ตามรายงานด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม Big Data ของจีน จัดทำโดย China Industrial Control Systems Cyber Emergency Response Team ได้ประเมินให้มณฑลกุ้ยโจวอยู่ในลำดับที่ 3 ตามดัชนีการพัฒนา Big Data ทั่วประเทศจีน รองจากกรุงปักกิ่งและมณฑลกวางตุ้ง
[su_spacer]
การประเมินดังกล่าววิเคราะห์การพัฒนา Big Data ในประเทศจีนจากหลายแง่มุมทั้งในด้านนโยบาย ระบบ การวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรม และการบูรณาการ โดยนอกจากมณฑลกุ้ยโจวแล้ว เมื่อพิจารณาจากจำนวน บริษัทด้าน Big Data สถาบันวิจัยนวัตกรรม และการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม มณฑลชั้นนำด้านการพัฒนา Big Data ของจีนยังรวมถึงกรุงปักกิ่ง มณฑลกวางตุ้ง นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจ้อเจียง และมณฑลเจียงซู
[su_spacer]
ปัจจุบัน มณฑลกุ้ยโจวได้ออกนโยบายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม Big Data กว่า 20 รายการ โดย ครอบคลุมตั้งแต่การบูรณาการ Big Data เข้ากับภาคเศรษฐกิจจริง การบริหารจัดการข้อมูล รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานของข้อมูล อย่างไรก็ดี มณฑลกุ้ยโจวยังมีจุดอ่อนด้านจำนวนผู้เชี่ยวชาญด้าน Big Data ขนาดของอุตสาหกรรม Big Data และการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของช่องว่างด้านการพัฒนาระหว่างมณฑลกุ้ยโจว กับพื้นที่อย่างกรุงปักกิ่ง-นครเทียนจิน-มณฑลเหอเป่ย และพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี
[su_spacer]
จนถึงขณะนี้ 17 มณฑลของจีนก็ได้จัดตั้งหน่วยงานเพื่อรับผิดชอบควบคุมการพัฒนา Big Data รวมถึงยังมีหลักสูตรด้าน Big Data ระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยจีนกว่า 283 แห่ง และพันธมิตรในอุตสาหกรรม Big Data กว่า 100 เครือข่ายทั่วประเทศจีน อีกทั้งจำนวนนักวิจัยในอุตสาหกรรม Big Data ก็เพิ่มขึ้นจาก 52,000 รายในปี 2559 เป็น 81,000 รายในปี 2562 ขณะที่มูลค่าการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สูงถึง 55 พันล้านหยวน (7.86 พันล้าน ดอลลาร์สหรัฐ) ตลอดจนมีแพลตฟอร์ม ศูนย์นวัตกรรม และห้องทดลองด้าน Big Data เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
[su_spacer]
ที่มา
http://www.eguizhou.gov.cn/2019-12/18/content_37529548.htm
[su_spacer]