Thursday, May 29, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

อินโดนีเซียจัดการประชุม Indonesia Economic Forum 2019 ปลุกความคิดสู่เศรษฐกิจเป้าหมาย 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

06/12/2019
in ทันโลก, เอเชีย
0
อินโดนีเซียจัดการประชุม Indonesia Economic Forum 2019 ปลุกความคิดสู่เศรษฐกิจเป้าหมาย 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
3
SHARES
77
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดการประชุม Indonesia Economic Forum ในหัวข้อ “Towards a $7 Trillion Economy: Opportunities and Challenges”  ณ โรงแรม JW Marriott กรุงจาการ์ตา ภายในงานมีการปาฐกถาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุน โดยมีนาย Shoeb Kagda ผู้ก่อตั้ง Indonesia Economic Forum (IEF) เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

[su_spacer]

นาย Shoeb Kagda กล่าวว่า ประเด็นคำถามที่สำคัญในปัจจุบันคือ อินโดนีเซียจะปรับนโยบายเศรษฐกิจอย่างไรเพื่อให้ได้รับประโยชน์จากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน และจะประเทศสามารถบรรลุการเติบโตมากกว่า 5% ได้อย่างไรภายใต้สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์ เทคนิคและเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วได้อย่างไร

[su_spacer]

ทั้งนี้ อินโดนีเซียมีฐานที่แข็งแกร่งสำหรับนวัตกรรม และยังมีธุรกิจ Startups ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ (Unicorn) ถึง 6 ธุรกิจ รวมทั้งเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโต อย่างไรก็ตาม ความท้าทาย คือ มีเพียง 0.01% ของงบประมาณทั้งหมดที่ถูกจัดสรรสำหรับการวิจัยและพัฒนา

[su_spacer]

ประธานาธิบดีโจโควีได้พัฒนาทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในความสำคัญหลักของเขา ทั้งนี้ การแข่งขันด้านบุคลากรในระดับโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อินโดนีเซียต้องพัฒนาความสามารถของบุคลากรในภายเทศเช่นเดียวกับดึงดูดคนเก่งจากต่างชาติเข้ามาในประเทศด้วย อีกทั้งรัฐบาลจะต้องหาจุดสมดุลระหว่างความต้องการบุคลกรที่มีความสามารถและโอกาสสำหรับประชาชนในประเทศในการเข้าถึงงานที่มีรายได้ดี

[su_spacer]

นอกจากนี้ อินโดนีเซียต้องเชื่อมโยงกับประชาคมโลกให้มากขึ้น โดยการเพิ่มเครือข่ายระหว่างมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การเพิ่มความร่วมมือระดับโลก และเพิ่มการลงทุนใน R&D ให้มากขึ้น รวมทั้ง อินโดนีเซียต้องค้นหาบุคลากรที่เหมาะสมสำหรับยุคใหม่ และปรับปรุงให้คนสามารถใช้คอมพิวเตอร์และความรู้ภาษาอังกฤษควรเป็นทักษะที่จำเป็น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นกระบวนทัศน์ที่จะเปลี่ยนสังคมอินโดนีเซียได้

[su_spacer]

ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่การจะบรรลุเศรษฐกิจถึง 7 ล้านล้านดอลลาร์ได้นั้น ประเทศจะต้องปรับปรุงเทคโนโลยีและดึงดูดบุคลากรที่มีศักยภาพ เนื่องจากความสามารถ นวัตกรรม และการปรับตัวเป็นสิ่งจำเป็นในการปรับนโยบายและกลยุทธ์ด้านเศรษฐกิจเพื่อให้ประเทศเติบโตอย่างสมดุล

[su_spacer]

โดยทั่วไป คนรุ่นใหม่ในอินโดนีเซียมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่บัณฑิตจบใหม่กว่า 35% ประสบสภาวะว่างงาน แม้ว่าจะมีคน 3 ล้านคนเข้ามาในตลาดแรงงานทุกปี การเข้าถึงโอกาสในการทำงานจึงเป็นความท้าทายอย่างต่อเนื่อง

[su_spacer]

ดังนั้น การมีต้นทุนแรงงานต่ำนั้นยังไม่เพียงพอในปัจจุบัน โดยโครงสร้างพื้นฐาน การเรียนรู้ทักษะใหม่และการเพิ่มผลิตภาพจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ อีกทั้งการปรับปรุงภาคบริการก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะภาคบริการในเอเชียเติบโตเร็วกว่าภาคการค้าถึง 60%

