ตามที่ธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงาน Doing Business 2020 เมื่อปลายเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา บังกลาเทศถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 164 จาก 190 ประเทศในดัชนีความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business Index) ดีขึ้น 6 อันดับจากปี 2561 ซึ่งถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 176 นั้น
[su_spacer]
ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา บังกลาเทศได้ดําเนินการปฏิรูปที่เด่นชัดใน 3 ตัวชี้วัด (จาก 12 ตัวชี้วัด) ซึ่งถือว่ามาก ที่สุดในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้แก่ (1) การเริ่มต้นธุรกิจ (Starting a business) มีค่าจ่ายน้อยลง โดยมีการลดค่าธรรมเนียม ในการจดทะเบียนบริษัท และการจอง/ตรวจชื่อบริษัท (name clearance) และการยกเลิกค่าธรรมเนียมในการรับรอง ใบรับรองแบบดิจิตัล (2) การขอใช้ไฟฟ้า (Getting electricity) ในกรุงธาการวดเร็วขึ้น และมีการลดจํานวนเงินที่วางเป็น หลักประกันสําหรับการขอใช้ไฟฟ้า และ (3) การได้รับสินเชื่อ (Getting credit) ง่ายขึ้น เนื่องจากการเข้าถึงข้อมูลด้านสินเชื่อ ได้รับการปรับปรุงดีขึ้นโดยหน่วยงานเครดิตบูโรได้ขยายการจัดเก็บข้อมูลให้ครอบคลุมมากขึ้น
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี บังกลาเทศได้ทําคะแนนเกือบรั้งท้ายในด้านการบังคับใช้ข้อตกลง (Enforcing contracts) โดยอยู่ในอันดับที่ 189 ทั้งนี้ การระงับข้อพิพาททางธุรกิจในศาลชั้นต้นของบังกลาเทศใช้เวลาเฉลี่ย ๑,๕๔๒ วัน นานกว่าในประเทศสมาชิก OECD เกือบ 3 เท่า (ประมาณ 590 วัน) และการจดทะเบียนทรัพย์สิน (Registering property) อยู่ในอันดับที่ 184 โดยการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินใน บังกลาเทศใช้เวลาเฉลี่ย 271 วัน นานกว่าเวลาเฉลี่ยของทั่วโลกถึง 5 เท่า (47 วัน)
[su_spacer]
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในเอเชียใต้บังกลาเทศมีอันดับดีกว่าอัฟกานิสถาน (173) เท่านั้น โดยอินเดียอยู่ในอันดับที่ 63 ตามด้วยภูฎาน (43) เนปาล (94) ศรีลังกา (99) ปากีสถาน (104) และมัลดีฟส์ (143)
[su_spacer]
ในช่วงปีนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนของบังกลาเทศได้เปิดให้บริการอํานวยความสะดวกแก่นักลงทุนแบบ One Stop Service (OSS) โดย (1) Bangladesh Investment Authority Development (BIDA) ได้เริ่มให้บริการ OSS บางส่วนออนไลน์ อาทิ การออกใบอนุญาตจัดตั้งสาขา/ สำนักงานติดต่อประสานงาน/สำนักงานตัวแทนการขอ ใบอนุญาตทํางาน การออก Visa On Arrival การขออนุมัติส่งเงินรายได้กลับประเทศ ตั้งแต่ปลายเดือน ก.พ. 2562 และขณะนี้ กําลังจัดทํา BIDA One Stop Service Rules เพื่อกําหนดแนวทางในการให้บริการที่เป็นมาตราฐานแก่นักลงทุน เช่น การออกและต่ออายุการตรวจลงตราภายใน 7 วัน บริการที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนบริษัทภายใน 1-7 วัน การขอใช้ ไฟฟ้าภายใน 5-10 วัน การขอใช้แก๊สภายใน 30 วัน การขอใบอนุญาตด้านสิ่งแวดล้อมภายใน 7-45 วัน เป็นต้น นอกจากนี้ จะมีการเปิดศูนย์ OSS ตามเมืองต่าง ๆ ด้วย (2) Bangladesh Economic Zones Authority (BEZA – รับผิดชอบเฉพาะ การลงทุนในเขต ศก. พิเศษ) ได้ทําการเปิดศูนย์ OSS เมื่อวันที่ 21 ต.ค. 2562 ซึ่งตั้งอยู่ที่ชั้น 11 ของอาคาร Monem Business District ในกรุงธากา และบริการแบบออนไลน์ ขณะนี้ นักลงทุนสามารถขอรับบริการ 107 ประเภท (อาทิ การจด ทะเบียนบริษัท การขอหมายเลขประจําตัวผู้เสียภาษี การขอมีเลขประจําตัวผู้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม การขอรับการตรวจลงตรา) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 14 กระทรวง/กรม และภายในเดือน มิ.ย. 2563 จะให้บริการครบ 125 ประเภท ทั้งนี้ รัฐบาลบังกลาเทศหวังว่า การเปิดให้บริการ OSS เต็มรูปแบบจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทําให้อันดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจของบังกลาเทศในปีหน้าดีขึ้นไปอีก
[su_spacer]