ภูมิหลังและแนวคิดการจัดงาน VNR500 เริ่มจัดขึ้นในปี 2550 เป็นการจัดอันดับและประกาศเกียรติคุณให้กับธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเวียดนาม 500 อันดับ จัดทําโดยสํานักจัดอันดับ Vietnam Report และ สำนักข่าว VietnamNet และได้รับการสนับสนุนทําสํารวจจากคณาจารย์ Harvard Business School ทั้งนี้ ในปี 2562 นาย Vu Dang Vinh ผู้จัดการใหญ่สํานักจัดอันดับ Vietnam Report กล่าวในฐานะผู้เปิดพิธีว่า การจัดทํารายงาน VNR500 ในช่วง 13 ปีที่ผ่านมา มีส่วนต่อการสร้างและพัฒนาแบรนด์ของภาคธุรกิจ ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ช่วยภาคธุรกิจสามารถดึงดูดทรัพยากรทางการลงทุน และสามารถเข้าถึงโอกาสทางการลงทุนต่าง ๆ มากกว่านั่น ในปี 2563 จะมีการมอบรางวัลให้กับภาคธุรกิจที่โดดเด่นในปี 2562 ซึ่งประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่ เวชภัณฑ์ การท่องเที่ยว และการขนส่งและโลจิสติกส์ และมอบรางวัลให้กับสุดยอดธุรกิจเวียดนาม 50 อันดับ (Top 50 Vietnam the Best) ด้วย
[su_spacer]
ภาคธุรกิจที่ได้รับรางวัล Top 50 Vietnam the Best เป็นธุรกิจที่สามารถฝ่าฟันกับอุปสรรคทางการลงทุนจนสามารถเป็นส่วนสําคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) Electricity of Vietnam (EVN) – รัฐวิสาหกิจด้านการผลิตและกระจายไฟฟ้า (2) Viettet – รัฐวิสาหกิจด้านโทรคมนาคม (3) Vietnam National Petroleum Group – รัฐวิสาหกิจด้านการผลิตและการค้าน้ำมันและก๊าซ (4) Virgroup – ธุรกิจเอกชนเวียดนามด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ และ (5) PetroVietnam BRS – รัฐวิสาหกิจด้านการผลิตและการค้าน้ำมันและก๊าซ ทั้งนี้ ธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุด 5 อันดับแรกในเวียดนาม (1) Samsung Electronics Vietnam Thai Nguyen (เกาหลีใต้) (2) Electricity of Vietnam (EVN) (รัฐวิสาหกิจเวียดนาม) (3) PetroVietnam (รัฐวิสาหกิจเวียดนาม) (4) Viettel (รัฐวิสาหกิจ เวียดนาม) และ (5) Vietnam National Petroleum Group (รัฐวิสาหกิจเวียดนาม)
[su_spacer]
มากกว่านั่น ธุรกิจไทยที่ติดอันดับ VNR500 ได้แก่ (1) C.P. Vietnam Corporation (อันดับที่ 18) – ทุนต่างชาติร้อยละ 100 ลงทุนโดยเครือ C.P. (2) Saigon Beer Alcohol Beverage Corporation (Sabeco) (อันดับที่ 34) – ทุนเอกชน ร้อยละ 100 ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ บริษัท Vietnam Beverage ในเครือ Thai Beverage (3) Big C (อันดับที่ 43) – ทุนเอกชนร้อยละ 100 ลงทุนโดยเครือ Central Group (4) Siam City Cement (Vietnam) (INSEE) (อันดับที่ 201) – ธุรกิจร่วมทุนกับต่างชาติ และ (5) Binh Minh Plastic JSC (อันดับที่ 240) – ธุรกิจร่วมทุนกับต่างชาติ ผู้ถือหุ้นใหญ่ คือ Nawaplastic Industries Co., Ltd. อย่างไรก็ตาม จํานวนผู้ประกอบการในรายการ VNR500 เป็นธุรกิจเอกชนของเวียดนามมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ รัฐวิสาหกิจและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ อย่างไรก็ดี รัฐวิสาหกิจมีสัดส่วนในโครงสร้างทางรายได้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 46.39 ซึ่งปรากฏชัดเจนในการจัดอันดับทุกรายการจะมีรัฐวิสาหกิจอยู่ในอันดับต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเวียดนามยังคงควบคุมและผูกขาดธุรกิจสําคัญของประเทศ
[su_spacer]
โครงการลงทุนในรายการ VNR500 ส่วนใหญ่อยู่ในนครโฮจิมินห์และกรุงฮานอย ส่วนจังหวัด อื่น ๆ ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ของเวีดนาม เช่น จังหวัดบึงห์เชือง จังหวัดด่งนาย จังหวัดบ่าเหรียะ-หวุงเต่า และจังหวัดในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง ทั้งนี้ ธุรกิจเอกชนของเวียดนามที่มีศักยภาพและโดดเด่นอย่างยิ่ง คือ สาขาการเงินและการธนาคาร โดยธนาคารพาณิชย์เวียดนามเกือบทุกรายมีชื่อติดในรายการ VNR500 และการเงินและการธนาคารยังเป็นหนึ่งในสาขา การลงทุนหลักของเวียดนามในต่างประเทศด้วย ส่วนสาขาเวชภัณฑ์ การท่องเที่ยวและการขนส่งและโลจิสติกส์ซึ่งมีการมอบรางวัลพิเศษ เป็นสาขาการลงทุนที่เติบโตอย่างโดดเด่นในปี 2562
[su_spacer]