เศรษฐกิจอียู-ไทย 2562 เป็นช่วงปีที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวเกินกว่าที่ใครจะคาดคิด โดยผลพวงยังส่งผลกระทบในวงกว้าง จนถึงปี 2563 ไม่เพียงแต่การค้าการลงทุน แต่ก่อให้เกิดวิกฤตความเชื่อมั่น (confidence crisis) อาทิ ความมั่นคง ภาคครัวเรือนที่ลดลง ภาวะการเงินที่ตึงตัวฉับพลันในบางช่วงเวลาจากความผันผวนในตลาดการเงินโลก การชะลอ ตัวของสินเชื่อภาคธุรกิจและครัวเรือน ที่ล้วนเป็นเหตุให้ธนาคารกลางหลักของหลายประเทศดําเนินนโยบายผ่อน คลายทางการเงิน ทั้งการลดดอกเบี้ยนโยบายและการเพิ่มสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจอียูจะ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 แต่อัตราการขยายตัวลดลง โดยตามรายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจยูโรโซน ประจําฤดูใบไม้ร่วง อียูคาดการณ์ว่ามูลค่า GDP ปี 2562 จะขยายตัวเพียง 1.1% ต่ำกว่าปี 2561 ที่ 1.99% และจะทรงตัวที่ 1.2% ในปี 2563 2564 ถือว่าเข้าสู่ “ภาวะซะลอตัวยาวนานและเงินเฟ้อต่ํา” ตัวจุดชนวน อันดับแรกคงหนีไม่พ้นปัญหาการค้าระหว่างประเทศ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน และสหรัฐฯ-อียู ปัญหารัฐ ภูมิศาสตร์โดยเฉพาะการถอนตัวของสหราชอาณาจักรจากอียู (Brexit) รวมไปถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการ เปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่อียูจัดให้เป็นนโยบายสําคัญลําดับต้นๆ ของคณะทํางานขุดใหม่ ด้วยการออก แผนปฏิรูปสีเขียวฉบับใหม่ของอียู (The European Green Deal) เหล่านี้เป็นปัจจัยสําคัญในการกําหนดทิศทาง ของเศรษฐกิจโลก
[su_spacer]
พิษสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีนกระทบห่วงโซ่อุปทานโลก สงครามการค้าระหว่างสองฝั่งมหาสมุทร แอตแลนติก (อียู – สหรัฐฯ) ก็ส่งผลกระทบรุนแรงไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะเศรษฐกิจอีย-สหรัฐฯ รวมกันเท่ากับ ครึ่งหนึ่งของ GDP โลก และการค้าระหว่างอียูกับสหรัฐฯ ก็คิดเป็นหนึ่งในสามของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ ทั้งหมด เมื่อปี 2561 สหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีนําเข้าเหล็กและอะลูมิเนียมจากยุโรป ซึ่งทําให้อียูตอบโต้ด้วยการ เก็บภาษีนําเข้าร้อยละ 25 จากผลิตภัณฑ์สหรัฐฯ มูลค่า 2,800 ล้านดอลลาร์ จนถึงปมขัดแย้งกรณีการอุดหนุน Airbus-Boeing มากว่า 15 ปี ช่วงปลายปี 2562 สงครามเริ่มเปิดฉากอีกครั้งเมื่อ WTO มีมติเห็นชอบให้สหรัฐฯ สามารถขึ้นภาษีนําเข้าจากอียูในคดีพิพาทบริษัท Airbus มูลค่า 7,500 ล้านดอลลาร์ ตั้งแต่วันที่ 18 ต.ค. 2562 เป็นต้นไป เครื่องบินพลเรือนจากสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี และสเปน ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิต Airbus ถูก เรียกเก็บภาษีนําเข้าร้อยละ 10 และร้อยละ 25 สําหรับสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมอื่นๆ ก่อนหน้านี้ WTO เคยมี คําวินิจฉัยว่าทั้ง Airbus และ Boeing ต่างได้รับการอุดหนุนอย่างผิดกฎหมายทั้งคู่ โดยเมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า (DG TRADE) ได้ประกาศร่างรายการสินค้าของสหรัฐฯ ที่อียูประสงค์จะขึ้นภาษี ตอบโต้ เช่น เครื่องบินและชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ และสินค้าเกษตร เป็นต้น โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่า ผลกระทบจะเกิดขึ้นต่อบริษัทเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะต่อผู้ผลิตและผู้ประกอบการรายเล็ก และท้ายที่สุดแล้วการ เก็บภาษีนําเข้าก็คือการเพิ่มราคาสินค้าสําหรับผู้บริโภค
