เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เวียงจันทน์ สภาธุรกิจไทย – ลาว และสมาคมนักธุรกิจไทยใน สปป. ลาว จัดการเสวนาออนไลน์เรื่อง “ผลกระทบทางธุรกิจที่นักธุรกิจไทยใน สปป. ลาวควรรู้ในสถานการณ์โควิด 19” ผ่าน Facebook page ของสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ โดยมีเอกอัครราชทูต น.ส. ปวิตรา ม่วงสกุล ที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) และนายทํานอง พลทองมาก รองประธานสภาธุรกิจไทย – ลาว/รองนายกสมาคมนักธุรกิจไทยใน สปป. ลาว เป็นผู้ร่วมเสวนา มีสาระสําคัญ ดังนี้
[su_spacer]
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ใน สปป. ลาว
[su_spacer]
1. สปป. ลาวมีผู้ติดเชื้อน้อยที่สุดในอาเซียน มีจํานวน 19 ราย โดยพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และรายที่ 19 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563 นอกจากการตรวจหาเชื้อใน สปป. ลาวแล้ว ขณะนี้ สปป. ลาวไม่มีจํานวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นเวลากว่า 30 วันแล้ว
[su_spacer]
2. รัฐบาลลาวมีความตื่นตัวเกี่ยวกับโรคดังกล่าวและได้ออกมาตรการต่าง ๆ ที่เข้มข้นและรวดเร็วเพื่อ ป้องกันและรับมือกับการแพร่ระบาดตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เช่น การตั้งคณะเฉพาะกิจเพื่อป้องกันควบคุมและตอบโต้การระบาดของโรค COVID-19 โดยมีนายสมดี ดวงดี รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน เป็นหัวหน้าคณะเฉพาะกิจฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีลาวกํากับดูแลอย่างใกล้ชิด ต่อมาคณะคุ้มครองเขตเศรษฐกิจพิเศษแขวงบ่อแก้วได้ประกาศปิดด่านสากลสามเหลี่ยมทองคํา ระงับเที่ยวบินระหว่างประเทศ (ยกเว้นเที่ยวบินพิเศษเพื่อส่งกลับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ตกค้าง) ระงับการออกวีซ่าท่องเที่ยว ปิดด่านทั่วประเทศ (ยกเว้นการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ) รวมถึงออกมาตรการ Lockdown เช่น ปิดสถานศึกษา ให้ข้าราชการทํางานจากที่บ้าน และปิดโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยง ต่อมารัฐบาลลาวเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เช่น อนุญาตให้ข้าราชการกลับเข้าทํางานตามปกติ เปิดกิจการ/ห้างร้าน เปิดการสัญจรทางบก น้ำ และอากาศภายในประเทศ โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด
[su_spacer]
ผลกระทบต่อภาคธุรกิจและการนําเข้า – ส่งออก
[su_spacer]
1. สปป. ลาวยังมีความเป็นชุมชนเมืองน้อย ส่วนใหญ่เป็นสังคมเกษตรกรรมที่เน้นการพึ่งพาทรัพยากร ธรรมชาติและดํารงชีวิตอย่างพอเพียง การขายไฟฟ้าเป็นแหล่งรายได้หลักของ สปป. ลาวและโดยที่ปริมาณการส่งออกของ สปป. ลาวยังไม่มากนัก สปป. ลาวจึงได้รับผลกระทบน้อยกว่าประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาภายนอก อย่างไรก็ดี การปิดด่านชายแดนสําหรับการสัญจรของคน ยกเว้นการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ทําให้การนําเข้าสินค้าจากต่างประเทศมีขั้นตอนและใช้เวลาในการดําเนินการที่ด่านมากขึ้น
[su_spacer]
2. รัฐบาลลาวคาดการณ์ว่า GDP ของ สปป. ลาวปี 2563 จะลดลงจากร้อยละ 6.1 ในปี 2562 เหลือร้อยละ 3.3 ในขณะที่ธนาคารโลก ADB และ IMF คาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3.6 ร้อยละ 3.5 และร้อยละ 0.7 ตามลําดับ การท่องเที่ยวและการบริการของ สปป. ลาวถือเป็นแหล่งรายได้สําคัญ ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงตั้งแต่ต้นปี 2563 ในช่วง 3 เดือนแรกของ ปี 2563 สปป. ลาวสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 2 ของ GDP โดยแขวงหลวงพระบางและนครหลวงเวียงจันทน์ได้รับผลกระทบมากที่สุด
[su_spacer]
