ไฮไลท์
- เส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก (เส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก- NWLSC)เป็นแผนการพัฒนางานขนส่งและโลจิสติกส์ที่รัฐบาลจีนประกาศยกฐานะให้เป็นยุทธศาสตร์แห่งชาติแล้ว
- เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงมีบทบาทสำคัญในเส้นทาง NWLSC เนื่องจากรัฐบาลกลางได้กำหนดให้ “กลุ่มท่าเรืออ่าวเป่ยปู้” และ “ด่านพรมแดนทางบก” ของกว่างซี เป็น hub สำคัญที่มณฑลทางภาคตะวันตกของจีนสามารถใช้เป็นประตูเชื่อมออกสู่ต่างประเทศ โดยอาศัยโมเดลการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในทุกมิติ ทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางทะเล และทางอากาศ
- “นครหนานหนิง” เป็นศูนย์กลางของเส้นทาง NWLSC โดยมี “เส้นทางขนส่งเชื่อมทางทะเล+รถไฟ” เป็นเส้นทางหลัก (ท่าเรือทะเล) และมี “เส้นทางขนส่งเชื่อมทางรถไฟ+ถนน” เป็นเส้นทางเสริม (ด่าชายแดน) ในการเชื่อมโยงพื้นที่ภาคตะวันตกไปยังท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้กว่างซี และด่านชายแดนสำคัญของกว่างซี(จีน)-เวียดนาม
- รัฐบาลกว่างซีตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2578 โครงข่ายเส้นทาง NWLSC จะเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางขนส่งเส้นหลักทุกเส้นจะมาบรรจบที่กว่างซี ภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์จากการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบได้เต็มที่ ประสิทธิภาพการให้บริการด้านโลจิสติกส์และการผ่านพิธีการศุลกากรมีมาตรฐานชั้นนำระดับสากล และต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์และค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก
[su_spacer]
[su_spacer]
รัฐบาลเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วงได้ประกาศใช้ “แผนพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์กว่างซีบนเส้นทางการขนส่งเชื่อมทางบกกับทางทะเลสายใหม่แห่งภาคตะวันตก หรือ NWLSC (ระหว่างปี 2562-2568)” โดยกำหนดให้ “นครหนานหนิง” เป็น hub โลจิสติกส์ระหว่างประเทศมุ่งสู่อาเซียน
[su_spacer]
แนวคิดหลักในแผนพัฒนาฯ คือ การขยายบทบาทการเป็น Gateway การเสริมสร้างศักยภาพการเป็นศูนย์กลาง การสนับสนุนเครือข่ายการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ และการส่งเสริมให้เกิดการบรรจบของอุตสาหกรรม (industry convergence) ภายใต้โมเดลการพัฒนา “สองช่องทาง หกศูนย์กลาง สี่แถบหลัก และหลายประตู”
[su_spacer]
[su_spacer]
ในแผนพัฒนาฯ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาเส้นทาง NWLSC โดยมี “เส้นทางขนส่งเชื่อมทางทะเล+รถไฟ” เป็นเส้นทางหลัก (ท่าเรือทะเล) และมี “เส้นทางขนส่งเชื่อมทางรถไฟ+ถนนระหว่างประเทศ” เป็นเส้นทางเสริม (ด่านชายแดน) ซึ่งมี “นครหนานหนิง” เป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงพื้นที่ภาคตะวันตกไปยังท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้กว่างซี และด่านชายแดนสำคัญของกว่างซี(จีน)-เวียดนาม
[su_spacer]
ปี 2562 นครหนานหนิงเป็นเพียงเมืองเดียวของกว่างซีที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในบัญชีรายชื่อการพัฒนาเมืองศูนย์กลางโลจิสติกส์แห่งชาติจีน โดยได้รับการกำหนดให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ประเภทท่าเรือบก (Inland port) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาฯ ที่กำหนดให้นครหนานหนิงเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศมุ่งสู่อาเซียน
[su_spacer]
ประเด็นที่น่าสนใจนอกเหนือจากการพัฒนาและเชื่อมโยงระบบงานขนส่งทางบกกับทางทะเลแบบไร้รอยต่อ คือ การพัฒนางานขนส่งทางอากาศ โดยแผนพัฒนาฯ ได้ระบุถึงการพัฒนาเส้นทางขนส่งสินค้าทางอากาศในประเทศและต่างประเทศของท่าอากาศยานนานาชาตินครหนานหนิง การส่งเสริมการพัฒนาระบบงานขนส่งทางอากาศแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ และการสนับสนุนการพัฒนาธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามแดนและธุรกิจขนส่งพัสดุระหว่างประเทศ (courier)
[su_spacer]
ทั้งนี้ รัฐบาลกว่างซีได้ตั้งเป้าหมายว่า ในปี 2578 โครงข่ายเส้นทาง NWLSC จะเสร็จสมบูรณ์ เส้นทางขนส่งเส้นหลักทุกเส้นจะมาบรรจบที่กว่างซี โดยสามารถเชื่อมกับท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ (หรือคนไทยรู้จักในชื่ออ่าวตังเกี๋ย) และด่านพรมแดนแบบไร้รอยต่อ สามารถทำการขนส่งแบบต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal transportation) ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ประสิทธิภาพการให้บริการด้านโลจิสติกส์และการผ่านพิธีการศุลกากรมีมาตรฐานชั้นนำระดับสากล ต้นทุนรวมด้านโลจิสติกส์และค่าใช้จ่ายในการขนส่งระหว่างประเทศของเรือ+รถไฟ และของรถไฟ+รถไฟระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก
[su_spacer]
บีไอซี เห็นว่า เส้นทาง NWLSC เป็นทางเลือกใหม่ของผู้ประกอบการไทยที่สนใจขนส่งสินค้าไทยไปเจาะตลาดจีน (ตอนใน) หรือใช้เส้นทาง NWLSC (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง ILSTC เชื่อมจีนกับสิงคโปร์) เพื่อขนส่งสินค้าไปยังเอเชียกลางและยุโรป ปัจจุบัน มีบริการเที่ยวเรือขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือชินโจวกับท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือกรุงเทพของไทยอยู่แล้ว
[su_spacer]
ที่มา
https://thaibizchina.com/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%87-%E0%B8%A8%E0%B8%B9%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99/
[su_spacer]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง