ธุรกิจ E-Commerce หรือการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ทางระบบคอมพิวเตอร์ทั้ง B2B/B2C/C2C เป็นกระแสที่กําลังได้รับความนิยมมากทั่วโลกในขณะนี้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิต-19 ประเทศต่างๆ พากันปิดเมือง และ เน้นให้ประชาชนอยู่ภายในบ้านหรือทํางานภายในบ้าน การซื้อขายออนไลน์ก็ยิ่งทวีความสําคัญและขยายตัวมากขึ้น ก่อนเกิด วิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ประเทศที่มีมูลค่าการทําธุรกรรมออนไลน์สูงสุดคือ จีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่นตามลําดับ โดยประเทศบาห์เรนติดลําดับที่ 90 ของโลก เมื่อสิ้นปี 2019 คาดว่ามีการทําธุรกรรมออนไลน์ในบาห์เรน มูลค่า 348 ล้าน เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อย ละ 21.2 จากปี 2018 ในบาห์เรนมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต (user) ที่สามารถเข้าถึงธุรกรรมออนไลน์ 1 ล้านคน (ประชากรในบาห์เรนมี ประมาณ 1.6 ล้านคน)
[su_spacer]
บริษัท Wafi เป็นบริษัทที่ลงทะเบียนการค้าธุรกรรมออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดในบาห์เรนขณะนี้ (เทียบได้กับ Amazon ของอเมริกา ถึงแม้ขนาดและมูลค่าธุรกรรมจะต่างกันมากก็ตาม) เปิดดําเนินการในปี 2016 และธุรกิจได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีผู้ติดตามทางเวปไซด์บริษัทถึงหนึ่งแสนคน สมาชิกลงทะเบียน (subscriber) application ของ Wafi 40,000 คน มีลูกค้า ประจํา 48,000 คนที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์จากบริษัท Wafi สามารถครอบครองตลาดสินค้าออนไลน์เกือบร้อยละ 60 ของบาห์เรน (ไม่นับรวมบริษัทที่มีหน้าร้านและขายออนไลน์ด้วยอาทิ คาร์ฟู LuLu Sharaf ฯลฯ) Wafi ทําการออนไลน์สินค้าต่างๆ อย่าง หลากหลายทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องสําอางค์และผลิตภัณฑ์เสริมสวย น้ําหอม ผลิตภัณฑ์สําหรับเด็ก ของเล่น เฟอร์นิเจอร์ เครื่องไฟฟ้า เครื่องเสียง โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ เสื้อผ้า รองเท้า ฯลฯ ในห้าเดือนแรกของปี 2563 เมื่อเกิด โรคระบาดและธุรกิจจํานวนมากต้องปิดตัวลงชั่วคราว Wafi กลับสามารถเพิ่มยอดขายสินค้าออนไลน์ได้ถึง 300 % และในเดือน กค. 2563 Wafi จะทําการตลาดโดยจัดตั้งสาขาในประเทศกาตาร์ ยูเออี (สํานักงานอาบูดาบี) ซาอุดีอาระเบีย (สํานักงานเมืองดัมมัม) เพิ่มจากธุรกิจของตนใน บาห์เรน ด้วย ในส่วนของสินค้าไทย Wafi เคยจําหน่ายเครื่องนวดเท้า ซึ่งขายได้ดีมาก ในปัจจุบัน มีสินค้าไทย จําหน่ายออนไลน์บ้าง อาทิ ข้าวหอมมะลิ เครื่องปรุงรสของไทย ขนมขบเคี้ยวหรือถั่ว ของบริษัททองกอร์เด้นท์ เป็นต้น นาย Jacob Thomas ผู้ก่อตั้งบริษัท Wafi เห็นว่า สินค้าไทยมีคุณภาพดีกว่าสินค้าของจีน และน่าจะได้รับการทําตลาด มากกว่านี้ แต่ปัญหาที่พบในการติดต่อกับบริษัทของไทยคือ การสื่อสารที่คนไทยไม่ถนัดภาษาอังกฤษมากนัก จึงมีความยุ่งยากในการทําธุรกิจมากกว่าคู่ค้าจากจีน อินเดียหรือประเทศเอเชียใต้
[su_spacer]
