เมื่อพูดถึง “บาร์เซโลนา” หลายคนอาจนึกถึงสโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา สถานที่ท่องเที่ยวและสถาปัตยกรรม ที่แปลกตาอย่างมหาวิหาร La Sagrada Familia หรือสวน Park Guet ซึ่งเป็นผลงานของสถาปนิกที่มีชื่อเสียง Antoni Gaudi แต่บาร์เซโลนาไม่ได้มีสิ่งที่น่าสนใจเพียงแค่นี้ เพราะยังเป็นเมืองอัจริยะของนครบาร์เซโลนาอีกด้วย
[su_spacer]
นครบาร์เซโลนาประกาศตัวเป็นเมืองอัจฉริยะแห่งแรกของสเปนในปี ค.ศ. 2013 และได้นํากลยุทธ์เมือง อัจฉริยะ (Smart City) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน สังคมและมหานครที่มีประชากรอาศัยอยู่รวมกันประมาณ 3.23 ล้านคน ซึ่งประกอบด้วยหลายเมืองสําคัญ เช่น เมืองบาร์เซโลนา เมือง L’Hospitalet de Llobregat และเมือง Badalona
[su_spacer]
บาร์เซโลนาได้นําเอาเทคโนโลยีไปปรับปรุงและพัฒนาการให้บริการต่าง ๆ ทั้งการขนส่งสาธารณะ ระบบไฟ ส่องทาง การจัดการขยะและน้ำ การบริการด้านสุขภาพและสังคมและยังใช้ระบบ Internet of Things (IoT) พัฒนาเมืองอัจฉริยะโดยมีโครงการเด่น ๆ หลายโครงการ อาทิ 1) ระบบรดน้ำต้นไม้ ซึ่งมีเซนเซอร์ที่พื้นดิน ทําให้ทราบข้อมูลความชื้น อุณหภูมิ ความเร็วลม แสงอาทิตย์และความกดอากาศ ส่งผลดีต่อการควบคุมปริมาณน้ำที่จะใช้ในการรดน้ำต้นไม้และป้องกันการใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง 2) ระบบจัดการขยะอัจฉริยะ ซึ่งมีเซนเซอร์ในถังขยะและระบบจะส่งสัญญาณให้รถมาเก็บขยะไปทิ้งเมื่อขยะเต็มถัง 3) โครงการจักรยานสาธารณะ ด้วยระยะทางจักรยานยาวรวมกันกว่า 126.2 กิโลเมตร อีกทั้งบาร์เซโลนาเป็นเมืองใหญ่แรก ๆ ของโลก ที่นําเทคโนโลยีมาให้บริการจักรยานสาธารณะแก่ผู้ใช้งานผ่านแอปพลิเคชันในโทรศัพท์มือถือ 4) ระบบรถโดยสารประจําทาง มีการใช้รถไฮบริดเพื่อลดการปล่อยมลภาวะสู่สิ่งแวดล้อมและส่งเสริมการสัญจรที่ยั่งยืน อีกทั้งตามป้ายรอรถเมล์อัจฉริยะจะมีป้ายโซลาร์เซลล์บอกเวลารอรถคันถัดไปอีกด้วย
[su_spacer]
จากความพยายามด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างไม่หยุดยั้ง ทําให้นครบาร์เซโลนาได้รับคัดเลือกให้เป็นเมืองอัจฉริยะอันดับ 3 ของโลก โดยจุดเด่นของการพัฒนาเมืองอัจริยะของนครบาร์เซโลนาคือการมีผู้นําที่มีวิสัยทัศน์ที่เล็งเห็นประโยชน์ของการพัฒนาความเป็นเมืองอัจฉริยะ แนวนโยบายของรัฐบาลและการดําเนินโครงการในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะซึ่งสามารถสร้างงาน 47,000 ตําแหน่งจากการติดตั้งระบบ loT ภายในเมือง การบริหารจัดการที่ดีทําให้สามารถประหยัดค่าน้ำได้ปีละ 42.5 ล้านยูโรและสร้างรายได้จากระบบที่จอดรถอัจฉริยะปีละ 36.5 ล้านยูโร นอกจากนี้ ยังมีบริการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ และได้กลายเป็นตัวอย่างของการพัฒนาสําหรับอีกหลายเมือง
[su_spacer]
อย่างไรก็ดี การใช้เทคโนโลยีและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นตัวนําในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะอย่างเดียวคงอาจจะไม่เพียงพอ เพราะเมืองอัจฉริยะที่ดีควรเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การดูแลสังคมครอบคลุมทุกภาคส่วน รวมทั้งการมีส่วนร่วมของประชาชนควบคู่กันไปด้วย
[su_spacer]
สเปนเป็นประเทศหนึ่งที่มีอายุขัยเฉลี่ย (Life Expectancy) มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก (อายุเฉลี่ย 83.2 ปี) และด้วยโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ทําให้ปัจจุบันในเขตเมืองบาร์เซโลนามีผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป มากถึง 300,000 คน (ประมาณร้อยละ 20 ของประชากรที่อาศัยในเขตเมืองบาร์เซโลนาจํานวน 1.62 ล้านคน) ซึ่งในจํานวนนี้ 100,000 คนมีอายุเกินกว่า 80 ปี และ 88,000 คนอาศัยอย่างโดดเดี่ยว คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุบางคนลดลง บางคนเป็นโรคซึมเศร้า สุขภาพทรุดโทรมและเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาล
[su_spacer]