[su_spacer]
เหตุการณ์ Brexit ทําให้การรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งของสหภาพยุโรปกว่า 6 ทศวรรษเกิดความสั่นคลอน ขึ้น โดยอียูที่มีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐฯ ต้องเผชิญกับความท้าทายและความไม่แน่นอน ของ Brexit ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการสูญเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ (อียูและสหราชอาณาจักร เป็นตลาดการค้าที่พึ่งพาซึ่งกันและกันมากที่สุด ข้อมูลของสํานักงานสถิติเผยว่าในปี 2018 อียูเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของสหราชอาณาจักร และอียูเป็นตลาดส่งออกประมาณร้อยละ 46 และตลาดนําเข้าประมาณร้อยละ 54 ของ สหราชอาณาจักร โดยมีมูลค่ารวมประมาณ 6.3 แสนล้านปอนด์) และอาจจะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะสามารถ ชดเชยมูลค่าการสูญเสียได้เนื่องจากการถอนตัวของสหราชอาณาจักรจากอียูเลื่อนออกไปหลายครั้งในปีที่ผ่านมา และรัฐบาลหลายประเทศจําเป็นต้องอัดฉีดเงินเพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจในช่วงการเตรียมความพร้อมรับมือและช่วง เปลี่ยนผ่าน กิจกรรมทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นการค้าและการลงทุนทั้งในสหราชอาณาจักรและอียูที่มีสหราช อาณาจักรอยู่ในห่วงโซ่อุปทานต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างหรือกระบวนการผลิตใหม่ให้สอดคล้องกับการหายไปของ สิทธิพิเศษทางการค้าที่สหราชอาณาจักรเคยได้รับจากอียู ตลอดจนการคํานึงถึงผลกระทบต่อประเทศที่สามด้าน การจัดการความตกลงทางการค้าทวิภาคีกับอียูและสหราชอาณาจักร เกาหลีใต้เป็นประเทศหนึ่งที่ได้พยายามใช้ ประโยชน์เพื่อเรียกร้องต่ออียู่ในประเด็นข้างต้น อย่างไรก็ดี เมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2563 ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป นาง Ursula Von der Leyen เดินทางไปสหราชอาณาจักรเพื่อหารือเกี่ยวกับการเจรจาความสัมพันธ์ในอนาคต ระหว่างทั้งสอง อียูแสดงความตั้งใจและเตรียมพร้อมสําหรับการเจรจาความสัมพันธ์ในอนาคตรวมถึงการเจรจาทาง การค้าอย่างเร็วที่สุดก่อน 31 ธ.ค. 2020 เพื่อป้องกันความเสียหายและ No-deal Brexit ที่ยังคงเกิดขึ้นได้
[su_spacer]
ปัจจัยที่สามที่สามารถสร้างความเสียหายทั่วโลกคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลุ่มนัก เศรษฐศาสตร์ชั้นนําของโลกกล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความล้มเหลวของตลาดที่ใหญ่ที่สุดและ กว้างขวางที่สุด ในปีที่ผ่านมา การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP25) ชูวาระ สําคัญนั่นคือการพยายามนําเอาความตกลงปารีสปี 2558 ไปปฏิบัติจริงอย่างเต็มรูปแบบรวมถึงการควบคุมไม่ให้ อุณหภูมิเฉลี่ยโลกเพิ่มขึ้นเกิน 1.5 องศาเซลเซียสเมื่อเทียบกับยุคก่อนอุตสาหกรรมโดยต้องหาข้อสรุปให้ได้ก่อนสิ้น ปี 2563 หนึ่งในประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้และต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปในการประชุม COP26 คือการตั้ง กฎของตลาดคาร์บอนในการซื้อขายแลกเปลี่ยนการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอียูซึ่งให้ความสําคัญเกี่ยวกับ ประเด็นนี้ก็ได้เปิดตัวนโยบาย European (Green Deal ภายใต้การนําของนาง Ursula Von der Leyen ซึ่งมี เป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้เหลือศูนย์ภายในปี 2050 โดยมีแผนกลยุทธ์ที่สําคัญได้แก่ การเสนอร่าง Climate Law ในช่วงเดือน มี.