The Institute for Fiscal Studies (FS) ชี้ว่า No-deal Brexit อาจทําให้สหราชอาณาจักรมีหนี้สาธารณะมากถึง 9 แสนล้านปอนด์ หรือ ประมาณร้อยละ 90 ของ GDP สหราชอาณาจักร ซึ่งจะถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบกว่า 50 ปี โดย IFS คาดการณ์ว่า No-deal Brexit จะทําให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรหดตัว และทําให้รัฐบาลจําเป็นต้องจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉินไปยังภาคส่วนต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่ง นาย Paul Johnson ผู้อำนวยการสถาบัน IFS กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรเสนอนโยบายลดอัตราการจัดเก็บภาษี หรือการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในระยะยาวจํานวนมาก เพราะรัฐบาลสหราชอาณาจักรจําเป็นต้องใช้งบประมาณจํานวนมากเพื่อช่วยเหลือภาคส่วนที่ได้รับผลกระทบจาก No-deal Brexit ในระยะสั้นให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติการณ์ดังกล่าวได้ราบรื่นยิ่งขึ้น มิฉะนั้นนโยบายลดอัตราการจัดเก็บภาษีจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดการขาดดุลงบประมาณมากยิ่งขึ้นในระยะยาว
[su_spacer]
นาย Christian Schulz หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรของบริษัท Citi กล่าวว่า ความวุ่นวายทาง การเมืองที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่หลังจากการลงประชามติเมื่อปี 2559 เป็นต้นมา ส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมถึง 5 หมื่นล้านปอนด์ และทําให้การลงทุนทางธุรกิจของภาคเอกชนหดตัวลงเกือบร้อยละ 20 นาย Schulz ชี้ว่า การขอขยาย กําหนดเวลาออกจาก EU ของสหราชอาณาจักรจะทําให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 1 ต่อปี หาก สหราชอาณาจักรสามารถทําความตกลงร่วมกับ EU ได้ จะทําให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัวโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.5 ต่อปี ในขณะที่ No-deal Brexit จะทําให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรอยู่ในภาวะชะงักงันและ ไม่มีการขยายตัวใด ๆ เป็นเวลา 2 ปี ทั้งนี้ แนวทางที่จะส่งผลดีที่สุดต่อเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรคือการที่สหราชอาณาจักรคงอยู่เป็นสมาชิกของ EU ต่อไป
[su_spacer]
สภาอุตสาหกรรมหลักของสหราชอาณาจักร ได้แก่ ความมั่นคง (Aerospace, Defence, Security and Space – ADS Group) รถยนต์ (Society of Motor Manufacturers and Traders) เคมีภัณฑ์ (Chemical Industries Association) อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Drink Federation) และเภสัชกรรม (Association of the British Pharmaceutical Industry) ได้ร่วมกันเขียนหนังสือถึงนาย Steve Barclay รมว. กิจการออกจาก EU และนาย Michael Gove รองนายกรัฐมนตรี เพื่อแสดงความกังวลต่อนโยบายการค้าในช่วง post-Brexit ของรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยขอให้รัฐบาลสหราชอาณาจักรยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายจะคํานึงถึงผลประโยชน์ และผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมหลักทั้ง 5 ของสหราชอาณาจักรในการเจรจาหาข้อตกลงระหว่างสหราชอาณาจักรกับ EU โดยเสนอให้รักษาความร่วมมือระหว่างสหราชอาณาจักร – EU อย่างใกล้ชิดเช่นเดิม เช่น การขอให้สหราชอาณาจักรคงความเป็นสมาชิกของ European Aviation Safety Agency (EASA) และการขอให้สหราชอาณาจักรใช้แนวทางและมาตรการด้านเคมีภัณฑ์ของ EU ต่อไป เป็นต้น ทั้งนี้ อุตสาหกรรมหลักทั้ง 5 สาขา มีการจ้างงานในสหราชอาณาจักรรวมกว่า 1.1 ล้านคน และทํารายได้ให้แก่สหราชอาณาจักรคิดเป็น 98 พันล้านปอนด์ต่อปี ซึ่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมดังกล่าวย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องในวงกว้างถึงบริษัทต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุปทาน รวมไปถึงความเชื่อมั่นของนัก ลงทุนต่างชาติในสหราชอาณาจักรอีกด้วย
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน