UNCTAD ได้สรุป Investment Policy Monitor ฉบับที่ 23 ซึ่งเน้นสรุปนโยบายด้าน การลงทุนที่เป็นผลจากการระบาดฯ และสถิติเกี่ยวกับมาตรการด้านการลงทุน (พ.ย. 62-ก.พ. 63) ดังนี้
[su_spacer]
1. นโยบายด้านการลงทุนที่เป็นผลจากการระบาดของ COVID-19
[su_spacer]
1.1. การช่วยเหลือโครงการการลงทุนจากต่างชาติในประเทศเจ้าบ้าน อาทิ รัฐบาลจีนช่วยออกหนังสือรับรองว่าบริษัทได้รับผลกระทบจากการระบาดจริง และช่วยสนับสนุนให้สามารถเริ่มต้นการผลิตอีกครั้งโดยเร็ว
1.2. การช่วยเหลือนักลงทุนต่างชาติโดย Investment Promotion Agrency (IPAs) IPAs ของ หลายประเทศได้สร้าง platform บนเว็บไซต์เพื่อเป็นช่องทางในการให้ข้อมูล และตอบคําถามแก่นักลงทุน นอกจากนี้ IPAs ของ อินเดีย อิตาลี และเยอรมนี ได้จัด webinars เพื่อให้ข้อมูลแก่บริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดฯ ด้วย
1.3. มาตรการเพื่อปกป้อง sensitive industries อาทิ (1) European Commission (EC) ได้ออก มาตรการเกี่ยวกับ FDI เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมด้านสาธารณสุข การวิจัยทางการแพทย์ biotechnology และความ มั่นคง และอนุมัติเงินจํานวน 80 ล้านเหรียญยูโรให้บริษัท CureVac ของเยอรมนี้เพื่อพัฒนาวัคซีนป้องกัน COVID-19 (2) ฝรั่งเศส ฮังการี และสเปน ได้ออกมาตรการเพื่อควบคุมกิจการที่มีความสําคัญต่อการต่อสู้กับการระบาดฯ
1.4. โครงการใหม่เพื่อส่งเสริมการลงทุนอาทิ (1) โปแลนด์ประกาศเพิ่มการลงทุนภาครัฐซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของมาตรการต่อสู้กับการระบาดฯ (2) EC เสนอโครงการ Coronavirus Response Investment Initiative มูลค่า 37 ล้านยูโร เพื่อช่วยธุรกิจรายย่อยและภาคสาธารณสุข
15. Aid packages จากภาครัฐซึ่งรวมถึงด้านการลงทุน (มูลค่าในวงเล็บ) อาทิ ออสเตรเลีย (AUD 320 billion) แคนาดา (CAD 85 billion) จีน (RMB 300 billion) ฝรั่งเศส (EUR 345 billion) เยอรมนี (EUR450 billion) ญี่ปุ่น (YEN 30 trillion) นิวซีแลนด์ (NZD 12.1 billion) โปแลนด์ (PLN 212 billion) เกาหลีใต้ (KRW 100 trilion) สเปน (EUR 200bilion) สวิตเซอร์แลนด์ (CHF 42 billion) สหราชอาณาจักร (GBP 350 billion) และ สหรัฐฯ (USD2 trillion)
1.6. International Investment Agreements (IlAs) การเจรจา lAs ได้รับผลกระทบอย่างมาก ในไตรมาสแรกของปี 63 มีการเจรจา JIAS สําเร็จเพียง 2 ฉบับ ในขณะที่เจรจาสําเร็จ 10 ฉบับในไตรมาสแรกของปี 62
[su_spacer]
2. สถิติสําคัญเกี่ยวกับมาตรการด้านการลงทุนทั่วโลกระหว่าง พ.ย. 62- ก.พ. 2563
[su_spacer]
2.1. ในช่วงเวลาดังกล่าว 28 ประเทศ ได้ออก 38 มาตรการด้านการลงทุน โดย 75% เป็นมาตรการ สนับสนุนทั้งนักลงทุนในประเทศ และต่างชาติ ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มระยะยาวในด้านนี้
2.2. มาตรการส่งเสริมการลงทุนอาทิ (1) liberalisation measures โดย กริช อินเดีย จีน UAE และ เวียดนาม เปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติลงทุนในบางอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น (2) facilitation and promotion measures โดย 11 ประเทศ ผ่านการเพิ่ม fiscal incentive และการลดขั้นตอนในการยื่นขออนุมัติการลงทุน
2.3. มาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อนักลงทุนต่างชาติ อาทิ (1) เพิ่มความเข้มงวดในการอนุมัติ การลงทุนจากต่างชาติโดยฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น และเยอรมนี (2) โรมาเนียสามารถปฏิเสธสัมปทานปิโตรเลียมต่อ non-EU investors ได้ (3) สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ขยายขอบเขต transactions ที่ต้องอยู่ภายใต้ national security-related reviews
2.4. ในช่วงเดียวกัน มีการลงนาม ||As 3 ฉบับ และมีการยกเลิก bilateral investment treaties (BIT) 5 ฉบับ ทั้งนี้ IAs ฉบับใหม่ในช่วงปีที่ผ่านมามีเนื้อหาที่สอดคล้องกับ UNCTAD’s policy toolkits ซึ่งรวมถึง Reform Package for the International Investment Regime has Investment Policy Framework for Sustainable Development
[su_spacer]
ข้อมูลเพิ่มเติม
https://unctad.org/en/PublicationsLibrary/diaepcbinf2020d1_en.pdf
[su_spacer]
คณะผู้แทนถาวรฯ ณ นครเจนีวา