Monday, May 19, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ชี้ช่องจากทีมทูต

บทความ EU Watch เรื่อง “Post-Brexit: โอกาสและผลกระทบต่อไทย”

06/03/2020
in ชี้ช่องจากทีมทูต, ทวีปยุโรป
0
0
SHARES
170
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

3 ปีครึ่งแห่งความวุ่นวายที่ยืดเยื้อภายหลังการลงประชามติในปี 2559 ท้ายที่สุด เหตุการณ์ Brexit ก็เกิดขึ้น โดยสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้สิ้นสุดสถานะการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 หลังจากที่เป็นสมาชิกมายาวนานถึง 47 ปี

[su_spacer]

อังกฤษก้าวเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน 

การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จากการแยกตัวจะไม่เกิดขึ้นทันที เพราะอังกฤษมีช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน (Transition period) 11 เดือน (นับจาก 31 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2563) เพื่อให้ภาคส่วนต่าง ๆ

[su_spacer]

ของทั้งสองฝ่ายสามารถปรับตัว โดยระหว่างนี้ อังกฤษและอียูจะต้องกําหนดรูปแบบการดําเนินความสัมพันธ์ ในอนาคตระหว่างกัน และอังกฤษจะยังคงอยู่ในระบบตลาดเดียว (single market) และสหภาพศุลกากร (Customs union) ของอียู กล่าวคือ สินค้า การบริการ เงินทุนและประชาชนยังสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีระหว่างอียูกับอังกฤษ นอกจากนั้น อังกฤษจะยังคงต้องปฏิบัติตามกฎหมายอียูและพันธกรณีต่าง ๆ ที่อียูมีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศ ความตกลงภายใต้กรอบ WTO และ FTA กับประเทศที่สามด้วย อย่างไรก็ดี อังกฤษจะไม่มีผู้แทนในสถาบันของอียูและไม่สามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจของอียู รวมถึงยังต้องจ่ายค่าออก จากการเป็นสมาชิกอียู ประมาณ 34 พันล้านปอนด์

[su_spacer]

ทิศทางในอนาคตของทั้งสองฝ่าย รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร? 

ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้กําหนดกรอบเป้าหมายการเจรจาคร่าว ๆ ในเรื่องนี้ไว้แล้ว โดยนอกจาก เรื่องการค้า ซึ่งมีประเด็นสําคัญหลายประเด็นที่ต้องตกลงกัน เช่น การเปิดตลาดสินค้าและบริการ การคุ้มครองข้อมูล การขนส่ง และการบิน รวมถึงเงื่อนไขเรื่องประมงแล้วนั้น อียูและอังกฤษยังต้องเจรจาตกลงกัน ในเรื่องความสัมพันธ์ในอนาคตด้วย เช่น ความร่วมมือด้านความมั่นคง และกลไกความร่วมมืออื่น ๆ โดยหลังจากนั้น อาจมีการเจรจาจัดทําความตกลงเสริมสําหรับประเด็นที่ไม่สามารถเจรจาได้ทันในช่วง 11 เดือน

[su_spacer]

ก่อนที่การเจรจาครั้งแรกจะเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 3 มีนาคม นี้ นาย Michel Barnier หัวหน้าคณะเจรจาอียู ได้ยื่นข้อเรียกร้องการเปิดตลาดการค้ากับอังกฤษในระดับ “ทะเยอทะยาน” กล่าวคือ ให้คิดภาษีเป็น 0% และไม่มีการกําหนดโควตา และอียูยังเรียกร้องให้อังกฤษเปิดเสรีภาคบริการหลากหลายสาขา เช่น บริการธุรกิจ สื่อสาร โทรคมนาคม การบริการด้านสิ่งแวดล้อม การค้าดิจิทัล ทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ นอกจากนี้ เพื่อป้องกันมิให้อังกฤษแสวงประโยชน์จากการลดมาตรฐานต่าง ๆ ลง ซึ่งจะทำให้ได้เปรียบทางการค้า อียูยังได้วางเงื่อนไขการเจรจาที่จะต้องรักษา “การแข่งขันที่เป็นธรรม” (level-playing field)

[su_spacer]

โดยประเด็นที่อียูให้ความสําคัญ คือ เรื่องการห้ามมิให้มีการทุ่มตลาด และเรื่องกฎระเบียบและมาตรฐานด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม ภาษี การอุดหนุนจากรัฐ รวมถึงการยอมให้อียูเข้าไปทําประมงในน่านน้ำอังกฤษต่อไป

[su_spacer]

ฝ่าย นาย Boris Johnson นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ได้ออกมาประกาศเช่นกันว่า อังกฤษต้องการเลือกที่จะออกจากทั้งระบบตลาดเดียวและสหภาพศุลกากรของอียู เพื่อให้อังกฤษมีอิสระในการกําหนดนโยบายการค้าของตนเอง ซึ่งจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ โดยมีการอ้างถึงรูปแบบความตกลง FTA อียู-แคนาดา และอียู-ออสเตรเลีย และยังไม่ต้องการยอมรับอํานาจของศาลยุติธรรมอียูอีกด้วย ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ในการเจรจาระหว่างสองฝ่ายต่อไป

[su_spacer]

