นายสุลิสัก ทำมะวง หัวหน้ากรมคุ้มครองระบบชำระเงิน ธนาคารแห่ง สปป. ลาว กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่โลกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันได้โดยอัตโนมัติ โดยเฉพาะด้านการเงินและการธนาคารที่ใช้เทคโนโลยีทางการเงิน FinTech ธุรกิจ Startup ในหลายประเทศได้เปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจโดยใช้นวัตกรรมในการต่อยอดธุรกิจบนพื้นฐานการแข่งขันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยก้าวไปสู่ระบบ High Value Service เพื่อความมั่นคงทางธุรกิจ
[su_spacer]
ส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสถาบันการเงินและเงินตราของ สปป. ลาวในระยะ 10 ปี (2559 – 2568) และวิสัยทัศน์ปี 2573 ได้เน้นการพัฒนาระบบชำระเงินของประเทศให้เป็นศูนย์กลางการชำระเงินที่ทันสมัย ปลอดภัย โดยสร้างระบบที่มีลักษณะรวมศูนย์ ทั่วถึง รองรับธุรกรรมที่หลากหลาย ปลอดภัย รวดเร็วสนับสนุนการชำระเป็นสกุลเงินกีบมากขึ้น ควบคุมเงินตราต่างประเทศและเชื่อมโยงตู้ ATM ของทุกธนาคาร
[su_spacer]
ธนาคารแห่ง สปป. ลาวจึงได้พัฒนาระบบชำระเงินในประเทศและระหว่างประเทศผ่านระบบ Systemically Important Payment Systems (SIPS) ซึ่งธนาคารแห่ง สปป. ลาวจะเป็นผู้ควบคุมระบบดังกล่าว ประกอบด้วยระบบการชำระเงินแบบทันทีและศูนย์ชำระเช็ค สำหรับการทำธุรกรรมเล็ก ๆ บริษัท Lao National Payment Network (LAPNet) จะเป็นผู้ควบคุมระบบ โดยจะมีบริการใช้บัตร ATM ของธนาคารต่าง ๆ ร่วมกัน (Lao ATM Pool Switching: LAPS) ในการตรวจสอบยอดเงินและถอนเงินสดข้ามธนาคารผ่านตู้ ATM (คาดว่าจะเปิดให้บริการในสิ้นปี 2562) ปัจจุบันบริษัท LAPNet มีธนาคารที่เป็นสมาชิกจำนวน 12 แห่ง
[su_spacer]
สถิติเดือน ก.ค. 2562 พบว่า มีเครื่องรับบัตร Point of Sale System (POS) 3,986 เครื่อง ตู้ ATM 1,277 แห่ง บัตร ATM 1,518,497 ใบ การให้บริการชำระแบบที่ไม่ใช้เงินสด ประกอบด้วยธนาคารผู้ให้บริการบัตร ATM 24 แห่ง ธนาคารผู้ให้บริการ Mobile Banking 12 แห่ง และ E-Money/E-Wallet 4 แห่ง (ธนาคารพาณิชย์ 2 แห่ง สถาบันการเงินจุลภาค 1 แห่ง และนิติบุคคล 1 แห่ง) ธนาคารผู้ให้บริการชำระผ่านเครื่อง POS 8 แห่ง ผ่าน Alipay 3 แห่ง และผ่าน WeChat Pay 1 แห่ง สำหรับระบบชำระเงินระหว่างประเทศมีผู้ให้บริการโอนเงินผ่านระบบ SWIFT 31 แห่ง ผ่าน MoneyGram และ Western Union 15 แห่ง (ธนาคาร 12 แห่ง และนิติบุคคล 3 แห่ง) การให้บริการชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Code ระหว่าง สปป. ลาวกับไทย (ธนาคารการค้าต่างประเทศและธนาคารธนชาต) และการโอนเงินระหว่าง สปป. ลาวกับไทยโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา
[su_spacer]
ที่มา: เว็บไซต์ นสพ. ลาวพัฒนา วันที่ 5 ธ.ค. 2562
https://www.laophattananews.com/archives/61453
[su_spacer]