[su_spacer]

นอกจากนี้ Dr. Ir. Rizal Affandi Lukman รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ณ กระทรวงประสานงานเศรษฐกิจของสาธารณรัฐอินโดนีเซีย กล่าวสุนทรพจน์ในงานว่า เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายเศรษฐกิจ 7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี ค.ศ. 2045 อินโดนีเซียต้องเติบโต 7% เนื่องจากการเติบโตของจีดีพีในปัจจุบันของอินโดนีเซียที่ 5% ซึ่งไม่เพียงพอที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในอีก 25 ปีข้างหน้าได้

[su_spacer]

นอกจากนี้ ความท้าทายบางประการของอินโดนีเซีย ได้แก่ การค้าขายที่ชะลอตัวซึ่งเพียง 1.1% เมื่อเทียบกับ 5% จาก 2 ปีก่อน โดยที่ราคาน้ำมันปาล์มยังคงอยู่ในช่วงฟื้นตัวพร้อมการส่งออกที่อ่อนแอลง

[su_spacer]

อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทางสังคมของอินโดนีเซียได้รับการปรับปรุง คือ ระดับความยากจนลดลง ช่องว่างความไม่เท่าเทียมลดลง ระดับการว่างงานต่ำ และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและค่อนข้างเสถียรที่ 3% นี่แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจอินโดนีเซียยังคงเติบโตและสามารถเติบโตได้ที่ 5% แต่ก็ยังไม่เพียงพอ

[su_spacer]

ประธานาธิบดีโจโควีได้กำหนดลำดับความสำคัญ 5 ประการในระหว่างการบริหาร ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กฎระเบียบที่ทำให้ง่ายขึ้น การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการ และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ อินโดนีเซียกำลังปรับปรุงเศรษฐกิจในประเทศอย่างต่อเนื่อง และให้ต่างชาติมองเห็นถึงการเป็นประเทศที่คู่ควรแก่การลงทุน

[su_spacer]

ดังนั้น ประเด็นสำคัญสามประการที่อินโดนีเซียควรให้ความสำคัญ ได้แก่ :

[su_spacer]

(1) เพิ่มการส่งออกและดึงดูดการลงทุนเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นรวมถึงขยายตลาดส่งออกผ่านข้อตกลงทวิภาคีและพหุภาคีเช่น RCEP อีกทั้งต้องกำจัดมาตรการที่ไม่จำเป็น ซึ่งรัฐบาลกำลังสร้างกฎหมายเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ปรับปรุงการออกใบอนุญาตธุรกิจ และสร้างงาน

[su_spacer]

(2) สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจผ่านการปฏิรูป เช่น การยกระดับทักษะการทำงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วยแผนบูรณาการ

[su_spacer]

(3) ต้นทุนโลจิสติกส์ในอินโดนีเซียยังคงอยู่ในระดับสูง จึงมีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (เมื่อปีที่แล้วโครงการยุทธศาสตร์ระดับชาติมี 62 โครงการแล้วเสร็จ และอีก 19 โครงการเพิ่มเติมแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2562) อินโดนีเซียจึงจำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งทางกายภาพและทางกายภาพ นอกจากนี้ รัฐบาลอินโดนีเซียได้สนับสนุนการลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจใน 5 ภาคการส่งออกหลัก ได้แก่ (1) อาหารและเครื่องดื่ม (2) สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม (3) อิเล็กทรอนิกส์ (4) ยานยนต์ (4) ยานยนต์และ (5) เคมีภัณฑ์

[su_spacer]

(4) นโยบายการค้าของอินโดนีเซียต้องส่งเสริมการส่งออก โดยปัจจุบันอินโดนีเซียเสร็จสิ้นข้อตกลงการค้า 17 ข้อ (ทวิภาคีและภูมิภาค) ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และ 12 ข้อตกลงกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน อีกทั้ง 11 ข้อตกลงกำลังอยู่ในขั้นตอนการปฏิบัติ

[su_spacer]

(5) อีกทั้งยังคาดว่า การประชุมนี้จะทำให้ชุมชนธุรกิจส่งต่อข้อมูลถึงรัฐบาลในการปรับปรุงนโยบายเศรษฐกิจได้

[su_spacer]

