เนื่องด้วยสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) เผยแพร่รายงานอุปสรรคทางการค้าในต่างประเทศประจําปี 2562 (2019 National Trade Estimate Report on Foreign Trade Barriers : NTE) ซึ่ง USTR นําเสนอต่อคองเกรสและทําเนียบขาวในเดือน มี.ค. ของทุกปี
[su_spacer]
เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2562 USTR ได้เผยแพร่รายงาน NTE ประจําปี 2563 เป็นครั้งที่ 35 ครอบคลุม 59 ประเทศ และอียู ไต้หวัน ฮ่องกง และสันนิบาตอาหรับ (the Arab League) โดยเป็นรายงานควบคู่ (companion piece) กับ “The President’s 2020 Policy Agenda and 2019 Annual Report” ซึ่งเผยแพร่ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือน ก.พ. 2563 ทั้งนี้ ขอสรุปรายงาน NTE ในส่วนที่เกี่ยวกับประเทศไทยตามข้างล่างนี้
[su_spacer]
1. การค้าภาพรวม ในปี 2562 สหรัฐฯ ขาดดุลสินค้ากับไทยเพิ่มขึ้นรวม 20.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จาก 19.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2561) แต่สหรัฐฯ ได้ส่งออกสินค้าไปไทยมากขึ้น และไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 25 ของสหรัฐฯ
[su_spacer]
2. พัฒนาการด้านความตกลงการค้าของไทยกับต่างประเทศ ไทยในฐานะ ประเทศสมาชิกอาเซียนได้บรรลุการเจรจาเนื้อหา (concluded text-based negotiations) Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) เมื่อ พ.ย. 2562 และไทยได้บรรลุความตกลงการค้าทวิภาคีกับออสเตรเลีย ชิลี อินเดีย ญี่ปุ่น เปรู และนิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาความตกลง FTA กับอียู ปากีสถาน ศรีลังกา และตุรกี รวมทั้งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเข้าเป็นสมาชิก Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership (CPTPP)
[su_spacer]
3. ประเด็นที่สหรัฐฯ มองว่าเป็นอุปสรรคทางการค้า ส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเด็นเดิมในรายงานฯ ปี 2562 ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาษีนําเข้าที่ยังอยู่ในอัตราที่สูง โดยเฉพาะยานยนต์และชิ้นส่วน ตลอดจนสินค้าเกษตร ค่าธรรมเนียมการอนุญาตนําเข้าสําหรับสินค้าเนื้อสัตว์ไม่ปรุงสุก การต้องมีใบอนุญาตนําเข้าและการควบคุมการนําเข้า ระบบแรงจูงใจจากเงินสินบนและเงินรางวัลนําจับ การอุดหนุนโดยภาครัฐภายใต้กฎหมายส่งเสริมการลงทุน บัญชีนวัตกรรมไทยที่สร้างความได้เปรียบในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ การคุ้มครองและการใช้บังคับกฎหมายสิทธิ ทรัพย์สินทางปัญญา ความไม่โปร่งใสในการกําหนดราคาสินค้าควบคุม รวมถึงการคอร์รัปชั่น
[su_spacer]
4. อุปสรรคทางการค้าที่เพิ่มเติมจากรายงานฯ เมื่อปี 2562 ได้แก่
[su_spacer]
4.1 Import Ban on Agricultural Chemicals เมื่อวันที่ ๒๒ ต.ค. 2562 คณะกรรมการวัตถุอันตรายแห่งชาติของไทยมีมติปรับ Glyphosate Paraquat และ Chlorphyrifos จากวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ให้เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ห้ามใช้) ซึ่งจะส่งผลให้ อย. ใช้บังคับ Zero tolerance maximum residue level (MRL) สําหรับสาร 3 ชนิดนี้ อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 คณะกรรมการวัตถุอันตรายได้ทบทวนการตัดสินใจและยกเลิกการห้ามใช้ glyphosate และให้เลื่อนการห้ามใช้ paraquat และ chlorphyrifos ออกไป โดยห้ามใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มิ.ย. 2563 และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทยจะพัฒนาสารอื่นมาทดแทนสารเคมี 2 ชนิดดังกล่าว