จากสภาพปัญหาดังกล่าว ในปี ค.ศ. 2014 เทศบาลเมืองบาร์เซโลนาจึงริเริ่มโครงการที่ชื่อว่า VinclesBCN (Vincles ซึ่งภาษาท้องถิ่นแปลว่าเครือข่ายสังคม) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะของบาร์เซโลนา โดยได้ออกแบบและพัฒนาแอปพลิเคชั่นสําหรับแท็บเล็ตและสมาร์ทโฟนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างเครือข่าย กลุ่มผู้สูงอายุ และได้เริ่มมีการใช้อย่างเป็นทางการทั่วนครบาร์เซโลนาเมื่อต้นปี ค.ศ. 2018
[su_spacer]
แอปพลิเคชั่น VinclesBCN ถูกออกแบบมาเพื่อกลุ่มผู้สูงอายุโดยเฉพาะจึงใช้งานง่าย ภายในแอปพลิเคชั่น จะแบ่งสมาชิกออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มครอบครัวและเพื่อน ซึ่งรวมถึงคนในครอบครัว ญาติ เพื่อน เพื่อนบ้าน เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ 2) กลุ่มผู้สูงอายุที่ใช้บริการ VinchesBCN ซึ่งแบ่งตามหัวข้อความสนใจและเขตพื้นที่อยู่ อาศัย ในแต่ละกลุ่มจะมีเจ้าหน้าที่คอยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม ผู้สูงอายุสามารถใช้แอปพลิเคชั่นสื่อสาร ผ่านวีดีโอคอล ข้อความและข้อความเสี่ยงกับกลุ่มคน 2 กลุ่มดังกล่าว รับข้อมูลการบริการของเทศบาลเมืองได้และ เข้าถึงข้อมูลกิจกรรมในพื้นที่ เช่น การเรียนทําอาหาร ชมรมนักอ่าน เป็นต้น นอกจากการสื่อสารผ่านแอปพลิเคชันแล้ว เครื่องมือนี้ยังเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุได้พบปะสังสรรค์ เข้าร่วมกิจกรรมกับเพื่อนใหม่วัยเดียวกันนอกสถานที่อีกด้วย
[su_spacer]
ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปที่อยู่คนเดียว และมีทะเบียนบ้านในเมืองบาร์เซโลนา สามารถเข้าร่วม โครงการดังกล่าว โดยเทศบาลเมืองบาร์เซโลนาจะให้ยืมแท็บเลตที่มีแอปพลิเคชั่น VinclesBCN ติดตั้งพร้อมกับ สัญญาณอินเตอร์เนตไว้แล้ว หรืออาจจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นไว้บนแท็บเลตของตนเองก็ได้ ส่วนครอบครัว ญาติ และเพื่อนจะต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน VinciesBCN ในสมาร์ทโฟนเพื่อใช้บริการดังกล่าว นอกจากนี้ เทศบาลเมือง บาร์เซโลนาร่วมกับมูลนิธิ Vodafone Spain (แอปพลิเคชั่น VinciesBCN ติดตั้งบนแท็บเล็ตของบริษัท Vodafone) และสมาคม Secotbcn จัดอบรมวิธีการใช้งาน VinclesBCAN แก่ผู้สูงอายุอีกด้วย
[su_spacer]
โครงการนี้จึงทําหน้าที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่อาศัยอย่างโดดเดี่ยวให้กลับมามีความสุขอีกครั้ง และทําให้กลุ่มคน เหล่านี้คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมากยิ่งขึ้น โครงการนี้ได้รับเสียงตอบรับที่ดีมากจากผู้ใช้งาน โดยร้อยละ 80 เห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น (Self-esteem) ร้อยละ 70 มีกลุ่มเพื่อนเพิ่มขึ้นและร้อยละ 60 เห็นว่าตนเองมีสภาพจิตใจ ดีขึ้น ในอนาคตเทศบาลเมืองบาร์เซโลนามีแผนที่จะเพิ่มจํานวนผู้ใช้งานและเพิ่มชนิดการบริการของเทศบาลผ่าน แอปพลิเคชั่นสําหรับผู้สูงอายุให้มากขึ้น
[su_spacer]
นี่เป็นหนึ่งตัวอย่างโครงการเมืองอัจฉริยะในบาร์เซโลนาที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มผู้สูงอายุ และทําให้สังคมน่าอยู่มากขึ้น ในส่วนของไทย ตามข้อมูลของคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) ในปี ค.ศ. 2017 มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจํานวน 11.3 ล้านคน หรือร้อยละ 17.1 ของจํานวนประชากรทั้งหมด และคาดกันว่าในปี ค.ศ. 2021 ไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ซึ่งจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุร้อยละ 20 ของจํานวนประชากร ทั้งประเทศ การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจึงเป็นประเด็นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องให้ความสําคัญและ หามาตรการรับมือกับความท้าทายนี้ แอปพลิเคชั่นนี้ จึงอาจจะเป็นตัวอย่างสําหรับการพัฒนาสังคมผู้สูงวัยในไทยให้มีความสุข
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริด