ มาตรการต่อการเดินทางระหว่างประเทศ (ปัจจุบันสิงคโปร์มีผู้ติดเชื้อสะสม ประมาณ 56,000 ราย ยังอยู่ระหว่างการรักษา จํานวน 3,194 คน ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อฯ จํานวน 27 ราย โดยมีคนไทยในสิงคโปร์ติดเชื้อประมาณ 650 ราย ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในหอพักฯ)

[su_spacer]

การประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมในครั้งนี้ (17 ส.ค. 63) ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์สําคัญ 3 ประการ ได้แก่ (1) การสนับสนุนการจ้างงานและสร้างงาน (2) การสนับสนุนภาคเอกชนที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุด และ (3) เตรียมความพร้อมให้สิงคโปร์สามารถคว้าโอกาสในการเติบโตได้มากที่สุดในโลกหลัง COVID-19

[su_spacer]

2. งบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563

[su_spacer]

ยุทธศาสตร์ที่ 1: การสนับสนุนการจ้างงานและการสร้างงาน

[su_spacer]

รัฐบาลสิงคโปร์จะขยายโครงการ Jobs Support Scheme (USS) ออกไปอีก 7 เดือน เพื่อสนับสนุนภาคเอกชนในการจ่ายเงินเดือนพนักงาน อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสิงคโปร์จะลดการสนับสนุนจากร้อยละ 25 ถึงร้อยละ 100 เหลือร้อยละ 10 (สําหรับภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบบางส่วน) ถึงร้อยละ 50 (สําหรับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ อย่างหนัก เช่น การท่องเที่ยว โรงแรม และการบิน) ส่วนภาคธุรกิจที่ฟื้นตัวแล้ว อาทิ ชีวการแพทย์ การเงิน และ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม นั้นรัฐบาลสิงคโปร์จะสนับสนุนเงินเดือนพนักงานอัตราร้อยละ 10 ต่อไปอีก 4 เดือน

[su_spacer]

ดังนั้น ในภาพรวมรัฐบาลสิงคโปร์จะจ่ายเงินสนับสนุนเงินเดือนพนักงานแก่บริษัทต่าง ๆ รวม 17 เดือน เพื่อรักษาการจ้างงานของคนท้องถิ่น โดยรอง นรม. เฮงฯ ให้ข้อมูลว่า จนถึงปัจจุบันรัฐบาลสิงคโปร์ได้จ่ายเงินสนับสนุน JSS แล้ว จํานวน 16,000 ล้านดอลลาร์ สป. แก่บริษัท 150,000 ราย ในจํานวนนี้มีบริษัทที่ฟื้นตัวแล้วและไม่ต้องการรับเงินช่วยเหลือ จํานวน 600 รายที่ประสงค์จะบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือบริษัทอื่น ๆ แทน

[su_spacer]

รัฐบาลสิงคโปร์มีแผนจะจัดทําโครงการ Jobs Growth incentive (US) เพื่อสร้างงานใหม่ โดยอัดฉีดงบประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แก่บริษัทต่าง ๆ เพื่อเพิ่มการจ้างงานของคนชาติสิงคโปร์ในช่วง 6 เดือนจากนี้ และจะช่วยบริษัท จ่ายเงินเดือนพนักงานที่จ้างใหม่ ร้อยละ 25 เป็นเวลา 1 ปี หากเป็นลูกจ้างจ้างใหม่ที่อายุเกิน 40 ปี รัฐบาลสิงคโปร์จะช่วยจ่ายค่าจ้าง สูงสุดร้อยละ 50 ซึ่งรัฐบาลสิงคโปร์จะแจ้งรายละเอียดต่อไป นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์จะจัดตั้งศูนย์ SGUnited Jobs and Skills Centres ในพื้นที่ชุมชน จํานวน 24 แห่ง เพื่อให้ข้อมูลแก่ประชาชนที่ประสงค์จะหางานหรือเข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนทักษะ

[su_spacer]