4.2 Biotechnology เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2562 ประเทศไทยแจ้งระเบียบอาหารดัดแปลงพันธุกรรมต่อ WTO ซึ่งหากมีการใช้บังคับจริงจะส่งผลกระทบต่อการค้าถั่วเหลือง ข้าวโพดและอาหารแปรรูปที่มีส่วนประกอบที่มีการดัดแปลงพันธุกรรม ทั้งนี้ สหรัฐฯ ได้ส่งข้อคิดเห็นต่อ WTO และจะติดตามพัฒนาการการใช้บังคับในเรื่องนี้ต่อไป
4.3 Plant Quarantine Restrictions การส่งสินค้า distillers’ dried grains (DDGs) เข้าไทยต้องรม สารเนื่องจากมีการตรวจพบแมลงที่ต้องกักกันปนมา สหรัฐฯ อยู่ระหว่างการทํางานอย่างใกล้ชิดกับไทยบนพื้นฐานของ วิทยาศาสตร์ เพื่อให้สามารถใช้สาร phosphine รมเพื่อกําจัดแมลง (ปัจจุบัน ไทยอนุญาตให้รมด้วยสาร Methyl bromide เท่านั้น)
[su_spacer]
5. เรื่องที่ฝ่ายสหรัฐฯ ได้ผลักดันและระบุไว้ในรายงานฯ ได้แก่
[su_spacer]
5.1 ระบบเงินสินบนและรางวัลนําจับของกรมศุลกากร รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ร่วมให้ความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ เมื่อเดือน ก.ย. 2562 ตามที่กรมศุลกากรได้เปิดให้สาธารณชนให้ความเห็นเพื่อการพิจารณาแก้ไขกฎหมายและระเบียบในเรื่องนี้
5.2 การเปิดตลาดเนื้อสุกร ตามที่ไทยยังคงไม่ได้กําหนด MRLS ในการนําเข้าเนื้อสุกรที่มี สาร Ractopamine ซึ่งเท่ากับการห้ามนําเข้าเนื้อสุกรจากสหรัฐฯ USTR ได้หยิบยกการเปิดตลาดเนื้อสุกร ในการประชุม Trade and Investment Framework Agreement (TIEA) เมื่อเดือน ก.ค. 2562 ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะ ทบทวนทางเลือกการจัดการความเสี่ยงที่เป็นไปได้
[su_spacer]
6. ประเด็นที่น่าสนใจของประเทศคู่ค้าอื่นๆ ของสหรัฐฯ ที่ USTR ได้เผยแพร่ factsheet ที่นําเสนอความคืบหน้าที่โดดเด่นควบคู่กับรายงาน NTE (ไทยไม่ได้รับการกล่าวถึงเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา) โดยนอกความสําเร็จในเรื่องการเจรจาความตกลงสําคัญ อาทิ ความตกลง United States Mexico-Canada Agreement (USMCA) ความตกลง Phase กับจีน ความตกลงด้านการเปิดตลาดสินค้าเกษตรและความตกลงการค้าดิจิทัลกับญี่ปุ่น ทั้งนี้ ได้ระบุถึงประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ดังนี้
[su_spacer]
6.1 major developments in the 2020 NTE เวียดนามได้ตอบสนองต่อการหยิบยกข้อห่วงกังวล ของสหรัฐฯ และยกเลิกกฎหมายที่บังคับให้ต้องทดสอบยานยนต์ทุกล็อต และปรับเป็นการทดสอบเป็นรายโมเดล เวียดนามยังได้ทบทวนระบบการทดสอบให้สะดวกขึ้นต่อการนําเข้ารถยนต์ที่ผลิตโดยสหรัฐฯ
6.2 agricultural measures highlighted in the 2020 NTE เวียดนามได้บรรลุความตกลงว่าด้วยเงื่อนไขด้านสุขอนามัยพืช ทําให้สหรัฐฯ กลับมาส่งออกส้มไปยังเวียดนามได้
6.4 digital trade issues highlighted in the 2020 NTE อินโดนีเซียได้ออกระเบียบใหม่ที่อนุญาตให้เอกชนในธุรกิจระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่งผ่านข้อมูลและเก็บข้อมูลนอกประเทศได้
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน