เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562 รัฐบาลมาเลเซียประกาศเดินหน้าโครงการ Bandar Malaysia โดยกิจการค้าร่วม WH-CREC Sdn. Bhd. หรือ ICSB (ระหว่าง บริษัท Iskandar Waterfront Holdings (IWH) กับ บริษัท China Railway Engineering Corp (CREC) ของรัฐบาลจีน) ซึ่งชนะการประกวดราคา เป็นผู้พัฒนาหลัก โดยเมื่อ 25 เมษายน 2562 ได้มีการลงนามกรอบความตกลงโครงการฯ ที่กรุงปักกิ่งระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการเศรษฐกิจมาเลเซีย กับ ประธานบริษัท China Railway Group Ltd. โดยมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และนายกรัฐมนตรีจีน เป็นสักขีพยาน และเมื่อ 17 ธันวาคม 2562 รัฐบาลมาเลเซียได้จัดพิธีลงนามสัญญาซื้อขายหุ้นและสัญญาระหว่างผู้ถือหุ้นระหว่าง ICSB กับ บริษัท TRX City Sdn. Bhd ที่เมืองปุตราจายา โดยมีนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นสักขีพยาน
[su_spacer]
ภายใต้สัญญาฯ ICSB จะถือหุ้นร้อยละ 60 และกระทรวงการคลังมาเลเซีย โดยบริษัท TRX City Sdn. Bhd (บริษัทของกระทรวงการคลังมาเลเซียเดิม คือ บริษัท 1MDB Real Estate Sdn. Bhd. หรือ 1MDB RE) จะถือหุ้นร้อยละ 40 ของ โครงการฯ ทั้งนี้ ICSB จะทยอยจ่ายเงินให้รัฐบาลมาเลเซีย โดยจ่ายเงินล่วงหน้าเพิ่มอีก 500 ล้านริงกิต ภายใน 60 วัน หลังการประกาศรื่อฟื้นโครงการฯ อย่างเป็นทางการ เพิ่มจากเดิมที่เคยจ่ายไปแล้ว 741 ล้านริงกิต (รวมเป็น 1.24 พันล้านริงกิต) รวมทั้งแบ่งเงินปันผลจากโครงการฯ ร้อยละ 50 ให้แก่ บริษัท TRX City Sdn. Bhd. (ซึ่งตามสัญญาเดิมปันผลให้ บริษัท TRX City Sdn. Bhd ร้อยละ 50 ตามสัดส่วนการถือหุ้น)
[su_spacer]
เนื่องจากความสัมพันธ์ระหว่างมาเลเซีย – จีน และการสนับสนุน BRI นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย กล่าวถึง ความสัมพันธ์มาเลเซีย – จีนที่มีมายาวนานบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน รวมทั้งความสําคัญของจีนในฐานะคู่ค้าอันดับ 1 ของมาเลเซียโดยเมื่อปี 2561 การค้าระหว่างมาเลเซียกับจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.1 คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของมาเลเซีย การรื้อฟื้นโครงการ Bandar Malaysia จึงเป็นสิ่งบ่งชี้ว่า มาเลเซียกับจีนพร้อมร่วมมือกันสร้างประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองประเทศเช่นเดียวกับโครงการ ECRL ซึ่งทั้งโครงการ ECRL และ Bandar Malaysia ต่างสนับสนุนข้อริเริ่ม BRI ของจีน ซึ่งจะส่งผลทวีคูณต่อเศรษฐกิจมาเลเซียและห่วงโซ่มูลค่า
[su_spacer]
สนับสนุนวิสัยทัศน์ Shared Prosperity 2030 แนวทางการพัฒนาโครงการฯ เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง โดยจะสร้างที่พักอาศัยสําหรับผู้มีรายได้น้อย 90,000 ยูนิต และสวนสาธารณะขนาด 55 เอเคอร์ (People’s Park) จะมีการจ้างงานชาวภูมิบุตร รวมทั้งใช้ทรัพยากร/วัสดุอุปกรณ์ก่อสร้างในท้องถิ่น คาด ว่าจะมีมูลค่า 150 พันล้านริงกิต โดยการลงทุนจากต่างประเทศในโครงการฯ จะเพิ่มการจ้างงานและกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะยาว
[su_spacer]
การดึงดูดการลงทุนจากบริษัทข้ามชาติ จุดเด่นของโครงการ Bandar Malaysia คือเป็น โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบบผสมผสานรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development) มีที่ พักอาศัย อาคารสํานักงาน สวนสาธารณะ และสถานีปลายทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกัวลาลัมเปอร์-สิงคโปร์ (Kuala Lumpur-Singapore high-speed rail: HSR) เหมาะกับการตั้งสำนักงานภูมิภาคของบริษัทข้ามชาติ โดยเฉพาะบริษัท/สถาบันการเงินและบริษัทเทคโนโลยี เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเครือข่ายรถไฟอาเซียนและโครงการยังเป็นส่วนหนึ่งของข้อริเริ่ม BRI ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ผลิตและขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับมาเลเซีย ทั้งนี้ Alibaba และ Huawei ได้แสดงความสนใจที่จะตั้งศูนย์ ICT ภายในโครงการฯ
[su_spacer]
พัฒนาให้กรุงกัวลาลัมเปอร์เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโครงการฯ เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ ตามนโยบาย Shared Prosperity 2030 ที่มุ่งพัฒนาให้มาเลเซียเป็นประเทศพัฒนาแล้ว โดยพัฒนากรุงกัวลาลัมเปอร์ให้เป็นศูนย์กลางการขนส่ง การค้า การเงินและนวัตกรรม โดยให้ความสําคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนและคํานึงถึงสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นแหล่งบ่มเพาะ
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์