เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของกัมพูชา Khmer Times รายงานข่าวแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจกัมพูชาว่า นายวงเซย วิสุทธิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าหารกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน กัมพูชา และนายพาน พัลลา ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน กัมพูชา กล่าวในงาน Public Forum on Macroeconomic Management and Budget Law 2030 เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม 2563 ว่าเศรษฐกิจกัมพูชาในปี ค.ศ. 2020 มีแนวโน้มชะลอตัว โดยคาดว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดอยู่ที่ร้อยละ 6.5 – 6.1 เมื่อเทียบกับปี ค.ศ. 2019 ซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจถึงร้อยละ 7.1 โดยการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมีสาเหตุจาก (1) สงครามทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ (2) ความมั่นคงของภูมิศาสตร์การเมืองและของโลกที่ลดลงสืบเนื่องจากความขัดแย้งระหว่างอิหร่านและสหรัฐฯ (3) การแพร่ขยายของแนวคิดการปกป้องทางการค้า (4) ความไม่แน่นอนของผลการพิจารณาระงับสิทธิพิเศษทางการค้า EBA ของกัมพูชา (5) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (6) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสาย พันธุ์ใหม่ และ (7) การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม
[su_spacer]
ปัจจัยภายในประเทศที่มีส่วนทําให้เศราบกิจกัมพูชาชะลอตัว ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจในกัมพูชาที่ขาด ความหลากหลายและความสามารถในการแข่งขันที่ไม่สูงนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องค่าไฟฟ้าและ ระบบโลจิสติกส์ที่ยังไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของกัมพูชาโดยตรง เช่น การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ย่อมทําให้เศรษฐกิจภาคส่วนอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจโลจิสติกส์และการขนส่ง ร้านอาหาร ที่พักอาศัย การก่อสร้าง ชะลอตัวตามไปด้วย การเติบโตในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชาอาจลดลงถึงร้อยละ 20 และ ภาคอุตสาหกรรมผลิตรองเท้าอาจลดลงร้อยละ 30 ตามสัดส่วนการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจกัมพูชาในปีนี้อาจยังคงเติบโตต่อไปแม้อัตราจะไม่สูงเท่าปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลได้เตรียมวางนโยบายการเงินและ อื่น ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นไว้แล้ว และจะถือโอกาสนี้ปฏิรูปเศรษฐกิจในประเทศให้มีประสิทธิภาพและเข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างความหลากหลายทางเศรษฐกิจ และกระจายตลาดส่งออกควบคู่กันไปด้วย หากกัมพูชาถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้า EBA กัมพูชาจะสูญเสียรายได้ราว 500 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และแรงงานจํานวนประมาณ 35,000 รายเป็นอย่างน้อยจะว่างงาน โดยการถูกตัดสิทธิพิเศษดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อโรงงานและผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการแข่งขันต่ำเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม กัมพูชายังมีอุตสาหกรรมประเภทอื่น ๆ ที่สามารถรับรองแรงงานดังกล่าวได้
[su_spacer]
นายกัง โมนิกา รองเลขาธิการสมาพันธ์ผู้ผลิตสิ่งทอแห่งกัมพูชาคาดว่า รัฐบาลกัมพูชาจะมีกลไกและนโยบายรองรับผลกระทบที่เกิดจากการถูกตัดสิทธิพิเศษทางการค้า EBA และจะมีแผนออกนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจกัมพูชาครั้งต่อไปในช่วงเดือนเมษายน 2563 ทั้งนี้ กัมพูชาน่าจะสามารถหันไปทําการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอื่นเพื่อชดเชยการชะลอตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอ อย่างไรก็ดี ตนหวังว่าคณะกรรมาธิการด้านการค้าสหภาพยุโรปจะพิจารณายกเว้นการตัดสิทธิพิเศษทางการค้า EBA ภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของกัมพูชา ซึ่งปัจจุบันถือว่าปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่าง ๆ และมีสภาพแวดล้อมการทํางานของแรงงานที่ดีเมื่อเทียบกับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนและเอเชียใต้
[su_spacer]
เศรษฐกิจกัมพูชามีแนวดน้มอัตราการเติบโตน้อยกว่าร้อยละ 7 ในปีนี้ตามคาดการณ์ของฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่ผ่านมา อันเป็นผลจากความเชื่อมโยงของระบบเศรษฐกิจกัมพูชากับ เศรษฐกิจโลกที่เพิ่มมากขึ้น การพึ่งพิงการส่งออกโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอและการผลิตรองเท้าและรายได้จากภาคการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปราะบางในการรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงของกัมพูชาจําเป็นที่รัฐบาลกัมพูชาจะต้องเร่งพัฒนาแรงงานฝีมือเพื่อเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น มีมูลค่าเพิ่ม หรืออาจจําเป็นต้องส่งออกแรงงานไปยังต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านอาจเป็นเป้าหมายหนึ่ง ทั้งนี้ ฝ่ายไทยอาจมีส่วนสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของกัมพูชาได้ โดยการร่วมวางแผนและพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน กัมพูชา – ไทย ให้ตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต รวมทั้งอาจมีความร่วมมือกับภาคเอกชนไทยเพิ่มขึ้น เพื่อให้แรงงานฝีมือของกัมพูชามีโอกาสทํางานและสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมไทยเช่นกัน
[su_spacer]