หุ้นส่วนไตรภาคี (tripartite partners) ได้แก่ กระทรวงแรงงานสิงคโปร์ (Ministry of Manpower) สภาแรงงานแห่งชาติ (NTUC) และ สมาพันธ์นายจ้างแห่งชาติ (SNEF)] จะทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อสนับสนุนแรงงานให้มีงานทํา โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะขยาย ระยะเวลากองทุน COVID-19 Support Grant (CSG) ไปจนถึงเดือน ธันวาคม 2563 เพื่อให้เงินช่วยเหลือแก่คนตกงาน/ว่างงาน และจะจ่ายเงิน Workfare Special Payment แบบให้เปล่า จํานวน 3,000 ดอลลาร์สิงคโปร์/คน แก่ผู้ตกงานที่เดือดร้อน

[su_spacer]

รัฐบาลสิงคโปร์ประเมินว่าตลาดแรงงานในสิงคโปร์จะยังคงหดตัวในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะพยายามออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือพนักงานและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักต่อไป (สิงคโปร์มีการเลิกจ้าง 147,500 อัตรา ในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 คิดเป็นอัตราการว่างงาน ร้อยละ 2.9)

[su_spacer]

ยุทธศาสตร์ที่ 2: การรักษาศักยภาพในการแข่งขัน

[su_spacer]

เมื่อคํานึงว่าอุตสาหกรรมอวกาศ การบิน และการท่องเที่ยว ได้รับผลกระทบมากที่สุด รัฐบาลสิงคโปร์จะเพิ่มเงินช่วยเหลือแก่ 3 อุตสาหกรรมนี้เป็นการเฉพาะ สําหรับธุรกิจการบิน รัฐบาลสิงคโปร์จะอัดฉีดเงิน 187 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ภายใต้ Enhanced Aviation Support Package ภายใน มี.ค. 64 เพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงให้ ความสําคัญกับการเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงทางอากาศในภูมิภาคของสิงคโปร์(ธุรกิจการบิน Changi Air Hub ทํารายได้ คิดเป็น ร้อยละ 5 ของ GDP สิงคโปร์และมีพนักงานกว่า 190,000 คน)

[su_spacer]

สําหรับ พนักงานสายการบินที่ยังไม่สามารถกลับไปทํางานได้ อาทิ พนักงานต้อนรับกว่า 500 คน ของ สายการบินแห่งชาติ (SIA) รัฐบาลสิงคโปร์ได้โยกย้าย (redeploy) ให้ไปทํางานในภาคสาธารณสุข อาทิ Care Ambassadors ใน รพ. และจะสร้างงานใหม่อีก 4,000 อัตราต่อจากนี้

[su_spacer]

ด้านการท่องเที่ยว รัฐบาลสิงคโปร์จะกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศเพื่อช่วยเหลือธุรกิจ การท่องเที่ยว โดยแจกจ่ายเครดิตการท่องเที่ยวแก่ประชาชนเป็นเงิน 320 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์และแจกจ่ายบัตรกํานัล SingapoRediscovers Vouchers เป็นมูลค่ารวม 45 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ให้ประชาชนด้วย อย่างไรก็ตาม ธุรกิจ การท่องเที่ยวบางประเภทจะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดทําการได้ เช่น สถานบันเทิง (nightlife industry)

[su_spacer]

ยุทธศาสตร์ที่ 3: การปรับรูปแบบเศรษฐกิจสู่โลกหลัง COVID-19

[su_spacer]

ตั้งแต่ปี 2558 รัฐบาลสิงคโปร์ ได้จัดทําแผนการปรับรูปแบบอุตสาหกรรม (Industry Transformation Maps for 23 sectors) แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 กอปรกับปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจทําให้สิงคโปร์ต้องเร่ง ปรับรูปแบบของเศรษฐกิจให้เร็วและมีทิศทางมากยิ่งขึ้น โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะสนับสนุนเงินจํานวน 150 ล้านดออลาร์สิงคโปร์เพื่อจัดทํา โครงการ Startup SG Founder เพื่อส่งเสริมธุรกิจ Startup ซึ่ง กระทรวงการค้าและ กระทรวงอุตสาหกรรมสิงคโปร์ (MT) จะเปิดเผยรายละเอียดต่อไป