3. ในช่วงปี 2532 – 2562 ประเทศต่าง ๆ ได้เข้ามาลงทุนใน สปป. ลาวในกว่า 6,000 โครงการ ซึ่งประเทศที่ลงทุนสูงสุดสามอันดับแรก คือ จีน (36,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ไทย (4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และเวียดนาม (3,900 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ) โดยภาคที่มีการลงทุนมากที่สุด คือ พลังงาน (14,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และเหมืองแร่ (7,500 ล้านดอลลาร์ สหรัฐ) ในด้านนําเข้า ส่งออกสินค้า สินค้าส่งออกหลักของ สปป. ลาวยังเป็นสินค้าพื้นฐาน ได้แก่ ไฟฟ้าและสินค้าเกษตร ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 8 และ 9 ของการส่งออกทั้งหมด ในขณะที่ สปป. ลาวนําเข้าเครื่องจักร อุปกรณ์ พาหนะ อาหารและเครื่องดื่ม โดยปี 2562 การส่งออกสินค้าของ สปป. ลาวมีมูลค่า 5,603 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนําเข้ามีมูลค่า 5,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ สปป. ลาวได้คาดการณ์ไว้
[su_spacer]
4. การค้าไทย – ลาวคิดเป็นร้อยละ 60 ของปริมาณการค้าระหว่าง สปป. ลาวกับต่างประเทศมูลค่าการส่งออกสินค้าจากไทยมายัง สปป. ลาวในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2563 ลดลงร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากการส่งออกสินค้าฟุ่มเฟือยลดลงร้อยละ 20 ในขณะที่การส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้น เช่น อาหารสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 26 บะหมี่กึ่งสําเร็จรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 16 และปศุสัตว์เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 เป็นต้น
[su_spacer]
นโยบายส่งเสริมผู้ประกอบการไทย
[su_spacer]
1. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ มีแผนการดําเนินงาน ดังนี้
[su_spacer]
- จัดงานแสดงสินค้าในรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกในอาเซียนและในโลก โดยจะจัดงาน Multimedia Online Virtual Exhibition ระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤษภาคม 2563 ซึ่งเป็นงานเทศกาลภาพยนตร์กลุ่ม content industry นอกจากนี้ ยังมีแผนการเจรจาธุรกิจออนไลน์ (business matching) และคาดว่ารูปแบบการจัดงานแสดงสินค้าออนไลน์จะได้รับความนิยมมากขึ้นในอนาคต ซึ่งอํานวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ
- ขยายระยะเวลาบัตรประจําตัวผู้นําเข้าและส่งออกออกไปอีก 2 เดือน และสนับสนุนให้ผู้ประกอบการใช้หนังสือรับรองถิ่นกําเนิดสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์สําหรับการส่งออกสินค้าไปประเทศอาเซียน หรือ e-form D เพื่อลดอัตราภาษี ศุลกากรเหลือร้อยละ 0 แก่สินค้าที่นําเข้าระหว่างกันอาเซียน
- จัดสัมมนาออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และเป็นแนวทางในการปรับกลยุทธ์ การดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
[su_spacer]
2. คนลาวจํานวนมากดูรายการโทรทัศน์ของไทย สินค้าไทยเป็นที่รู้จักและนิยมใน สปป. ลาวอยู่แล้ว จึงอาจไม่จําเป็นต้องเน้นเรื่องการส่งเสริมการขายหรือการโฆษณาสินค้ามากนัก แต่ควรให้ความสําคัญมากขึ้นกับการอํานวยความสะดวกด้านการค้าและการทําธุรกรรม อาทิ การทํา Currency Swap arrangement เงินบาท – กีบ การผ่อนคลาย ข้อจํากัดในการนําเงินบาทออกนอกประเทศไทย
[su_spacer]
โอกาสของนักธุรกิจไทยใน สปป. ลาวหลังการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
[su_spacer]
1. นับจากนี้ไปธุรกิจที่มีแนวโน้มที่จะเติบโตมากขึ้นและเป็นที่นิยม ได้แก่ ธุรกิจโรงพยาบาลและสุขภาพ ธุรกิจ e-Commerce ต่าง ๆ และธุรกิจด้านโลจิสติกส์ สถานการณ์โรค COVID-19 ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป ปัจจุบัน ธุรกิจออนไลน์ใน สปป. ลาวได้รับความนิยมมากขึ้น อีกทั้งภาครัฐมีนโยบายส่งเสริม e-banking และการทําธุรกรรมข้ามธนาคาร
[su_spacer]
2. ปัจจุบันรัฐบาลลาวส่งเสริมการผลิตสินค้าเพื่อใช้ภายในประเทศและเกษตรกรรมสีเขียว อีกทั้ง สปป. ลาว ได้รับโควตาการส่งออกสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ไปยังจีนและเวียดนาม แต่ สปป. ลาวยังขาดอุปกรณ์การเกษตรและเครื่องจักรกลขนาดเล็ก ปุ๋ยออแกนิกส์ ดังนั้น ธุรกิจอุปกรณ์การเกษตรจึงเป็นอีกทางเลือกสําหรับผู้ประกอบการไทยที่มีความสนใจ
[su_spacer]
3. นอกจากนี้ ธุรกิจการศึกษาและส่งเสริมพัฒนาการ/ทักษะในเด็กยังไม่แพร่หลายใน สปป. ลาว ในขณะที่ประชากรลาวร้อยละ 65 อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 30 ปี และประชากรวัยเด็กมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต
[su_spacer]