หลังจากเศรษฐกิจไนจีเรียประสบภาวะถดถอย (recession) จากปัญหาราคาน้ํามันในตลาดโลกตกต่ําในปี 2557 เศรษฐกิจไนจีเรียเริ่มฟื้นตัวขึ้นตามลําดับ โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินว่า ในปี 2562 ไนจีเรียมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) อยู่ที่ร้อยละ 2.3 อย่างไรก็ดี การระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ตั้งแต่ ธ.ค. 2562 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไนจีเรียอย่างรุนแรงจากการ lockdown ประเทศและการหยุดชะงักของการดําเนินธุรกิจ รวมทั้ง ราคาน้ํามันในตลาดโลกตกต่ําเหลือน้อยกว่า 30 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บาร์เรล จากเดิมที่เคยมีรายได้จากราคา 57 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บาร์เรล ซึ่งเป็นรายได้หลักถึงร้อยละ 90 ของประเทศ IMF จึงประเมินได้ว่า GDP ในปี 2563 ของไนจีเรียจะมีอัตราขยายตัวติดลบร้อยละ 3.4
[su_spacer]
- ผลกระทบต่อเศรษฐกิจจาก COVID-19 และราคาน้ำมันตกต่่ำ
[su_spacer]
รัฐบาลต้องปรับลดงบประมาณแผ่นดินประจําปี2563 จากจํานวน 35 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากงบประมาณดังกล่าวอ้างอิงรายได้จากราคาน้ํามันที่ 57 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 1 บาร์เรล สําหรับการผลิตมากกว่า 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ไนจีเรียขาดดุลงบประมาณจํานวน 86.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่กรณีการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้อุปสงค์(demand) ภายในประเทศทั้งหมดลดลง ทําให้รัฐบาลตัดสินใจลดค่าใช้จ่ายบางส่วนออกจากแผนงบประมาณเดิม โดยเมื่อวันที่ 18 มี.ค. 2563 นาง Zainab Ahmed รมว. คลัง ได้ประกาศตัดเงินงบประมาณจํานวน 4.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทําให้คงเหลือ 29.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อโครงการด้านสังคมและความช่วยเหลือทางการเงินสําหรับกลุ่มคนยากจนและกลุ่มเสี่ยงจากการจ้างงาน ซึ่งจากสถิติของสำนักงานสถิติแห่งชาติ(National Bureau of Statistics – NBS) เผยว่า ปัจจุบันอัตราการว่างงานสูงถึงร้อยละ 23.1 และประชากรที่จะมีรายได้น้อยกว่า 2 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อวัน มีจํานวนถึง 87 ล้านคน ซึ่งเท่ากับร้อยละ 40 ของจํานวนประชากรทั้งหมด
[su_spacer]
อีกทั้งการบริโภคในครัวเรือนลดลง จากนโยบาย lockdown ทําให้รายได้ลดลงจากการประกอบอาชีพหาเช้ากินค่ําและจากภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ทางการ/นอกระบบ ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 65 ของเศรษฐกิจ ด้านภาคเอกชนก็ลังเลที่จะลงทุน เพราะขาดความเชื่อมันในศักยภาพการแก้ปัญหาและความไม่แน่นอนต่อนโยบายของรัฐบาล ส่งผลต่อหุ้นในตลาดนั้น ตกลงต่ําสุดนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 2551 (ค.ศ. 2008)
[su_spacer]
รายได้จากการส่งออกลดลง เนื่องจากการจํากัดการเคลื่อนไหว การปิดพรมแดนและการส่งออกน้ํามันของไนจีเรีย ซึ่งเป็นสินค้าโภคภัณฑ์(commodity) ที่ราคาได้รับผลกระทบโดยตรงจาก COVID-19 ที่ทําให้อุปสงค์ในตลาดโลกที่หดตัวลง
[su_spacer]
[su_spacer]
1. การกู้เงิน
[su_spacer]
รัฐบาลกลางกู้เงินจาก IMF จํานวน 3.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารโลก จํานวน 2.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และจาก African Development Bank จํานวน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมทั้งกู้เงินจากสถาบันการเงินภายในประเทศอีกจํานวน 800 ล้านไนร่า ขณะที่ยังคงแสวงหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินระหว่างประเทศอื่น ๆ เพื่อเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายทั้งในระดับประเทศและระดับรัฐ โดยเงินกู้จะใช้สําหรับการทดแทนการสูญเสียรายได้จากราคาน้ํามันตกต่ําและค่าใช้จ่ายในการซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อป้องกัน COVID-19 รวมทั้งให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้
[su_spacer]
2. การกระตุ้นสภาวะการคลัง
[su_spacer]