[su_spacer]

รัฐบาลสิงคโปร์จะทํางานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและแรงงานในคณะทํางานเฉพาะกิจ Emerging Stronger Taskforce เพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจและภาคเอกชนของสิงคโปร์ให้มีความพร้อมมากที่สุดและแสวงหา ประโยชน์ได้มากที่สุดในโลกยุคหลัง COVID-19

[su_spacer]

3. ความคืบหน้าการจัดทําและการใช้ความตกลงช่องทางพิเศษ

[su_spacer]

3.1 การจัดทําความตกลง Green Lane สิงคโปร์ – ญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 Mr.Toshimitsu Motegi รมว.กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นเดินทางเยือนสิงคโปร์ และได้เข้าเยี่ยมคารวะ นรม. สิงคโปร์ และพบหารือกับ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ ซึ่งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะเจรจาการจัดทําความตกลง Green Lane ให้แล้วเสร็จภายในต้นเดือนกันยายน 2563

[su_spacer]

3.2 ความตกลง Reciprocal Green Lane (RGL) bla: Periodic Commuting Arrangement (PCA) สิงคโปร์-มาเลเซีย เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 63 เวลา 10.00 น. สิงคโปร์และมาเลเซียเริ่มเปิดให้ประชาชน/ผู้ถือบัตรพํานักหรือบัตรทํางานระยะยาว เดินทางข้ามแดนโดยใช้ความตกลงพิเศษแล้ว โดยมีผู้เดินทางประมาณ 300 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้เดินทางเพื่อการทํางาน โดยใช้ PCA และเดินทางข้าม Singapore-Johor Causeway ทั้งนี้ ก่อนการระบาดของ COVID-19 มีผู้สัญจรข้ามแดน บริเวณด่าน Causeway ดังกล่าว ประมาณ 300,000 คนต่อวัน โดยเป็นชาวมาเลเซีย ที่เดินทางมาทํางานในสิงคโปร์ ประมาณ 100,000 คน

[su_spacer]

ทั้งนี้ การแถลงมาตรการเพิ่มเติมของรอง นรม. เฮงฯ สอดคล้องกับการแถลงของนายชาน ชุนซึ่ง (Chan Chun Sing) รมว.การค้า/อุตสาหกรรมสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 ซึ่งเน้นความจําเป็นที่สิงคโปร์จะต้องเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจและรูปแบบธุรกิจ เพื่อให้สอดคล้องกับโลกหลัง COVID-19 โดยกล่าวว่าเศรษฐกิจโลกได้เข้าสู่สภาวะปกติใหม่แล้ว และโลกจะไม่กลับไปสู่สถานการณ์ ก่อน COVID-19 การฟื้นตัวอย่างเต็มที่ของเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งและจะไม่ราบรื่นนัก โดยธุรกิจบางประเภทอาจ ฟื้นตัวได้ แต่ธุรกิจบางประเภทก็จะต้องเปลี่ยนรูปแบบไปอย่างถาวร ดังนั้นรัฐบาลสิงคโปร์ จึงจําเป็นต้องสร้างระบบเศรษฐกิจใหม่ และ สร้างงานรูปแบบใหม่เพื่อประชาชน

[su_spacer]

การแถลงมาตรการในครั้งนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีจากภาคเอกชนและธนาคารสิงคโปร์ดังเช่นที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ประธานสมาคมธุรกิจสถานบันเทิงแสดงความผิดหวังที่รัฐบาลสิงคโปร์ยังไม่อนุญาตให้สถานบันเทิงเปิดกิจการได้ แต่ก็ขอบคุณรัฐบาลสิงคโปร์ที่ให้คําตอบเรื่องนี้อย่างชัดเจน เพื่อให้ธุรกิจสถาบันเทิงในสิงคโปร์วางแผนได้อย่างถูกต้องต่อไป

