ภายหลังที่รัฐบาลมณฑลกานซูได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลกลางในการก่อตั้งเขตสาธิตนวัตกรรมแห่งชาติ (National Self-independent Innovation Demonstration Zones) 2 แห่ง ได้แก่ เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทค (High-tech Industrial Development Zone) นครหลานโจว และเขตสาธิตนวัตกรรมแห่งชาติเมืองไป๋หยิน (Lanzhou Baiyin National Independent Innovation Demonstration Zone) ไปเมื่อเดือน ก.พ. 2561 ทำให้ตลอดปี 2561 รัฐบาลมณฑลได้เร่งพัฒนามณฑลกานซูให้บรรลุเป้าหมายสู่การเป็นศูนย์บ่มเพาะเทคโนโลยีนวัตกรรมระดับประเทศ เพื่อกระตุ้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจในพื้นที่ภาคตะวันตกของจีน จนมีวิสาหกิจสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ เข้าลงทุนในเขตฯ ทั้งสองจำนวน 38 ราย
[su_spacer]
นอกจากนี้ ในปีเดียวกันรัฐบาลมณฑลกานซูยังได้ตั้งเป้าจะเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์การรักษาโรคขนาดใหญ่ โดยเฉพาะการผลิตอุปกรณ์เครื่องฉายรังสีด้วยเทคโนโลยี “Heavy Ion Therapy” ณ เมืองอู่เวย ที่ได้เริ่มเดินสายการผลิตและทดลองรักษาผู้ป่วยมะเร็งไปแล้ว สร้างรายได้ไปกว่า 60,122 ล้านหยวน
[su_spacer]
ต่อมาในปี 2562 รัฐบาลมณฑลกานซูได้ให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง โดยลงทุน 2,800 ล้านหยวน สร้างโรงพยาบาลเฉพาะทาง “Lanzhou Heavy Ion Hospital” ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (Chinese Academy of Sciences: CAS) ในการนำเทคโนโลยี “Heavy Ion Therapy” มาใช้ในการรักษาโรคมะเร็งและเนื้องอกชนิดต่างๆ ขึ้น ณ นครหลานโจว การก่อสร้างโรงพยาบาลฯ แบ่งเป็น
- การก่อสร้างระยะที่ 1 งบประมาณ 1,467 ล้านหยวน ครอบคลุมพื้นที่ 10,000 ตร.ม. สร้างศูนย์การรักษาด้วยเครื่องฉายรังสีด้วยเทคโนโลยี “Heavy Ion Therapy” ตึกผู้ป่วยทั่วไปขนาด 687 เตียง และตึกส่งพลังงาน
- การก่อสร้างระยะที่ 2 งบประมาณ 1,413 ล้านหยวน ครอบคลุมพื้นที่ 24,500 ตร.ม. สร้างตึกที่มีอุปกรณ์เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเคมีบำบัด สร้างศูนย์ฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยขนาด 1,113 เตียง โรงพยาบาลฯ เปิดทดลองให้บริการไปแล้วเมื่อ 20 พ.ค. 2563 ตั้งเป้าให้บริการผู้ป่วยได้ไม่ต่ำกว่า 2,000 ราย ภายในสิ้นปี 2563
[su_spacer]
ล่าสุด รัฐบาลมณฑลกานซูสนับสนุนงบประมาณเพิ่มอีก 200 ล้านหยวน จัดตั้ง “กองทุนพิเศษสำหรับการบูรณาการในอุตสาหกรรมเกิดใหม่” (Special Funds for Emerging Industry Integration) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและการรักษาโรคด้วยการฉายรังสีเทคโนโลยี “Heavy Ion Therapy” รวมไปถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้เป็นรากฐานสำคัญในการวินิจฉัยและรักษาโรคด้วยเทคโนโลยีข้างต้น ซึ่งจะช่วยพัฒนามณฑลกานซูไปสู่เมืองแห่งเทคโนโลยีนวัตกรรมระดับประเทศ ในเบื้องต้น กองทุนฯ นี้จะให้การสนับสนุน 4 หน่วยงานหลักที่วิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพเครื่องฉายรังสีเทคโนโลยี “Heavy Ion Therapy” ได้แก่
- CAS สำนักงานนครหลานโจว
- สถาบันฟิสิกส์สมัยใหม่ (Institute of Modern Physics)
- โรงพยาบาลมะเร็งเมืองอู่เว่ย (Wuwei Cancer Hospital)
- โรงพยาบาลเฉพาะทาง “Lanzhou Heavy Ion Hospital” โดยจะร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ศูนย์วินิจฉัยและทดสอบโรค ณ เขตสาธิตนวัตกรรมแห่งชาติ (National Self-independent Innovation Demonstration Zones) ที่เขตเมืองใหม่นครหลานโจว ซึ่งคาดการณ์จะสามารถเปิดใช้งานได้ภายในสิ้นปี 2563
[su_spacer]
ปัจจุบัน มณฑลกานซูเป็นมณฑลที่ได้รับการสนับสนุนให้เป็นผู้ผลิตเครื่องฉายรังสีแบบอนุภาคหนักและเป็นพื้นที่สาธิตการรักษาผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยี Carbon-ion Therapy ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งหรือเนื้องอก โดยใช้รังสีจากอนุภาคหนักที่มีประจุต่างกันไปตามแนวทางการรักษาและลักษณะของเนื้องอก โดยมากมักนำมาใช้ในผู้ป่วยที่ดื้อรังสีอื่นๆ การรักษาโดยใช้รังสีแบบอนุภาคหนักมีข้อดีคือ ผู้ป่วยจะไม่เจ็บ ฟื้นตัวได้เร็ว การรักษามุ่งเป้าได้ค่อนข้างแม่นยำเข้าถึงแกนมะเร็ง และปริมาณรังสีที่อวัยวะปกติข้างเคียงได้รับน้อย มีระยะการรักษาโดยเฉลี่ย 4-20 ครั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งและการวินิจฉัยของแพทย์
[su_spacer]
[su_spacer]