นอกจากนี้ นาย Thomas Lemberg เห็นว่า ในระยะสั้น การเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอมากที่สุดในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2019  แต่ขณะนี้อยู่ในช่วงการฟื้นตัว ส่วนในระยะยาว ความท้าทายคือ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและบรรยากาศทางธุรกิจ ฉะนั้น ประเทศโซนเอเชียควรกระจายความเสี่ยงมากขึ้นและลดการพึ่งพาหรืออิงกับเงินดอลลาร์ นอกจากนี้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า อินโดนีเซียจะต้องดำเนินการปฏิรูประบบราชการ เพื่อลดกฎระเบียบที่มากเกินไป และเปลี่ยนความคิดให้ระบบราชการมีบทบาทเชิงรุกและคำนึงถึงผู้บริการมากขึ้น

[su_spacer]

ทั้งนี้ นาย Sumit Dutta ประธานผู้อำนวยการ PT HSBC อินโดนีเซีย มีความเห็นว่า อินโดนีเซียมีพื้นฐานที่ค่อนข้างดี อัตราเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ (ที่ระดับ 3%) อัตรารูเปียห์ค่อนข้างคงที่ ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศอยู่ในระดับสูง อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และหนี้ต่อ GDP โดยรวมค่อนข้างต่ำ นอกจากนี้ยังมีเสถียรภาพทางการเมืองและสังคมในอินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในโลก อินโดนีเซียสามารถพัฒนาขีดศักยภาพได้อีก เศรษฐกิจของอินโดนีเซียจึงจำเป็นต้องกลายเป็นเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจ 7 ล้านล้านดอลลาร์ รวมไปถึงต้องกฎระเบียบให้ง่ายขึ้นและจำเป็นต้องเปิดกว้างให้กับส่วนที่เหลือของโลกโดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน

[su_spacer]

นอกจากนี้ นาย Sandiaga Uno ผู้ประกอบการและอดีตรองผู้ว่าการกรุงจาการ์ตา เห็นว่า ความท้าทายของประเทศมีหลายประการ อาทิ งานที่มีคุณภาพสำหรับคนรุ่นใหม่ และราคาอาหารยังคงสูง แม้อัตราเงินเฟ้อจะต่ำ จึงมีความจำเป็นต้องโน้มน้าวผู้กำหนดนโยบายในการเพิ่มการค้าและการลงทุนเพื่อสร้างงานและอาชีพ ภาคเอกชนควรมีบทบาทมากขึ้นในการสนับสนุนการค้าและการลงทุนในอินโดนีเซียก 5 ปีข้างหน้า

[su_spacer]

ฉะนั้น เพื่อให้อินโดนีเซียเป็นประเทศที่ประสิทธิภาพสูง จึงต้องมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงานเก่า การทำให้ค่าครองชีพไม่แพง รวมประเทศเข้ากับห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และลงทุนในการศึกษามากขึ้น

[su_spacer]

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงจาการ์ตา

Tags: อินโดนีเซียเศรษฐกิจ/ธุรกิจ/การค้า
Previous Post

ยูนนานผลักดันโครงการต้นแบบทดลองการผลิตเชิงอัจฉริยะ 9 เดือนแรก 2562 ลงทุนแล้ว 4.06 พันล้านหยวน

Next Post

ธุรกิจความงามไทยลุยตลาดจีนด้วยกลยุทธ์ออนไลน์ สร้างยอดขายพันล้าน

Admin Admin

Admin Admin

Next Post
ธุรกิจความงามไทยลุยตลาดจีนด้วยกลยุทธ์ออนไลน์ สร้างยอดขายพันล้าน

ธุรกิจความงามไทยลุยตลาดจีนด้วยกลยุทธ์ออนไลน์ สร้างยอดขายพันล้าน

Post Views: 641

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

กว่างซีจ้วงเร่งเครื่องเศรษฐกิจสีน้ำเงิน โอกาสใหม่ของไทยในยุทธศาสตร์ทะเลจีน

23/05/2025
เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

เขต YRD ทะยานสู่ผู้นำโลกหุ่นยนต์เสมือนมนุษย์ และโอกาสความร่วมมือกับไทย ตอนที่ 3

22/05/2025
เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

เจาะตัวเลขการค้าหูหนาน ไตรมาสแรก 2568

22/05/2025
ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

ทิศทางความเคลื่อนไหวด้านพลังงานนิวเคลียร์ของไต้หวัน

22/05/2025
“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

“โปรตีนทางเลือก” โอกาสสำหรับธุรกิจอาหารเพื่อความยั่งยืนในสิงคโปร์

22/05/2025
สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

สรุปข่าวเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาเดิน-เวือรืทเทิมแบร์ค

22/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X