ตามที่ปรากฏรายงานข่าวเกี่ยวกับขบวนรถไฟสายใหม่ของจีนที่วิ่งจากนครซีอาน มณฑลส่านซี ไปยังกรุงปราก ภายใต้ข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) โดยเส้นทางดังกล่าวมี ระยะทางประมาณ 11,500 กม. และเป็นการเดินทางผ่านอุโมงค์ Marmaray บริเวณบอสพอรัส (Bosporus) หรือ ช่องแคบอิสตันบูล (Strait of Istanbul) ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การขนส่งสินค้าทางรถไฟจากเอเชียไปยังยุโรปโดย ไม่ผ่านรัสเซีย เส้นทางรถไฟระหว่างนครซีอาน – กรุงปราก มีรายละเอียด ดังนี้
[su_spacer]
รถไฟขนส่งสินค้าของจีนซึ่งบรรทุกสินค้าจํานวน 42 ตู้สินค้า (ขนาดความยาวตู้ละ 40 ฟุต) ความยาวของขบวนรถทั้งหมดประมาณ 820 เมตร และสินค้าส่วนใหญ่ ได้แก่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ laptop hard disk แผงวงจรในเครื่องโทรทัศน์ เครื่องนุ่งห่ม สิ่งทอ และอะไหล่รถยนต์ ได้ออกเดินทางออกจากนครซีอาน มุ่งหน้าไปทาง ตะวันตก/เหนือของจีน และผ่านเข้าสู่คาซัคสถาน อาเซอร์ไบจาน จอร์เจีย ตุรกี บัลแกเรีย เซอร์เบีย ฮังการี สโลวะเกีย ก่อนถึงจุดหมายปลายทางที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เส้นทางดังกล่าวมีระยะทางทั้งหมด ประมาณ 11,500 กม. และใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 18 วัน (การเดินทางระหว่างนครซีอาน – นครอิสตันบูลใช้ เวลา 12 วัน จากเดิมประมาณ 1 เดือน)
[su_spacer]
รถไฟขนส่งสินค้าขบวนดังกล่าวเดินทางถึงเช็กเมื่อวันที่ 12 พ.ย. 2562 โดยเข้าจอด ที่สถานีรถไฟ Melnik ซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาค Central Bohemia ห่างจากกรุงปรากประมาณ 35 กม. สาเหตุที่สถานี ดังกล่าวได้รับเลือกให้เป็นที่จอดของรถไฟขบวนนี้เพราะ บ. Rail Cargo Operator (CSKD) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน ระหว่างเอกชนเช็กและสโลวะเกียเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์กับรถไฟขบวนนี้และเป็นผู้ดําเนินการกระจายสินค้า ไปยังประเทศต่าง ๆ ในยุโรป เช่น ฮังการีและออสเตรีย ซึ่ง CSKD มีศูนย์ปฏิบัติการที่ใกล้กรุงปรากที่สุดที่สถานีรถไฟ เมือง Melnik และรถไฟขบวนนี้ได้ใช้หัวรถจักรของการรถไฟเช็ก (Ceske drahy- CD หรือ Czech Railways) ในการ ลากจูงขบวนรถเมื่อเข้าสู่สาธารณรัฐเช็ก
[su_spacer]
ทั้งนี้ เส้นทางเดินรถไฟขนส่งสินค้าเส้นนี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่าง รัฐบาลจีนและ รัฐบาลตุรกี โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงภูมิภาคยุโรปและเอเชียเข้าด้วยกัน ซึ่งตุรกีจะทําหน้าที่เป็นจุดเชื่อมระหว่าง 2 ภูมิภาค และการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้นภายหลังการก่อสร้างอุโมงค์ใต้ทะเล Marmaray บริเวณช่องแคบ อิสตันบูล ซึ่งเป็นอุโมงค์ใต้น้ำที่ลึกที่สุดในโลก มีระดับความลึก 60 เมตร และ JICA ได้สนับสนุนงบประมาณ 1.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับกลุ่มกิจการค้าร่วมซึ่งมีบริษัท Taisei ยักษ์ใหญ่ด้านการก่อสร้างของญี่ปุ่น ร่วมกับบริษัทก่อสร้างชั้นนําของญี่ปุ่นเป็นผู้ดําเนินโครงการก่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏข้อมูลที่ชัดเจนว่า เหตุใดปลายทางของ รถไฟสายนี้จึงเป็นที่กรุงปราก แต่ สอท. คาดว่า ปัจจัยสําคัญน่าจะมาจากที่ตั้งของกรุงปรากซึ่งอยู่ในจุดกึ่งกลางของภูมิภาคยุโรป อีกทั้งกรุงปรากยังมีเครือข่ายเส้นทางการคมนาคมทางบกและทางอากาศที่เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคหลายเส้นทาง และสามารถพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าจากจีนและเอเชียได้ต่อไปในอนาคต
[su_spacer]