เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2563 สภากรุงปรากได้อนุมัติข้อเสนอการเข้าร่วมกับเมืองท่องเที่ยวสําคัญใน ภูมิภาคยุโรปในการผลักดัน ครม. และประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการการให้บริการเช่าที่พักระยะสั้นสําหรับนักท่องเที่ยวเช็ก โดยการตัดสินใจเข้าร่วมการหารือของกรุงปรากในครั้งนี้สืบเนื่องจากการที่กรุงปรากต้องประสบปัญหาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของเมืองและปัญหาขยะอันเป็นผลจากจํานวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและการขาดแคลนที่อยู่อาศัย ซึ่งปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากเจ้าของที่พักอาศัยส่วนใหญ่เริ่มปรับปรุงที่พักของตนและเปิดบริการให้เช่าที่พักระยะสั้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อมาตรการรักษาความปลอดภัยและการใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ รวมถึงก่อให้เกิดช่องโหว่ในการจัดเก็บภาษีรายได้จากผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะดังกล่าว โดยเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในยุโรป เช่น Amsterdam, Barcelona, Berlin, Bordeaux, Brussels, Krakow, Munich, Paris, Velencia และ Vienna ก็ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันและได้ร่วมลงนามในเอกสารคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว
[su_spacer]
ปัจจุบัน กรุงปรากมีประชากรประมาณ 1.3 ล้านคน ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมากรุงปรากมีจํานวนประชากรเพิ่มขึ้นประมาณ 12% (ประมาณ 150,000 คน) โดยปัจจัยสําคัญมาจากการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและ กรุงปรากกลายเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวมากที่สุดใน 25 อันดับแรกของโลก ในปี 2562 ซึ่งกรุงปรากอยู่ในอันดับที่ 22 สถิติจาก Prague Instiute of Planning and Development (IPR Praha) ระบุว่า ในปี 2560 นักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังกรุงปรากใช้บริการเช่าที่พักผ่านบริษัท Airbnb ถึง 3 ล้านคน ในขณะที่ห้องเช่าถึง 11,500 แห่งถูกนํามาปล่อยเช่าแบบระยะสั้น โดยประมาณ 1 ใน 5 ของจํานวนดังกล่าวเป็นห้องเช่าในย่านเมืองเก่าซึ่งจากสถิติในบางช่วงเวลาปริมาณห้องเช่าที่มีอยู่ในตลาดได้ขยับขึ้นสูงถึง 1 ใน 4 ของจํานวนห้องพักที่ปล่อยเช่าทั้งหมดในกรุงปรากผ่าน Airbnb นอกจากนั้น การสํารวจสถิติยังพบว่า เมื่อเทียบกับเมืองท่องเที่ยวหลักในยุโรป กรุงปรากนับว่ามีอัตราการให้เช่าห้องพักแบบที่ผู้ให้เช่ายังคง พักอาศัยร่วมกับผู้เช่าระยะสั้นในจํานวนที่ต่ํากว่าหลาย ปท. อีกทั้งเจ้าของห้องเช่าหลายรายดําเนินธุรกิจให้เช่าที่พัก มากกว่า 2 แห่ง ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่าเมืองท่องเที่ยวอื่นในยุโรป
[su_spacer]
การให้เช่าที่พักในระยะสั้นผ่านบริษืจัดหาที่พัก เช่น Airbnb, Flipkey, HomeAway, House Trip, Vacation Rentals และ Vrbo ก่อให้เกิดปัญหาสําคัญต่อผู้อยู่อาศัยในกรุงปรากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องความ ปลอดภัยภายในที่อยู่อาศัย การก่อปัญหารบกวนยามค่ําคืน และการจัดเก็บภาษีเงินได้จากผู้ดําเนินธุรกิจให้เช่าที่พัก ซึ่งที่ ผ่านมาสำนักงานกรุงปรากได้ดําเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขและลดผลกระทบของปัญหาดังกล่าว เช่น การบังคับใช้กฎหมายการห้ามส่งเสียงดังยามวิกาลอย่างเข้มงวด การทําลายและรื้อถอนระบบอํานวยความสะดวกในการ check-in อัตโนมัติที่ผู้ให้ เช่าที่พักระยะสั้นนํามาติดตั้งไว้เพื่ออํานวยความสะดวกในการ check-in และ check-out ได้ตลอด 24 ชม. ให้กับนักท่องเที่ยวและการเร่งแก้ไขปัญหาสภาพภูมิทัศน์ของกรุงปรากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดระเบียบอาคารที่อยู่อาศัย ร้านอาหาร ร้านค้า และร้านนวดในย่านเมืองเก่าให้ยังคงไว้ซึ่งความสวยงามตามแบบดั้งเดิม และการจัดการขยะภายในพื้นที่ชุมชน และย่านเมืองเก่า