[su_spacer]

การแถลงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในครั้งนี้ ไม่ครอบคลุมถึงการช่วยเหลือแรงงานต่างชาติในสิงคโปร์ ซึ่งใน งบประมาณ Fortitude รัฐบาลสิงคโปร์เคยได้ยกเว้นภาษีการจ้างแรงงานต่างชาติเพียง 2 เดือน และไม่มีนโยบายช่วยเหลือทาง ภาษีอื่น ๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากการที่รัฐบาลสิงคโปร์ใช้งบประมาณแบบขาดดุลตลอดปี 2563 นี้ โดยคาดว่าจะขาดดุลทั้งสิ้น 10,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แม้ว่าการชะลอตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง (เนื่องจากมาตรการกักตัวแรงงานต่างชาติในหอพัก) จะทํา ให้การใช้จ่ายด้านการก่อสร้างของรัฐบาลสิงคโปร์ ในวงเงิน 6,900 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ล่าช้าออกไปบ้างก็ตาม

[su_spacer]

ความนัยต่อประเทศไทย 

[su_spacer]

การที่รัฐบาลสิงคโปร์ยังคงให้ความสําคัญกับนโยบายการเป็นศูนย์กลางความเชื่อมโยงทางอากาศในภูมิภาค และได้ให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแต่ภาคธุรกิจการบินเป็นการเฉพาะ เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยในการเชิญชวนให้สิงคโปร์ขยาย การลงทุนด้านการซ่อมบํารุงอากาศยาน (Maintenance Repair and Overhaul: MRO) ใน ประเทศไทยโดยเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ออท.ฯ ได้หารือผ่านระบบทางไกลกับรองเลขาธิการ สกพอ. (รสธ. สัษมนฯ) ประเมินว่าสิงคโปร์ จะยังคงแสวงหาสถานที่ลงทุน เพื่อจัดตั้ง/ขยายศูนย์ซ่อมบํารุงอากาศยาน ทั้งนี้ ในการประชุม STEER ครั้งที่ 5 เมื่อ 24 สิงหาคม 2560 บ. ST Engineering ของสิงคโปร์เคยแสดงความสนใจที่จะลงทุนในโครงการ MRO อู่ตะเภา ในเขต EEC แต่รอให้ฝ่ายไทยแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ ภาคเอกชนสิงคโปร์ถือหุ้นได้ร้อยละ 100 ซึ่งล่าสุด กรมการบินพลเรือนไทยได้แก้ไข พรบ. การเดินอากาศ (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2562 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2562 แล้ว

[su_spacer]

ในช่วงต้นเดือน กันยายน 2563 ออท.ฯ มีกําหนดจะพบหารือกับรองเลขาธิการ สกพอ. ฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน (รสธ.โชคชัยฯ) เพื่อขอทราบประเด็นที่ สกพอ. ประสงค์ให้ สอท.ฯ ผลักดันกับ บ. ST Engineering ในรายละเอียด และจะทาบทามการพบหารือกับ CEO ของ บ. ST Engineering เพื่อผลักดันประเด็นนี้ต่อไป

[su_spacer]

สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์

Tags: covid-19มาตรการสิงคโปร์เศรษฐกิจ/ธุรกิจ/การค้า
Previous Post

ผลไม้ไทยดันให้การขนส่งสินค้าทางรถไฟจีน (กว่างซี) – เวียดนามโต 422%

Next Post

ศูนย์วิจัยเชื้อไวรัสในยูเออีร่วมลงนามกับอิสราเอลเพื่อวิจัยการหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 (WAM)

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post
ศูนย์วิจัยเชื้อไวรัสในยูเออีร่วมลงนามกับอิสราเอลเพื่อวิจัยการหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 (WAM)

ศูนย์วิจัยเชื้อไวรัสในยูเออีร่วมลงนามกับอิสราเอลเพื่อวิจัยการหาวัคซีนป้องกัน COVID-19 (WAM)

Post Views: 1,166

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X