อย่างไรก็ดี เนื่องจากมีเวลาในการเจรจารูปแบบความสัมพันธ์ดังกล่าวเพียง 11 เดือน ซึ่งหมายถึงโอกาสการเกิด No-deal Brexit ยังมีอยู่ นาย Boris Johnson กล่าวว่าจะไม่ขอเจรจากับอียูเพื่อขยายช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านออกไป ดังนั้น จะต้องติดตามต่อไปว่าจะมีการขอขยายเวลาเปลี่ยนผ่านหรือไม่ ซึ่งจะต้องกระทําภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ทั้งนี้ อังกฤษยังสามารถเริ่มเจรจาความตกลงการค้าใหม่กับประเทศอื่น เช่น สหรัฐฯ และ ออสเตรเลียได้ ซึ่งหากการเจรจาสําเร็จลุล่วงทันเวลา ข้อตกลงการค้าเหล่านี้ก็จะมีผลบังคับใช้เมื่อช่วงการเปลี่ยนผ่านสิ้นสุดลง

[su_spacer]

โอกาสและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้ประเมินว่า ผลกระทบโดยตรงของ Brexit ต่อเศรษฐกิจไทยนั้นค่อนข้างจํากัด เนื่องจากสถานการณ์การค้าระหว่างอังกฤษและประเทศอื่น ๆ รวมถึงไทย ยังคงเป็นไปตามกฎระเบียบเดิม โดยไม่มีการปรับอัตราภาษีใด ๆ แต่อาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากตลาด การเงินโลก โดยเฉพาะค่าเงินปอนด์และยูโรที่อาจมีการอ่อนค่าลงในปัจจุบัน การส่งออกของไทยไปอังกฤษ คิดเป็น 1.5% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย (อังกฤษเป็นคู่ค้าอันดับที่ 20 ของไทย มีมูลค่าการค้ารวมเฉลี่ยต่อปีประมาณ 6.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้ดุลการค้า) สินค้าส่งออกสําคัญของไทยไปอังกฤษ เช่น รถยนต์และอุปกรณ์ ไก่แปรรูป อัญมณี แผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีจํานวนบริษัทไทยที่ไปตั้งโรงงานในอังกฤษเพื่อส่งออกไปอียูไม่มาก แต่ที่น่าสนใจ คือ หลังจากนี้ ไทยจะมีโอกาสทํา FTA เพื่อเปิดตลาดสินค้ากับอังกฤษได้โดยตรง เพราะอังกฤษต้องการหาพันธมิตรทางการค้าใหม่เช่นกัน ซึ่งอาจจะง่ายกว่าการเจรจา FTA กับอียู 27 ประเทศ หากอังกฤษไม่อยู่ในระบบตลาดเดียวและสหภาพศุลกากรของอียูแล้ว อังกฤษอาจไม่ต้องทําตามกฎระเบียบการนําเข้า-ส่งออกของอียู เช่น โควตา และกฎระเบียบด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ ถือเป็นโอกาสให้ไทยส่งออกสินค้าไปอังกฤษได้เพิ่มขึ้น เช่น ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผักผลไม้ และอาหารสด/อาหารแห้ง จากแต่เดิมที่ถูกจํากัดด้วยโควตาการนําเข้าของอียู และอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี

[su_spacer]

ที่ผ่านมา ไทยได้รับโควตาส่งออกไปอียูในอัตราภาษีต่ำรวม 31 รายการ ภายหลัง Brexit อียูจะปรับลดโควตาลง เพราะอังกฤษจะมีโควตาของตนเองด้วย ในการนี้ ไทยจะต้องเจรจาโควตากับอียูและอังกฤษใหม่สําหรับสินค้า เช่น มันสําปะหลัง แป้งมันสําปะหลัง ข้าวขาว ข้าวกล้อง ข้าวหัก ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ปลากระป๋อง และปีกไก่ เป็นต้น โดยเป้าหมายคือการให้โควตารวม ไม่ลดลงจากที่อียูเคยจัดสรรก่อนเกิด Brexit

[su_spacer]

อย่างไรก็ดี ไทยมีความจําเป็นต้องติดตามการเจรจาระหว่างอังกฤษกับอียูอย่างใกล้ชิด ถึงแม้ว่าอังกฤษและอียูจะสามารถบรรลุการเจรจาความสัมพันธ์ฉบับใหม่ภายในสิ้นปี 2563 แต่การที่อังกฤษออกจากระบบตลาดเดียว และสหภาพศุลกากรของอียูอาจทําให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าขายต่อกันขึ้นในอนาคต เช่น การเรียกเก็บภาษีศุลกากร ระหว่างกันต่อสินค้าบางชนิดและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีหลายอย่าง เช่น การใช้โควตาและการตรวจสอบแหล่งกําเนิด ของสินค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบในแง่ลบในทางอ้อมต่อการส่งออกของไทยไปอียูและอังกฤษในอนาคต

[su_spacer]

โดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูต ณ ณ กรุงบรัสเซลส์ / คณะผู้แทนไทยประจําสหภาพยุโรป

Tags: ข้อตกลงสหราชอาณาจักรเศรษฐกิจ/ธุรกิจ/การค้า
Previous Post

บริษัทในมณฑลกวางตุ้งใช้ “เทคโนโลยีโดรน” ป้องกันการแพร่ระบาดของโรค COVID-19

Next Post

ผลการประชุม Global Women’s Forum Dubai ระบุสตรีใน MENA จะเพิ่ม GDP ในภูมิภาคอีก 47%

Tanakorn

Tanakorn

Glob Thailand Administrator

Next Post

ผลการประชุม Global Women's Forum Dubai ระบุสตรีใน MENA จะเพิ่ม GDP ในภูมิภาคอีก 47%

Post Views: 1,020

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X