โดยเหตุที่บริษัท Wafi มีสํานักงานอยู่ในประเทศบาห์เรน ในชั้นแรกจึงต้องการร่วมมือการค้ากับบริษัทไทย ในบาห์เรนเท่านั้น และเสนอความร่วมมือทางการค้า ดังนี้
[su_spacer]
- หาก Thai mart ในบาห์เรน เปิดทําการได้ภายในปี 2020 Wafi ยินดีให้ร้านไทยเข้าร่วมประชาสัมพันธ์สินค้าบนเวปของ Wafi ได้ฟรีไม่คิดค่าธรรมเนียมจนถึงวันที่ 20 ธค. 2020 และเมื่อมีการจําหน่ายสินค้าได้ก็ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมส่วนนี้แต่อย่างใด
- ยินดีให้บริษัทไทยในบาห์เรน ซึ่งมีสต้อคสินค้าไทยอยู่บ้างแล้ว เข้าทําการร่วมกับเวปของ Wafi ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและค่าคอมมิสชัน จนถึง 20 ธค. 2020 เพื่อเป็นการทดลองตลาดออนไลน์ด้วยว่ามีประสิทธิภาพและได้ผลเพียงใด
- ในอนาคต หากบริษัทหรือห้างร้านไทยจะเข้ามาจําหน่ายสินค้าออนไลน์ผ่าน Wafi บริษัทฯ จะรับเฉพาะบริษัทที่ติดต่อผ่านสถานเอกอัครราชทูตเท่านั้น โดยต้องการให้กลุ่มบริษัทหรือห้างร้านในไทยตั้งตัวแทนการค้า (agent) ไทยขึ้นในบาห์เรนเพื่อดูแลเรื่องบัญชีการค้าและเพื่อเป็นหลักประกันว่าในกรณีสินค้ามีปัญหา (defect) ลูกค้าต้องคืนสินค้าหรือร้องเรียน จะต้องทําผ่านบริษัท Wafi ซึ่งสามารถไล่เบี้ยกับตัวแทนการค้าไทยในบาห์เรนต่อไปได้
- ค่าประชาสัมพันธ์บนเวปไซด์หรือ app ของ Wafi กรณีลูกค้าทําการโฆษณาสินค้าตั้งแต่ 20-50 ผลิตภัณฑ์ บริษัทคิดคําธรรมเนียม 50 ดินาร์บาห์เรน กรณีสินค้า 50-5000 ผลิตภัณฑ์ คิดค่าธรรมเนียม 200 ดีนาร์บาห์เรน
- ค่าคอมมิชชั่น จําแนกตามประเภทสินค้า แต่โดยหลักคือ สินค้าอุปโภคบริโภค คิดค่าคอมมิสชั่น 10 % ของราคาจําหน่าย แต่ถ้าเป็นสบู่ น้ําหอม ผลิตภัณฑ์เสริมความงามหรือบํารุงผิว คิดค่าคอมมิสชั่น 20 % เนื่องจากมาร์จิ้นกําไรมีมากกว่าสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป
[su_spacer]
ธุรกิจการค้าออนไลน์นับวันจะมีการขยายตัวสูงขึ้น และไม่ได้รับผลกระทบในทางลบในกรณีการระบาดของไวรัสโคโรนาโควิด-19 แต่อย่างใด Wafi จึงสามารถสร้างกําไรทางการค้าได้ทั้งก่อนวิกฤติโควิด ระหว่างโควิดที่ธุรกรรมการค้าขยายตัวเพิ่มสูงที่สุดหรือหลังการระบาดของโควิด แต่ปัจจุบันไม่พบว่ามีบริษัทหรือธุรกิจของไทยในบาห์เรนที่ทําการค้า ออนไลน์เลย การมาของ Wafi จึงน่าจะถือเป็นโอกาสดีของการค้าในรูปแบบใหม่โดยเฉพาะการค้าของไทยในลักษณะ B2C ซึ่งพ่อค้าไทยก็มีช่องทางจําหน่ายสินค้ามากขึ้น ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีโอกาสได้เลือกสินค้าได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น มากกว่าสินค้าที่วางจําหน่ายในห้างสรรพสินค้าหรือซุปเปอร์มาร์เก็ตด้วย
[su_spacer]
ในกรณีของไทยมาร์ท บริษัท Vega ผู้บริหารไทยมาร์ทก็เคยมีแนวคิดที่จะทําออนไลน์สินค้าไทยด้วย เช่นกัน แต่ก็มีความท้าทายคือ ผู้บริโภคในบาห์เรนให้ความเชื่อถือมากเพียงใด และต้องใช้เวลานานเท่าไรจึงจะสร้างเวปหรือ app เพื่อจําหน่ายสินค้าไทยออนไลน์ให้ติดตลาดผู้บริโภคในบาห์เรนได้
[su_spacer]
อนึ่ง ในอดีตบาห์เรนเองก็เคยมีบริษัทที่จดทะเบียนขายสินค้าออนไลน์จํานวนไม่น้อยที่ไม่ประสบผลสําเร็จ และต้องปิด app และเวปของตนไปเช่นกัน
[su_spacer]