ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ปี ค.ศ. 2012-2020 ของกัมพูชา มีโครงการสำคัญที่เกี่ยวกับการพัฒนาท่าอากาศยาน ได้แก่ การขยายท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญและ ท่าอากาศยานเสียมราฐ การสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเกาะกง การขยายลานวิ่งเครื่องบินท่าอากาศยาน นานาชาติพระสีหนุ การสร้างท่าอากาศยานเกาะรงและท่าอากาศยานสตึงแตรง และการย้ายท่าอากาศยานใน จังหวัดรัตนคีรี จังหวัดมณฑลคีรี และจังหวัดพระวิหาร เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งนี้ แม้การพัฒนาท่าอากาศยานระดับท้องถิ่นจะยังไม่มีความคืบหน้ามากนัก แต่ในส่วนของการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติ ถือได้ว่า กัมพูชาบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ที่ตั้งไว้เกือบทั้งสิ้น และน่าจะช่วยสนับสนุนการสร้างความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวที่ประสงค์เดินทางท่องเที่ยวในกลุ่มประเทศ CLMVT ด้วย
[su_spacer]
- ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ
พื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญแห่งใหม่จะตั้งอยู่ใน จ.กันดาล ห่างจากกรุง พนมเปญไปทางใต้ประมาณ 30 กม. มีพื้นที่ขนาด 2,500 เฮกตาร์หรือกว่า 15,600 ไร่ พื้นที่ใหญ่กว่า ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงพนมเปญแห่งเดิมประมาณ 6.5 เท่า ใช้งบประมาณ ทั้งสิ้น 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ระหว่างกรมการบินพลเรือนของกัมพูชา และ Overseas Cambodia Investment Corp (OCIC) โดยขณะนี้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามแผน และคาดว่าจะ เสร็จภายในปี ค.ศ. 2023
[su_spacer]
- ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ
พื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐแห่งใหม่จะอยู่ห่างจาก จังหวัดเสียมราฐประมาณ 51 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ และห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์และพื้นที่ตั้งกลุ่มปราสาทต่าง ๆ ประมาณ 40 กิโลเมตร การก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่มีเหตุเนื่องจากท่าอากาศยานแห่งเดิมอยู่ใกล้กับอุทยาน ประวัติศาสตร์ แรงสั่นสะเทือนจะส่งผลต่อฐานของกลุ่มปราสาทโบราณต่าง ๆ ได้ในระยะยาว และเพื่อรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจังหวัดเสียมราฐซึ่งมีจำนวนมากขึ้น โดยท่าอากาศยานแห่งใหม่จะมีพื้นที่ประมาณ 750 เฮกตาร์หรือกว่า 4,500 ไร่ ใช้งบประมาณก่อสร้างประมาณ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อ ปี ค.ศ. 2014 และคาดว่าจะใช้เวลาอีก 2 – 3 ปีจึงก่อสร้างเสร็จ โดยจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึงปีละ 7 ล้านคน
[su_spacer]
- ท่าอากาศยานนานาชาติพระสีหนู
ได้เริ่มขยายปรับปรุงอาคารผู้โดยสารเครื่องบินตั้งแต่ปี ค.ศ. 2018 ทั้งอาคารผู้โดยสาร บุคคลสำคัญและอาคารผู้โดยสารขาเข้า รวมทั้งได้เริ่มขยายลานวิ่งเครื่องบิน (runway) ตั้งแต่ต้นปี ค.ศ. 2020 จาก 2,500 เมตรเป็น 3,300 เมตร ซึ่งเมื่อก่อสร้างเสร็จตามกำหนดในกลางปี ค.ศ. 2020 จะถือเป็นลานวิ่ง เครื่องบินที่ยาวที่สุดใน กัมพูชา ใช้งบประมาณราว 21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อรองรับผู้โดยสารที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น ถึงร้อยละ 145 ในปี ค.ศ. 2019 นอกจากนี้ ท่าอากาศยานนานาชาติพระสีหนุยังมีโครงการระยะยาวที่จะขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารเพิ่มอีกในอนาคต โดยระยะแรก จะขยายท่าอากาศยานให้ สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 3.6 ล้านคนต่อปี และระยะต่อ ๆ ไป จะขยายท่าอากาศยานให้สามารถรองรับ ผู้โดยสารได้ 10 ล้านคนต่อปีในที่สุด
[su_spacer]
- ท่าอากาศยานนานาชาติเกาะกง
ปัจจุบัน จังหวัดเกาะกงมีการก่อสร้าง/พัฒนาท่าอากาศยานสองแห่ง ได้แก่ (1) ท่าอากาศยาน นานาชาติดาราสาคร (Dara Sakor International Airport) ซึ่งพัฒนาโดย Tianjin Union Development Group ของจีน ในเขต Botum Sakor และมีกำหนดเปิดใช้ในปลายปี ค.ศ. 2020 ใช้งบประมาณก่อสร้างและ พัฒนาประมาณ 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ (2) ท่าอากาศยานนานาชาติเกาะกง (Koh Kong International Airport) ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง LYP Group ของกัมพูชา และ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ Bangkok Airways ของไทยมีพื้นที่ประมาณ 500 เฮกตาร์หรือกว่า 3,600 ไร่ในเขต Mondut Seima งบประมาณลงทุนเบื้องต้น 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐและยังมีแนวโน้มที่จะขยายขึ้น สถานะปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3 – 5 ปี
[su_spacer]
- ท่าอากาศยานพระตะบอง
ปัจจุบันท่าอากาศยาน จังหวัดพระตะบองอยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 128 เฮกตาร์หรือกว่า 768 ไร่ และมีลานวิ่งเครื่องบินความยาว 1,600 เมตร ซึ่งไม่ได้ใช้การเชิงพาณิชย์มา เกินกว่า 2 ทศวรรษ เมื่อช่วงปลายเดือน มกราคม 2563 กลุ่มนักลงทุน Airaviata (AAT) Cambodia Regional Airlines จากฝรั่งเศสได้หารือกับผู้ว่าราชการ จ.พระตะบอง เกี่ยวกับโอกาสในการฟื้นฟูและพัฒนา ท่าอากาศยานดังกล่าวเพื่อรองรับเส้นทางบินภายในประเทศและเครื่องบินขนาดเล็ก และนักท่องเที่ยวที่ ต้องการเดินทางจากกรุงพนมเปญไปยังจังหวัดอื่น ๆ ด้วยระยะเวลาที่ไม่นานเกินไป นอกจากนี้ ในอดีตกัมพูชายังเคยมีเส้นทางบินในประเทศระหว่างกรุงพนมเปญและ จังหวัดเสียมราฐมายัง จังหวัดพระตะบองอย่างสม่ำเสมอ
[su_spacer]
ถึงอย่างไรก็ตามกัมพูชามีท่าอากาศยานและลานบินในประเทศหลายแห่งที่ถูกปิดใช้ เนื่องจากการดำเนินการได้หยุดชะงักไปในช่วงการยึดอำนาจของเขมรแดง แต่หากได้รับการพัฒนาปรับปรุง ก็จะเป็นพื้นที่มีศักยภาพที่สามารถส่งเสริมความเชื่อมโยงและการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและระดับภูมิภาคได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการเดินทางไปจังหวัดต่าง ๆ อาทิ พระวิหาร มณฑลคีรี พระตะบอง และกัมปอต
[su_spacer]