World Economic Forum (WEF) ได้จัดทำดัชนี Energy Transition Index (ETI) ประจำปี 2020 ซึ่งจัดทำเป็นประจําทุกปีเพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบพลังงาน (system performance) และความพร้อมในการปรับโครงสร้างพลังงานในอนาคต (transition readiness) ของ 115 ประเทศ เพื่อสนับสนุนการออกนโยบายด้านพลังงานให้เหมาะสมกับยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยรายงาน ETI 2020 ได้วิเคราะห์แนวโน้มสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
[su_spacer]
1. ไทยอยู่ลำดับที่ 53 สําหรับ ETI 2020 ซึ่งลดลงจากลำดับเดิมที่ 51 ใน ETI 2019 นอกจากนี้ หากดูการจัดลำดับด้าน system performance และ transition readiness ไทยอยู่ลำดับที่ 59 (จากลำดับที่ 56 ใน ETI 2019) และ 52 (จากลำดับที่ 47 ใน ETI 2019) ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนว่าการจัดลำดับของไทยลดลงในทั้งสองด้าน
[su_spacer]
2. ตัวชี้วัดที่ไทยได้รับการจัดลำดับที่ดี ได้แก่ energy access & security (ลำดับที่ 29) infrastructure & innovative business environment (ลำดับที่ 32) และ institutions & governance (ลำดับที่ 49) ส่วนตัวชี้วัดที่ไทยได้คะแนนต่ำ ได้แก่ economic growth & development (ลำดับที่ 87) environmental sustainability (ลำดับที่ 74) และ regulation & political commitment (ลำดับที่ 74)
[su_spacer]
3. ประเทศที่ได้รับคะแนน ETI สูงส่วนใหญ่จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วในทวีปยุโรป ส่วนประเทศที่ได้รับคะแนนต่ำมักจะเป็นประเทศผู้ส่งออกน้ํามันหรือประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศใน 10 อันดับแรก ได้แก่ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก นอร์เวย์ ออสเตรีย สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส ไอซ์แลนด์ และอุรุกวัย ส่วนประเทศกำลังพัฒนาที่อยู่ใน 30 อันดับแรกมีเพียง 6 ประเทศ โดย 4 ประเทศมาจากทวีปอเมริกาใต้ (อุรุกวัย โคลอมเบีย คอสตาริกา และชิลี) ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วที่ไม่อยู่ใน 30 อันดับแรก อาทิ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และกรีซ นอกจากนี้ อินเดีย จีน และรัสเซียมีอันดับอยู่ที่ 74, 78 และ 80 ตามลำดับ
[su_spacer]
4. แนวโน้มสําคัญจาก ETI
- 96 ประเทศ จาก 115 ประเทศ มีคะแนน ETI เพิ่มขึ้นในช่วง 6 ปี ที่ผ่านมา แต่มีเพียง 11 ประเทศที่มีคะแนน ETI เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปี ซึ่งสะท้อนระดับของพัฒนาการในด้านพลังงานที่แตกต่างกัน
- ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ETI ของประเทศใน top quartile กับประเทศที่เหลือลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสะท้อนความไม่เท่าเทียมทางพลังงานที่ลดลง และทุกประเทศให้ความสําคัญในการพัฒนาระบบพลังงาน
- ความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงระบบพลังงาน (transition readiness) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการสนับสนุนทางการเมืองและการเข้าถึงเงินทุน โดยรายงาน ETI 2020 ได้ยกไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสําเร็จในด้านนี้
- จํานวนประเทศที่ใช้ cost-effective energy pricing เพิ่มมากขึ้น และร้อยละ 82 ของประเทศที่มีค่า ETI สูงขึ้นได้ลดการอุดหนุนราคาพลังงานลง อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาพลังงานในประเทศส่วนใหญ่ยังไม่สะท้อนผลกระทบภายนอกของการผลิตและการใช้พลังงาน
[su_spacer]
5. ผลกระทบของ COVID-19 WEF
- การพัฒนาระบบด้านพลังงานจะชะลอตัวลง เพราะทุกประเทศเน้นใช้ทรัพยากรที่มีในการต่อสู้กับ COVID-19
- ราคาพลังงานในระดับโลกลดลงอย่างมาก เนื่องจากอุปสงค์ของพลังงานลดลงมากเพราะการ lockdown ซึ่งเป็นโอกาสดีสําหรับประเทศกำลังพัฒนาในการริเริ่มการเปลี่ยนโครงสร้างทางพลังงานให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
- ทุกประเทศควรปรับนโยบายด้านพลังงานให้มีความยืดหยุ่น และคํานึงถึงผลระยะยาวมากขึ้น
- อาจพิจารณาใช้การอัดฉีดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้ในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานพลังงานแบบใหม่ อาทิ อุปกรณ์จับคาร์บอนการจัดเก็บพลังงาน และการทดลองใช้พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น
[su_spacer]
6. ภาพรวมระดับอาเซียน ประเทศสมาชิกอาเซียนมีค่า ETI ที่แตกต่างกันอย่างมากจากสิงคโปร์ที่อยู่อันดับที่ 13 ในขณะที่กัมพูชาอยู่อันดับที่ 91 ทั้งนี้ การจัดลำดับประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ (ลำดับที่ 13 โดยมีลำดับเท่าเดิมจาก ETI 2019) มาเลเซีย (38 จากลำดับเดิมที่ 31) บรูไน (49 จากลำดับเดิมที่ 39) ไทย (53 จากลำดับเดิมที่ 51) ฟิลิปปินส์ (57 จากลำดับเดิมที่ 59) เวียดนาม (65 จากลำดับเดิมที่ 56) อินโดนีเซีย (70 จากลำดับเดิมที่ 63) และกัมพูชา (91 จากลำดับเดิมที่ 100) ซึ่งสะท้อนว่า มีเพียงฟิลิปปินส์และกัมพูชาเท่านั้นที่ได้รับการจัดลำดับที่ดีขึ้น
[su_spacer]