ค. 2563 การเริ่มเก็บภาษีคาร์บอนกับสินค้านําเข้าภายในปี 2564 การพิจารณาปรับขึ้นภาษีพลังงาน (ภาษีน้ํามัน) ภายในเดือน มิ.ย. 2564 รวมถึงการลดการปลดปล่อยมลพิษ การ จัดการของเสีย การคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพและการจัดการทางระบบนิเวศน์ การทําการเกษตรอย่าง ยั่งยืน การอนุรักษ์ป่าไม้ การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนและการพัฒนาเทคโนโลยี ใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในบริบทของการเจรจา FTA ซึ่งไทยควรคํานึงถึงสําหรับการเจรจา FTA ไทย-อียูเนื่องจากอียูได้ผนวกประเด็นสิ่งแวดล้อมไว้เป็นเรื่องหลักในการเจรจา อาทิ การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว และ ต้องการเรียกร้องให้คู่เจรจาปฏิบัติตามข้อบทในความตกลงระหว่างประเทศโดยเฉพาะความตกลงปารีสที่เกี่ยวกับ ปัญหาโลกร้อน หรือกรณีไฟป่าอเมซอนที่ทําให้สภายุโรปออกมาแสดงท่าที่ที่จะชะลอการให้สัตยาบันความตกลง FTA กับ Mercosur ดังนั้น ไทยจึงจําเป็นต้องทบทวนและปรับปรุงยุทธศาสตร์และนโยบายสีเขียวของประเทศให้มี ความก้าวหน้าและสอดคล้องกับข้อเรียกร้องและมาตรการต่างๆ ของอียูเพื่อจะได้ใช้เป็นโอกาสในการพัฒนา โครงสร้างเศรษฐกิจสีเขียวของประเทศและพัฒนาศักยภาพของภาคธุรกิจไทย
[su_spacer]
ปัจจัยข้างต้นมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจโลกและสถานการณ์ทางการเมืองในปี 2563 อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึง ความท้าทายอื่นๆ อาทิ ปัญหาผู้อพยพที่ยังคงหลั่งไหลเข้ามาสู่ยุโรปทั้งทางน้ําและทางบก (จํานวน 125,000 คนใน ปี 2562) การแข่งขันทางเศรษฐกิจระหว่างอียู-จีน โดยเฉพาะประเด็นของการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรมที่อียูมองว่า รัฐบาลจีนใช้มาตรการสนับสนุนบริษัทในประเทศรวมถึงปัญหาการเข้าถึงตลาดจีนของบริษัทอียู ความตึงเครียด ทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ-อียูล่าสุด ที่สหรัฐฯ ขู่จะขึ้นภาษีนําเข้าสินค้าจากฝรั่งเศสเพื่อตอบโต้ภาษีบริการดิจิทัล ของฝรั่งเศส (Digital Services Tax) โดยอียูก็มีท่าที่จะร่วมมือกับฝรั่งเศสเพื่อตอบโต้สหรัฐฯ รวมถึงเหตุการณ์ที่น่า จับตามองต่อไทย อาทิ การเจรจาการค้าระหว่างอียู-สหราชอาณาจักร พัฒนาการของการเจรจา FTA EU – Mercosur ในประเด็นการแก้ไขปัญหาการทําลายป่าอเมซอน และการพิจารณาร่าง FTA ของ EU-Vietnam ใน ประเด็นแรงงานของรัฐสภายุโรปช่วงไตรมาสแรกของปี 2563 อนึ่ง การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2563 คาดว่า จะลดเหลือร้อยละ 2.9 ซึ่งเป็นการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ต่ําที่สุดนับตั้งแต่การเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา และสําสุด สหรัฐฯ ได้สังหารนายพล Qassem Soleimani ของอิหร่านซึ่งอาจเป็นชนวนนําไปสู่ ความขัดแย้งในตะวันออกกลางอีกครั้งหนึ่ง จึงคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2020 อาจจะเริ่มต้นได้ไม่ดีนัก ดังนั้น ภาคธุรกิจไทยจึงต้องติดตามข่าวสารและเตรียมพร้อมรับมือถึงสถานการณ์ความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
[su_spacer]