ด้วยเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 สภายุโรปได้ให้ความเห็นชอบกฎหมายการจัดหมวดหมู่ ธุรกิจสีเขียว “Regulation on the establishment of a framework to facilitate sustainable investment, and amending regulation (EU) 2019/2088” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Taxonomy Regulation” ซึ่งมีสาระสําคัญ ดังนี้
[su-spacer]
กฎหมาย Taxonomy Regulation เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการเงินอย่างยั่งยืน (Sustainable Finance) และแผนนโยบาย European Green Deal ของสหภาพยุโรป โดยสะท้อนหลักการ “do no harm” ซึ่งมีสาระสําคัญเป็นการกําหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าธุรกิจใดเข้าข่ายเป็นธุรกิจสีเขียว (environmentally sustainable) และการระดมทุนสําหรับธุรกิจดังกล่าวก็จะสามารถติดฉลากได้ว่าเป็นการลงทุนอย่างยั่งยืน เช่น การออกพันธบัตร Green Bonds เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนหันมาลงทุนในธุรกิจสีเขียว รวมทั้งเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการเข้าถึงกองทุน ฟื้นฟูสีเขียวของคณะกรรมาธิการยุโรป ทั้งนี้ ข่าวสารนิเทศของคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เป็นครั้งแรกในโลกที่มี การจัดทําระบบหมวดหมู่ธุรกิจสีเขียว (“Green list”)
[su-spacer]
นอกจากนี้ กฎหมายข้างต้นได้จัดตั้งกลไกคณะที่ปรึกษา เรียกว่า “Platform on Sustainable Finance” ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 57 คน โดย 50 คนจะมาจากการเปิดรับสมัครทั้งจากภาครัฐและเอกชน และ 7 คนมาจากการแต่งตั้งโดย DG FISMA (Financial Stability, Financial Services and Capital Markets Union) ทั้งนี้ DG FISMA จะคัดเลือกที่ปรึกษา 7 คนจากหน่วยงาน ภาครัฐ เช่น European Environment Agency และ European Investment Bank
[su-spacer]
ซึ่งภายหลังจากที่สภายุโรปให้ความเห็นชอบกฎหมาย Taxonomy Regulation เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2563 ในลําดับต่อไปจะมีการประกาศกฎหมายฯ ใน Official Journal และกฎหมายฯ จะเริ่มมีผลใช้บังคับ 20 วันนับแต่วันที่ประกาศใน Official Journal
[su-spacer]
หลังจากที่กฎหมาย Taxonomy Regulation มีผลใช้บังคับแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การออกกฎหมายลําดับรอง (Delegated Acts) เพื่อกําหนดหลักเกณฑ์เชิงเทคนิค โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้วางแผนกรอบเวลาการทํางานไว้ ดังนี้ (1) การจัดทําหลักเกณฑ์เชิงเทคนิคสําหรับธุรกิจที่เข้าข่าย เป็นการส่งเสริมการบรรเทาผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change mitigation and adaptation) ภายในสิ้นปี 2563 และ (2) การจัดทําหลักเกณฑ์เชิงเทคนิคสําหรับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมอีก 4 ประการ ได้แก่ การใช้และปกป้องน้ําและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การป้องกันและควบคุมมลพิษ และการปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ
[su-spacer]
แถลงข่าวสารนิเทศของคณะกรรมาธิการยุโรป (https://bit.ly/2VgrtRC) และกฎหมาย Taxonomy Regulation (https://bit.ly/31ez03V)
[su-spacer]
ถึงอย่างไรก้ตาม สื่อได้รายงานว่า ก่อนหน้านี้ ประเด็นถกเถียงหลักในช่วงการจัดทํากฎหมาย Taxonomy Regulation คือว่าจะให้โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซเข้าข่ายเป็น ธุรกิจสีเขียวด้วยหรือไม่ โดยท้ายที่สุด ทางออกแบบประนีประนอมที่ตกลงกันได้คือ จะไม่มีการจัด โรงไฟฟ้าสองประเทศดังกล่าวจะไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มการลงทุน “purely green” ได้ แต่ในหลักการจะไม่ถูกรวมหรือตัดออกจากหมวดหมู่อื่น ๆ โดยอัตโนมัติ
[su-spacer]
นาง Daniel Gueguen อาจารย์มหาวิทยาลัย College of Europe เขียน บทความแสดงความเห็นว่า หนทางของแผนนโยบาย European Green Deal ยังเต็มไปด้วยอุปสรรค โดยใช้คําว่า “ instability and conflict” เพื่อกล่าวถึงอนาคตของแผน European Green Deal ภายหลังวิกฤตโคโรนา โดยมองว่าจะเกิดบรรยากาศของความขัดแย้งทั้งระหว่างคณะกรรมาธิการยุโรป และสภายุโรปที่ผลักดันแผน Green Deal กับคณะมนตรียุโรปซึ่งจะพยายามชะลอแผนให้ช้าลง เนื่องจากจําเป็นต้องทุ่มเทงบประมาณไปกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกัน ก็จะเกิดความขัดแย้ง ระหว่างภาคประชาสังคมที่สนับสนุนแผน Green Deal กับภาคธุรกิจที่ต้องการเพียงเอาตัวรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจ
[su-spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์