[su_spacer]
จากการเปิดเผยของสํานักงานสถิติเช็กในปี 2562 มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวที่เช็กมากกว่า 21 ล้านคน (มีนักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวที่กรุงปรากประมาณ 9 ล้านคน) โดยเยอรมนีเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ใหญ่ที่สุด (ประมาณ 2 ล้านคน) สโลวะเกีย (735,000 คน) โปแลนด์ (620,000 คน) สหรัฐฯ (545,000 คน) สหราชอาณาจักร (497,000 คน) เกาหลีใต้ (416,000 คน) อิตาลี (410,000 คน) และออสเตรีย (300,000 คน) ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือน ม.ค. 2563 สำนักงานกรุงปรากได้เปิดตัวศูนย์ข้อมูลสําหรับชาวต่างชาติ (Prague Expat Center) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูล ให้บริการด้านคําปรึกษาคําแนะนําที่จําเป็นต่อการปรับตัว และการย้ายถิ่นฐานของชาวต่างชาติที่จะเข้ามาอาศัยในเช็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่กรุงปราก รวมทั้งการให้คําแนะนําด้าน การท่องเที่ยวและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมระหว่างการท่องเที่ยวที่กรุงปรากซึ่งการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลดังกล่าวเป็นไปใน ลักษณะเดียวกับศูนย์ข้อมูลฯ ในเมืองขนาดใหญ่ของประเทศในภูมิภาคยุโรป และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของสำนักงานกรุงปราก ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวต่างชาติในกรุงปรากควบคู่กับการรักษาความปลอดภัยและลด ผลกระทบอันเกิดจากนักท่องเที่ยวต่อประชาชนและผู้ที่พํานักอยู่ในกรุงปรากในระยะยาว
[su_spacer]
นอกจากนี้ การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลสําหรับชาวต่างชาติและการลงนามในเอกสารคณะรัฐมนตรีเพื่อจัดระเบียบการให้บริการเช่าที่พักในระยะสั้นนับเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินการตามแผนการสร้างกรุงปรากให้เป็นเมืองอัจฉริยะภายในปี 2573 (Smart Prague 2030) ซึ่งสำนักงานกรุงปรากได้ประกาศแผนการดําเนินการตั้งแต่ปี 2561 ภายใต้แนวคิด “Innovations for a Better Life in Prague” ซึ่งเน้นการนําเทคโนโลยีชั้นสูงมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในกรุงปราก โดยแนวทางในการพัฒนาประกอบด้วย 6 สาขา ได้แก่ (1) Mobility of the Future : เน้นการใช้ยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย พลังงานสะอาด ยานยนต์ไร้คนขับ และ share-ride (2) Data Area : เน้นการเชื่อมต่อของข้อมูลด้วยระบบอินเตอร์เน็ตและ เครือข่ายโทรคมนาคมที่มีความปลอดภัยและทันสมัย (3) Attractive Tourism : การนําเทคโนโลยีมาใช้ในการอํานวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว เช่น การให้ข้อมูลสถานที่ เครื่องจําหน่ายบัตรเข้าชมสถานที่อัจฉริยะ และการยกระดับให้ การท่องเที่ยวระหว่างสถานที่ต่าง ๆ ในกรุงปรากทําได้สะดวกมากยิ่งขึ้น (4) Smart Building and Energy : การพัฒนา และปรับปรุงอาคารที่พักอาศัยและสํานักงานให้เป็นโครงสร้างอัจฉริยะที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับ สวล. (5) People and Urban Environment : การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนนและการใช้ระบบ censor เพื่อเพิ่มมาตรการความปลอดภัย เช่น การเปิด-ปิดไฟส่องสว่างตามถนน และการควบคุมมลพิษ (6) Waste-free city : การลดขยะและพัฒนาระบบการบริหารจัดการของเสียด้วยระบบเทคโนโลยี
[su_spacer]