- ธนาคารกลางไนจีเรีย (CBN) อัดฉีดเงินเครดิตจํานวน 138.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้ครัวเรือนและ SMEs ที่ได้รับผลกระทบ โดยแจกเงินช่วยเหลือครัวเรือนละ 20,000 ไนร่า (หรือประมาณ 1,600 บาท) และรัฐบาลแจกจ่ายอาหารให้ครอบครัวยากจนในช่วง lockdown และการจํากัดการเคลื่อนไหวในประเทศ
- เสนอแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ จํานวน 2.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยให้ความสําคัญกับสาขาสุขภาพ และอุตสาหกรรมเพื่อกระตุ้นการผลิตภายในประเทศและลดการนําเข้า ทั้งนี้ รัฐบาลได้ยกเว้นภาษีนําเข้าสําหรับบริษัทยา พร้อมทั้งการอํานวยความสะดวกให้เข้าถึงการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 9 เหลือร้อยละ 5 และมาตรการช่วงเวลาผ่อนปรนการใช้หนี้ให้ธนาคารกลาง ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2563 และประกาศยกเว้นการเรียกเก็บภาษีรายได้จากบริษัทขนาดเล็กและเรียกภาษีจากบริษัทขนาดกลางลดลงจากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 20
- ปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลท้องถิ่น (ไนร่า) ซึ่งไนจีเรียใช้หลายอัตรา โดยลดค่าเงินไนร่าเป็น 360 ไนร่า ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ จากเดิม 306 ไนร่า ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และอัตราสําหรับผู้ลงทุนและส่งออก(Investment and Exports) จาก 360 เป็น 380 ไนร่า ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
[su_spacer]
ข้อมูลเพิ่มเติม
[su_spacer]
เศรษฐกิจไนจีเรียมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (recession) โดย นาย Bismarck Rewane หนึ่งในคณะผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจของประธานาธิบดี Muhammadu Buhari เห็นว่า ไนจีเรียคงต้องเผชิญกับสภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเป็นระยะเวลาประมาณ 12 -18 เดือน เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถที่จะหารายได้เพื่อนํามาชดเชยการขาดรายได้จากราคาน้ํามันที่ตกต่ําและผันผวนได้ในระยะเวลาอันใกล้ ในขณะที่จะต้องชําระเงินกู้คืนให้แก่ IMF ภายในระยะเวลา 5 ปีและอาจจะต้องหากู้เงินเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งก็จะเป็นอันตรายต่อการล้มละลายของประเทศ ทั้งนี้ Debt Management Organization – DMO รายงานว่า ไนจีเรียเป็นหนี้อยู่แล้วจนถึงไตรมาสสุดท้าย ของปี 2562 จํานวน 84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเท่ากับร้อยละ 30 ของ GDP และมีอัตราหนี้ต่อรายได้ถึงร้อยละ 60 ขณะที่ธนาคารโลกแนะนําให้ไนจีเรียมีอัตราหนี้ต่อรายได้เพียงร้อยละ 20-25
[su_spacer]
ดังนั้น ไนจีเรียต้องเร่งปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่หลังจาก COVID-19 คลายปัญหาลง โดยเฉพาะการสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจอย่างจริงจังเพื่อสร้างรายได้ เพิ่มการจ้างงาน และลดการพึ่งพารายได้หลักจากน้ํามันเพียงอย่างเดียว รวมทั้ง เร่งการปฏิรูปการดําเนินงานภาครัฐเพื่อลดค่าใช้จ่ายของประเทศ อาทิ การยกเลิกการอุดหนุนราคาน้ํามันภายในประเทศ การปฏิรูประบบราชการที่เอื้อต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ระบบการเงินและการธนาคาร เป็นต้น รวมทั้งต้องยกเลิกกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการดําเนิน ธุรกิจ(deregulation) ทั้งหลายทั้งปวง ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษี ทั้งนี้ หลายฝ่ายประสงค์ให้ธนาคารกลางพิจารณายกเลิกรายการสินค้าภายใต้ข้อจํากัดห้ามซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อการนําเข้า (จํานวน 41 รายการ อาทิข้าว ยา ปุ๋ย นม เป็นต้น) เพื่อสร้างโอกาสให้มีการค้าเสรี การสร้างงาน และการพัฒนาอุตสาหกรรมและการบริการภายในประเทศในระยะยาว
[su_spacer]
ไนจีเรียเป็นประเทศที่นําเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคถึงร้อยละ 95 ซึ่งหากไนจีเรียจําเป็นจะต้องยกเลิกกฎระเบียบเกี่ยวกับการนําเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคก็จะเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดเข้ามาในไนจีเรียและแอฟริกาตะวันตกได้
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา